“กิตติรัตน์” แนะเอกชนลุยลงทุนตั้งโรงงานผลิตในต่างประเทศ และนำเข้าเครื่องจักร บรรเทาผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจโลก และบาทแข็ง เผย รัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนเต็มที่ พร้อมอ้อนเอกชนร่วมมือรัฐบาลขึ้นค่าแรง 300 บาท ส.อ.ท.แนะตั้งวอร์รูมทำงานใกล้ชิดเอกชนรับมือเศรษฐกิจผันผวน สวนลดภาษีนิติบุคคลแลกขึ้นค่าแรง คนละเรื่องกัน “พาณิชย์” เล็งบุกตลาดอาเซียน ตลาด FTA ชดเชยตลาดสหรัฐฯ อียู วูบ
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายในงานสัมมนา F.T.I.Economic Focus 2011 ครั้งที่ 5/2554 เรื่อง “วิกฤตการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ ผลกระทบและการปรับตัวของผู้ส่งออกไทย” วานนี้ (30 ส.ค.)ว่า รัฐบาลมีแผนที่จะให้การสนับสนุนและลดผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (อียู) ที่ส่งผลต่อการส่งออกของไทย โดยมีข้อแนะนำให้ภาคธุรกิจคิดทำธุรกิจเพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญด้านการตลาด โดยหันไปตั้งโรงงานผลิตในต่างประเทศ และนำเข้าเครื่องจักรมาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อลดผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า โดยรัฐบาลพร้อมสนับสนุนภาคเอกชนอย่างเต็มที่
“รัฐบาลพร้อมทำงานร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อรับมือกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ทำให้ผู้ซื้อต่างประเทศมีกำลังซื้อลดลง และไทยคงหนีไม่พ้นที่จะได้รับผลกระทบ ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือเต็มที่ แต่เอกชนก็ต้องวางแผน จะมาหวังพึ่งหน่วยงานที่ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเดียวไม่ได้ เพราะหน่วยงานดังกล่าวต้องทำหน้าที่วิเคราะห์ วิจัย และควบคุมค่าเงินบาทได้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น นักธุรกิจต้องเข้ามาช่วยด้วย”
นอกจากนี้ ยังได้ขอให้ผู้ประกอบการช่วยรัฐบาลในการปรับขึ้นค่าแรง เพื่อช่วยปรับโครงการสร้างเศรษฐกิจและกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ ลดการพึ่งพาการส่งออกจากเศรษฐกิจโลกที่กำลังมีความผันผวน เพราะการจะผลักดันให้จีดีพีโตตามเป้าหมาย ก็ต้องลุ้นให้การส่งออกเติบโตได้ในระดับ 20% ซึ่งทำได้ยาก หากกำลังซื้อตลาดต่างประเทศลดลง จึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศ รัฐบาลจึงอยากขอความร่วมมือภาคเอกชนให้ความร่วมมือในการปรับขึ้นค่าแรง เพื่อเพิ่มกำลังซื้อ ซึ่งในส่วนของรัฐบาลกำลังปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ โดยรัฐบาลจะออกมาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% ให้เหลือ 23% เพื่อลดผลกระทบให้กับผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ตาม ในเร็วๆ นี้ จะมีการหารือระหว่างภาครัฐกับเอกชนผ่านทางคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) เพื่อหาทางรับมือความผันผวนของเศรษฐกิจโลกในปีหน้าต่อไป
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และ อียู อาจมีผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก แต่วิกฤตที่เกิดขึ้นจะเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทย ไทยคงได้รับผลกระทบทางอ้อมไม่มากก็น้อย และหากเศรษฐกิจโลกถึงขั้นถดถอย ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด และภาครัฐจำเป็นต้องเตรียมมาตรการรับมือ นโยบายการเงิน การคลัง ที่ไม่เร่งด่วนจึงควรชะลอไว้ก่อน เพื่อเตรียมการรับมือต่อภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนในต้นปีหน้า
ทั้งนี้ สิ่งที่ภาคเอกชนเป็นกังวลในขณะนี้ ได้แก่ ภาวะต้นทุนของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น ทั้งวัตถุดิบ ดอกเบี้ย ค่าจ้าง รวมทั้งต้องการให้ธนาคาแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง พิจารณาดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสมในการป้องกันการแข็งค่าของเงินบาท รวมทั้งต้องการให้รัฐบาลตั้งวอร์รูม เพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด
“เรื่องที่รัฐบาลขอให้เอกชนช่วยใช้เงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเครื่องจักรมาผลิตสินค้า เพื่อลดการแข็งค่าเงินบาท มันเป็นคนละเรื่องกัน การนำเข้าเครื่องจักรต้องเป็นแผนทางธุรกิจที่วางไว้เป็นปี ต้องขยายโรงงานรองรับเครื่องจักรใหม่ และเมื่อซื้อเพิ่มก็ผลิตเพิ่ม สุดท้ายจะเอาของไปขายใคร ส่วนการที่รัฐบาลมีมาตรการจะช่วยลดภาระต้นทุนให้เอกชน โดยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ แต่มาขอแลกกับการที่ให้ภาคเอกชนขึ้นค่าแรง 300 บาท มันเป็นคนละเรื่องกัน และคงแลกกันไม่ได้ เพราะภาษีคงต้องมีการปรับขึ้นอยู่แล้วให้สอดคล้องกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เพื่อรองรับการเปิด AEC ในปี 2558” นายธนิตกล่าว
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า มาตรการบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ส่งออกจากการส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ และอียู นั้น กรมฯ มีแผนที่จะดำเนินการผลักดันการส่งออกไปยังตลาดใหม่ เน้นตลาดอาเซียนและตลาดที่ไทยได้ทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ด้วย เนื่องจากเป็นตลาดที่ใกล้บ้าน ค่าขนส่งถูก ภาษีไม่มี ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกภาพรวมไม่ได้รับผลกระทบ และเป้าหมายทั้งปี 15% ยังทำได้แน่นอน
