สมาคมค้าปลีกจี้รัฐบาลใหม่ ดันค้าปลีกเป็นวาระแห่งชาติ เหตุสร้างรายได้สูงเป็นอันดับสองมากกว่า 1.3 ล้านล้านบาท เสนอตั้งหน่วยงานกลางควบคุมดูแลเหมือนท่องเที่ยวที่มี ททท.ปรับกำแพงภาษี รองรับเออีซี เผยเครือซีพี เตรียมผุดซูเปอร์คอนวีเนียนสโตร์ “ซีพีมาร์เก็ต”
นางสาวบุษบา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า สมาคมต้องการให้ภาครัฐบาลผลักดันธุรกิจค้าปลีกให้เป็นวาระแห่งชาติ เพราะธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจหนึ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมีนัย ซึ่งรัฐบาลควรวางมาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้โดยเฉพาะในเอเซียด้วยกันเอง ที่จะมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเชียนหรือ เออีซี/AEC ในปี 2558 นี้ รัฐบาลควรตั้งหน่วยงานกลางเฉพาะที่อิสระขึ้นมากำกับดูแล เช่นเดียวกับรกิจท่องเที่ยวที่มีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่เป็นหน่วยงานคอยดูแล เป็นต้น นอกจากนี้เรื่องกฎหมายควบคุมค้าปลีก รัฐบาลควรทำการปรับปรุงแก้ไขตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ใช่เน้นแก้ปัญหาที่ปลายน้ำ
นางสาวบุษบา กล่าวต่อว่า สิ่งที่ภาครัฐควรสนใจมากขึ้นคือ เรื่องของการปรับลดกำแพงภาษีนำเข้า เพราะปัจจุบันกำแพงภาษีนำเข้าของไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงโปร์ และฮ่องกง ที่เปิดฟรีในเรื่องของภาษีนำเข้าไปแล้ว ส่วนประเทศมาเลเซียเพิ่งเริ่มปรับลดอัตราภาษีนำเข้า ซึ่งหากประเทศไทยยังไม่มีการปรับตัวในเรื่องนี้ก็จะส่งผลให้เสียเปรียบในการแข่งขันด้านการชอปปิ้ง
“จริงๆ แล้ว ประเทศไทยของเรามีจุดแข็งในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว หรือการบริการ หากมีการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกควบคู่กันไปด้วยแล้ว ก็น่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี” นางสาวบุษบา กล่าว
หากมองถึงมูลค่าของค้าปลีกในไทยแล้วจะพบว่า ในปี 2553 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.3 ล้านล้านบาท เติบโต 4% คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 13.1% ของจีดีพีของไทย อยู่ลำดับที่ 2 รองจากภาคการผลิตที่สร้างรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด ขณะที่สมาคมซึ่งมีสมาชิกที่สังกัดและประกอบธุรกิจค้าปลีกสร้างรายได้ให้กับประเทศประมาณ 647,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 11%
สำหรับภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกในครึ่งปีแรก 2554 มีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักคาดว่าสิ้นปีจะมีการเติบโตประมาณ 7-8% ส่วนภาพรวมผลประกอบการของสมาชิกสมาคมฯ ครึ่งปีแรก 2554 นี้มีอัตราการเติบโตประมาณ 10-15% เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกมีการขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีพื้นที่ค้าปลีกเพิ่มขึ้นประมาณ 5 แสน ตร.ม.ประกอบกับปัจจัยบวกทางด้านการเมืองที่มีแนวโน้มดีขึ้นส่งผลให้มีกระแสเงินสะพัดในธุรกิจค้าปลีกช่วงที่ผ่านมาประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท
นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวให้ความเห็นกรณีนโยบายของพรรคเพื่อไทย ว่า ที่รัฐบาลใหม่ที่จะปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 300 บาทต่อวันนั้น ยอมรับว่า จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกพอสมควร โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กอย่างเอสเอ็มอี แต่ในส่วนของธุรกิจขนาดใหญ่อาจจะไม่กระทบมากนักเพราะรายใหญ่มีสายป่านที่ยาวพอที่จะแบกรับต้นทุนที่จะเพิ่มสูงขึ้นได้ แต่ถ้ามีการประกาศใช้จริงๆ แล้ว ภาคเอกชนก็ต้องปรับตัวเช่นกัน
“ครึ่งปีหลังธุรกิจค้าปลีกจะยิ่งแข่งขันกันมากขึ้น เพราะมีผู้ประกอบการจะเปิดตัวรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า ซูเปอร์คอนวีเนียนสโตร์ และล้วนเป็นรายใหญ่เช่น เครือซีพี จะเปิดตัวซีพีมาร์เก็ตในเดือนตุลาคมนี้ที่ย่านสีลม ส่วนเครือ ปตท.ก็จะเปิดร้านจิฟฟี่มาร์เก็ตอีก การที่รายใหญ่หันมาทำรูปแบบนี้มากขึ้นเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป คือหันมาซื้อสินค้าใกล้บ้าน ที่มีความหลากหลาย และซื้อบ่อยขึ้น เพราะมีความสะดวกในการเดินทาง โดยคาดว่าจะทำให้ธุรกิจคอนวีเนียน สโตร์ เติบโต 17% มากกว่าภาพรวมโมเดลอื่น โดยเฉพาะไฮเปอร์มาร์เก็ตที่เติบโตชะลอตัวลง” นายฉัตรชัย กล่าว
