“แอร์พอร์ตลิงก์” ผุดดิวตี้ฟรี ที่มักกะสัน ช่วยปั๊มรายได้ ปรับทีโออาร์เชิงพาณิชย์ แยก 2 สัญญาร้านค้ากับดิวตี้ฟรี เร่งศึกษาข้อกฎหมายก่อนประมูลเช่าพื้นที่ ส่วนพื้นที่โฆษณา บอร์ดเห็นชอบแล้ว เตรียมเซ็นสัญญา “ทรี ซิกตี้ไฟว์” 29 ก.ย.นี้
นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (แอร์พอร์ตลิงก์) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างปรับปรุงเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) การให้เช่าสิทธิ์การใช้ประโยชน์ในพื้นที่เชิงพาณิชย์ของโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตลิงก์ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองจำนวน 8 สถานี ใหม่อีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม โดยเบื้องต้นจะเพิ่มพื้นที่เช่าร้านจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) ที่สถานีมักกะสัน บริเวณชั้น 3 ประมาณ 1,300 ตารางเมตร ซึ่งทำให้พื้นที่เช่าจะต้องแยกออกเป็น 2 สัญญา คือ ร้านค้าปกติ กับ ดิวตี้ฟรี
ทั้งนี้ บริษัทยังได้มีการศึกษาระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการให้เช่าพื้นที่สำหรับร้านดิวตี้ฟรี ซึ่งได้ประสานไปยังบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เพื่อขอข้อมูลและหลักเกณฑ์ของดิวตี้ฟรี รวมถึงต้องหารือกับกรมศุลกากรด้วย โดยตามหลักผู้ประกอบการดิวตี้ฟรีจะต้องมีคลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับเก็บสินค้า มีระบบการขนส่งสินค้าจากคลังมายังร้านค้า ที่ไม่รั่วไหลและตรวจสอบได้ เป็นต้น โดยรูปแบบจะเป็นการให้เช่าพื้นที่ ซึ่งต่างจากของทอท.ที่เป็นการให้สัมปทานและมีส่วนแบ่งรายได้
“ต้องพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงประเมินตัวเลขใหม่ จึงจะสรุปร่างทีโออาร์และเปิดประมูลได้อีกครั้งซึ่งพื้นที่ดิวตี้ฟรีจะแยกจากพื้นที่ร้านค้า และอาจต้องแยกสัญญากัน” นายภากรณ์ กล่าว
ทั้งนี้ การประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้เคยเปิดประมูลแล้วครั้งหนึ่ง แต่ต้องยกเลิกไป เนื่องจากผู้ยื่นข้อเสนอ 2 ราย คือ 1.บริษัท มาสเตอร์แอด จำกัด (มหาชน) หรือ MACO และ 2.บริษัท ทรี ซิกตี้ไฟว์ จำกัด (มหาชน) ขอแบ่งชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าจำนวน 46 ล้านบาท เป็น 5 ปี และ 10 ปี ซึ่งไม่ตรงกับทีโออาร์ที่กำหนด และหลังจากมีการปรับทีโออาร์ใหม่ และได้ประกาศร่างในเว็บไซต์แล้ว รมช.คมนาคม ได้มีนโยบายให้เพิ่มรายได้ และส่วนของร้านดิวตี้ฟรีเข้าไปด้วย จึงต้องปรับปรุงทีโออาร์กันอีกครั้ง โดยพื้นที่เพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์มีทั้งสิ้นประมาณ 5,778.20 ตารางเมตร จำนวน 8 สถานี ได้แก่ สถานีพญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และ สุวรรณภูมิ ส่วนพื้นที่ดิวตี้ฟรีอีกประมาณ 1,300 ตารางเมตร
สำหรับการประมูลพื้นที่โฆษณา 5,004.21 ตารางเมตร ซึ่งรวมพื้นที่ภายในและภายนอกตัวรถขบวนรถไฟฟ้า 9 ขบวน ประกอบด้วย ขบวน Express Line จำนวน 12 คัน (4 ขบวน) และขบวน City Line จำนวน 15 คัน (5 ขบวน) เข้าไว้ด้วยนั้น นายภากรณ์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) ที่มี นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ เป็นประธานเมื่อวันที่ 13 ก.ย.2554 ได้มีมติเห็นชอบผลการประมูลซึ่ง บริษัท ทรี ซิกตี้ไฟว์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะโดยเสนอค่าธรรมเนียมแรกเข้าที่ 68.62 ล้านบาท และค่าเช่ารายปีอีก 7.9 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ แม้ว่า บริษัท ทรี ซิกตี้ไฟว์ จะยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียว แต่บอร์ดเห็นว่า เป็นการเสนอผลประโยชน์ที่สูงกว่าราคากลางที่กำหนดถึง 5% จึงไม่ต้องยกเลิก โดยคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาในวันที่ 29 ก.ย.2554
นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (แอร์พอร์ตลิงก์) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างปรับปรุงเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) การให้เช่าสิทธิ์การใช้ประโยชน์ในพื้นที่เชิงพาณิชย์ของโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตลิงก์ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองจำนวน 8 สถานี ใหม่อีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม โดยเบื้องต้นจะเพิ่มพื้นที่เช่าร้านจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) ที่สถานีมักกะสัน บริเวณชั้น 3 ประมาณ 1,300 ตารางเมตร ซึ่งทำให้พื้นที่เช่าจะต้องแยกออกเป็น 2 สัญญา คือ ร้านค้าปกติ กับ ดิวตี้ฟรี
ทั้งนี้ บริษัทยังได้มีการศึกษาระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการให้เช่าพื้นที่สำหรับร้านดิวตี้ฟรี ซึ่งได้ประสานไปยังบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เพื่อขอข้อมูลและหลักเกณฑ์ของดิวตี้ฟรี รวมถึงต้องหารือกับกรมศุลกากรด้วย โดยตามหลักผู้ประกอบการดิวตี้ฟรีจะต้องมีคลังสินค้าทัณฑ์บนสำหรับเก็บสินค้า มีระบบการขนส่งสินค้าจากคลังมายังร้านค้า ที่ไม่รั่วไหลและตรวจสอบได้ เป็นต้น โดยรูปแบบจะเป็นการให้เช่าพื้นที่ ซึ่งต่างจากของทอท.ที่เป็นการให้สัมปทานและมีส่วนแบ่งรายได้
“ต้องพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงประเมินตัวเลขใหม่ จึงจะสรุปร่างทีโออาร์และเปิดประมูลได้อีกครั้งซึ่งพื้นที่ดิวตี้ฟรีจะแยกจากพื้นที่ร้านค้า และอาจต้องแยกสัญญากัน” นายภากรณ์ กล่าว
ทั้งนี้ การประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้เคยเปิดประมูลแล้วครั้งหนึ่ง แต่ต้องยกเลิกไป เนื่องจากผู้ยื่นข้อเสนอ 2 ราย คือ 1.บริษัท มาสเตอร์แอด จำกัด (มหาชน) หรือ MACO และ 2.บริษัท ทรี ซิกตี้ไฟว์ จำกัด (มหาชน) ขอแบ่งชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าจำนวน 46 ล้านบาท เป็น 5 ปี และ 10 ปี ซึ่งไม่ตรงกับทีโออาร์ที่กำหนด และหลังจากมีการปรับทีโออาร์ใหม่ และได้ประกาศร่างในเว็บไซต์แล้ว รมช.คมนาคม ได้มีนโยบายให้เพิ่มรายได้ และส่วนของร้านดิวตี้ฟรีเข้าไปด้วย จึงต้องปรับปรุงทีโออาร์กันอีกครั้ง โดยพื้นที่เพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์มีทั้งสิ้นประมาณ 5,778.20 ตารางเมตร จำนวน 8 สถานี ได้แก่ สถานีพญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และ สุวรรณภูมิ ส่วนพื้นที่ดิวตี้ฟรีอีกประมาณ 1,300 ตารางเมตร
สำหรับการประมูลพื้นที่โฆษณา 5,004.21 ตารางเมตร ซึ่งรวมพื้นที่ภายในและภายนอกตัวรถขบวนรถไฟฟ้า 9 ขบวน ประกอบด้วย ขบวน Express Line จำนวน 12 คัน (4 ขบวน) และขบวน City Line จำนวน 15 คัน (5 ขบวน) เข้าไว้ด้วยนั้น นายภากรณ์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) ที่มี นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ เป็นประธานเมื่อวันที่ 13 ก.ย.2554 ได้มีมติเห็นชอบผลการประมูลซึ่ง บริษัท ทรี ซิกตี้ไฟว์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะโดยเสนอค่าธรรมเนียมแรกเข้าที่ 68.62 ล้านบาท และค่าเช่ารายปีอีก 7.9 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ แม้ว่า บริษัท ทรี ซิกตี้ไฟว์ จะยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียว แต่บอร์ดเห็นว่า เป็นการเสนอผลประโยชน์ที่สูงกว่าราคากลางที่กำหนดถึง 5% จึงไม่ต้องยกเลิก โดยคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาในวันที่ 29 ก.ย.2554