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายในงานสัมมนา F.T.I.Economic Focus 2011 ครั้งที่ 5/2554 เรื่อง “วิกฤตการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ ผลกระทบและการปรับตัวของผู้ส่งออกไทย” วานนี้ (30 ส.ค.)ว่า รัฐบาลมีแผนที่จะให้การสนับสนุนและลดผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (อียู) ที่ส่งผลต่อการส่งออกของไทย โดยมีข้อแนะนำให้ภาคธุรกิจคิดทำธุรกิจเพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญด้านการตลาด โดยหันไปตั้งโรงงานผลิตในต่างประเทศ และนำเข้าเครื่องจักรมาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อลดผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า โดยรัฐบาลพร้อมสนับสนุนภาคเอกชนอย่างเต็มที่
“รัฐบาลพร้อมทำงานร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อรับมือกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ทำให้ผู้ซื้อต่างประเทศมีกำลังซื้อลดลง และไทยคงหนีไม่พ้นที่จะได้รับผลกระทบ ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือเต็มที่ แต่เอกชนก็ต้องวางแผน จะมาหวังพึ่งหน่วยงานที่ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเดียวไม่ได้ เพราะหน่วยงานดังกล่าวต้องทำหน้าที่วิเคราะห์ วิจัย และควบคุมค่าเงินบาทได้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น นักธุรกิจต้องเข้ามาช่วยด้วย”
นอกจากนี้ ยังได้ขอให้ผู้ประกอบการช่วยรัฐบาลในการปรับขึ้นค่าแรง เพื่อช่วยปรับโครงการสร้างเศรษฐกิจและกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ ลดการพึ่งพาการส่งออกจากเศรษฐกิจโลกที่กำลังมีความผันผวน เพราะการจะผลักดันให้จีดีพีโตตามเป้าหมาย ก็ต้องลุ้นให้การส่งออกเติบโตได้ในระดับ 20% ซึ่งทำได้ยาก หากกำลังซื้อตลาดต่างประเทศลดลง จึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศ รัฐบาลจึงอยากขอความร่วมมือภาคเอกชนให้ความร่วมมือในการปรับขึ้นค่าแรง เพื่อเพิ่มกำลังซื้อ ซึ่งในส่วนของรัฐบาลกำลังปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ โดยรัฐบาลจะออกมาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% ให้เหลือ 23% เพื่อลดผลกระทบให้กับผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ตาม ในเร็วๆ นี้ จะมีการหารือระหว่างภาครัฐกับเอกชนผ่านทางคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) เพื่อหาทางรับมือความผันผวนของเศรษฐกิจโลกในปีหน้าต่อไป
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และ อียู อาจมีผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก แต่วิกฤตที่เกิดขึ้นจะเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทย ไทยคงได้รับผลกระทบทางอ้อมไม่มากก็น้อย และหากเศรษฐกิจโลกถึงขั้นถดถอย ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด และภาครัฐจำเป็นต้องเตรียมมาตรการรับมือ นโยบายการเงิน การคลัง ที่ไม่เร่งด่วนจึงควรชะลอไว้ก่อน เพื่อเตรียมการรับมือต่อภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนในต้นปีหน้า
ทั้งนี้ สิ่งที่ภาคเอกชนเป็นกังวลในขณะนี้ ได้แก่ ภาวะต้นทุนของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น ทั้งวัตถุดิบ ดอกเบี้ย ค่าจ้าง รวมทั้งต้องการให้ธนาคาแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง พิจารณาดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสมในการป้องกันการแข็งค่าของเงินบาท รวมทั้งต้องการให้รัฐบาลตั้งวอร์รูม เพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด
“เรื่องที่รัฐบาลขอให้เอกชนช่วยใช้เงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเครื่องจักรมาผลิตสินค้า เพื่อลดการแข็งค่าเงินบาท มันเป็นคนละเรื่องกัน การนำเข้าเครื่องจักรต้องเป็นแผนทางธุรกิจที่วางไว้เป็นปี ต้องขยายโรงงานรองรับเครื่องจักรใหม่ และเมื่อซื้อเพิ่มก็ผลิตเพิ่ม สุดท้ายจะเอาของไปขายใคร ส่วนการที่รัฐบาลมีมาตรการจะช่วยลดภาระต้นทุนให้เอกชน โดยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ แต่มาขอแลกกับการที่ให้ภาคเอกชนขึ้นค่าแรง 300 บาท มันเป็นคนละเรื่องกัน และคงแลกกันไม่ได้ เพราะภาษีคงต้องมีการปรับขึ้นอยู่แล้วให้สอดคล้องกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เพื่อรองรับการเปิด AEC ในปี 2558” นายธนิตกล่าว
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า มาตรการบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ส่งออกจากการส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ และอียู นั้น กรมฯ มีแผนที่จะดำเนินการผลักดันการส่งออกไปยังตลาดใหม่ เน้นตลาดอาเซียนและตลาดที่ไทยได้ทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ด้วย เนื่องจากเป็นตลาดที่ใกล้บ้าน ค่าขนส่งถูก ภาษีไม่มี ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกภาพรวมไม่ได้รับผลกระทบ และเป้าหมายทั้งปี 15% ยังทำได้แน่นอน