นางสาวบุษบา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า สมาคมต้องการให้ภาครัฐบาลผลักดันธุรกิจค้าปลีกให้เป็นวาระแห่งชาติ เพราะธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจหนึ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมีนัย ซึ่งรัฐบาลควรวางมาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้โดยเฉพาะในเอเซียด้วยกันเอง ที่จะมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเชียนหรือ เออีซี/AEC ในปี 2558 นี้ รัฐบาลควรตั้งหน่วยงานกลางเฉพาะที่อิสระขึ้นมากำกับดูแล เช่นเดียวกับรกิจท่องเที่ยวที่มีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่เป็นหน่วยงานคอยดูแล เป็นต้น นอกจากนี้เรื่องกฎหมายควบคุมค้าปลีก รัฐบาลควรทำการปรับปรุงแก้ไขตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ใช่เน้นแก้ปัญหาที่ปลายน้ำ
นางสาวบุษบา กล่าวต่อว่า สิ่งที่ภาครัฐควรสนใจมากขึ้นคือ เรื่องของการปรับลดกำแพงภาษีนำเข้า เพราะปัจจุบันกำแพงภาษีนำเข้าของไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงโปร์ และฮ่องกง ที่เปิดฟรีในเรื่องของภาษีนำเข้าไปแล้ว ส่วนประเทศมาเลเซียเพิ่งเริ่มปรับลดอัตราภาษีนำเข้า ซึ่งหากประเทศไทยยังไม่มีการปรับตัวในเรื่องนี้ก็จะส่งผลให้เสียเปรียบในการแข่งขันด้านการชอปปิ้ง
“จริงๆ แล้ว ประเทศไทยของเรามีจุดแข็งในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว หรือการบริการ หากมีการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกควบคู่กันไปด้วยแล้ว ก็น่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี” นางสาวบุษบา กล่าว
หากมองถึงมูลค่าของค้าปลีกในไทยแล้วจะพบว่า ในปี 2553 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.3 ล้านล้านบาท เติบโต 4% คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 13.1% ของจีดีพีของไทย อยู่ลำดับที่ 2 รองจากภาคการผลิตที่สร้างรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด ขณะที่สมาคมซึ่งมีสมาชิกที่สังกัดและประกอบธุรกิจค้าปลีกสร้างรายได้ให้กับประเทศประมาณ 647,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 11%
สำหรับภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกในครึ่งปีแรก 2554 มีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักคาดว่าสิ้นปีจะมีการเติบโตประมาณ 7-8% ส่วนภาพรวมผลประกอบการของสมาชิกสมาคมฯ ครึ่งปีแรก 2554 นี้มีอัตราการเติบโตประมาณ 10-15% เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกมีการขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีพื้นที่ค้าปลีกเพิ่มขึ้นประมาณ 5 แสน ตร.ม.ประกอบกับปัจจัยบวกทางด้านการเมืองที่มีแนวโน้มดีขึ้นส่งผลให้มีกระแสเงินสะพัดในธุรกิจค้าปลีกช่วงที่ผ่านมาประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท
นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวให้ความเห็นกรณีนโยบายของพรรคเพื่อไทย ว่า ที่รัฐบาลใหม่ที่จะปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 300 บาทต่อวันนั้น ยอมรับว่า จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกพอสมควร โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กอย่างเอสเอ็มอี แต่ในส่วนของธุรกิจขนาดใหญ่อาจจะไม่กระทบมากนักเพราะรายใหญ่มีสายป่านที่ยาวพอที่จะแบกรับต้นทุนที่จะเพิ่มสูงขึ้นได้ แต่ถ้ามีการประกาศใช้จริงๆ แล้ว ภาคเอกชนก็ต้องปรับตัวเช่นกัน
“ครึ่งปีหลังธุรกิจค้าปลีกจะยิ่งแข่งขันกันมากขึ้น เพราะมีผู้ประกอบการจะเปิดตัวรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า ซูเปอร์คอนวีเนียนสโตร์ และล้วนเป็นรายใหญ่เช่น เครือซีพี จะเปิดตัวซีพีมาร์เก็ตในเดือนตุลาคมนี้ที่ย่านสีลม ส่วนเครือ ปตท.ก็จะเปิดร้านจิฟฟี่มาร์เก็ตอีก การที่รายใหญ่หันมาทำรูปแบบนี้มากขึ้นเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป คือหันมาซื้อสินค้าใกล้บ้าน ที่มีความหลากหลาย และซื้อบ่อยขึ้น เพราะมีความสะดวกในการเดินทาง โดยคาดว่าจะทำให้ธุรกิจคอนวีเนียน สโตร์ เติบโต 17% มากกว่าภาพรวมโมเดลอื่น โดยเฉพาะไฮเปอร์มาร์เก็ตที่เติบโตชะลอตัวลง” นายฉัตรชัย กล่าว