แฮงค์โอเวอร์ 2 ปลุกไทยเนื้อหอม ผู้สร้าง-นักท่องเที่ยว เกิดความมั่นใจ สนที่จะเดินทางเข้ามาเที่ยวและถ่ายทำภาพยนตร์ ขณะที่ภาคเอกชนยังโวย การทำงานรัฐล่าช้า บี้เร่งคลอดมาตรการอินเซนทีฟ ระบุ เกาหลีโหมหนัก ยึดเวทีเมืองคานส์ ประกาศ คืน 25% ของค่าใช้จ่ายจริง
นางสาววรรณสิริ โมรากุล ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์ กรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ผลตอบรับจากการออกฉายของภาพยนตร์ “แฮงค์ โอเวอร์ 2” ซึ่งเข้ามาถ่ายทำที่ประเทศไทย ทำให้ขณะนี้มีผู้สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศ แสดงความสนใจที่จะเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยกันมากขึ้น เพราะนอกจากโลเกชัน หรือฉากที่สร้างขึ้นแล้ว ยังสะท้อนได้ดีว่า ประเทศไทยมีความสงบและปลอดภัย มีการบริการอำนวยความสะดวกที่ดีให้แก่กองถ่ายทำ
ทั้งนี้ เพราะในช่วงที่ถ่ายทำภาพยนตร์ “แฮงค์ โอเวอร์ 2” ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องความวุ่นวายทางการเมือง การถ่ายทำก็ดำเนินไปได้ด้วยดี ผู้สร้างจึงมองประเทศไทยในทางบวกมากขึ้น และปรับทัศนคติว่า ประเทศไทยเปิดโอกาสให้กองถ่ายหนังต่างประเทศมากขึ้น จากเดิมที่คิดว่ากระบวนการอนุญาตถ่ายหนังในประเทศไทยต้องยุ่งยาก ขออนุญาตลำบาก
นอกจากนั้น ในส่วนของผู้ชมภาพยนตร์ชาวต่างประเทศทั่วโลก เมื่อได้เห็นฉาก และโลเกชันในภาพยนตร์ “แฮงค์ โอเวอร์ 2” ยังได้เกิดกระแสอยากมาเที่ยวตามรอยในสถานที่ที่ใช้ในการถายทำภาพยนตร์ ซึ่งเกิดผลพลอยได้ที่ดีกับการท่องเที่ยวของประเทศไทย
“จากที่หนัง แฮงค์ โอเวอร์ 2 ออกฉาย ทำให้นักวิจารณ์ นักเขียนคอลัมน์ในต่างประเทศ เข้ามาเขียนชมสถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ในเชิงท่องเที่ยวไว้ด้วย ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งกับธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์และธุรกิจท่องเที่ยวของไทย”
นางสาวศศิสุภา สังวริบุตร นายกสมาคมผู้บริหารการผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศ กล่าวว่า กระแสตอบรับ ภาพยนตร์เรื่อง แฮงค์ โอเวอร์ 2 ดีมาก ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศ มั่นใจว่า ไทยเปิดกว้างให้กับธุรกิจภาพยนตร์มากขึ้น ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยเสริมด้านการตัดสินใจของผู้สร้าง ซึ่งปัจจัยหลักจริงๆ คือ การพิจารณาให้อินเซนทีฟเป็นสิ่งจูงใจแก่ผู้สร้างภาพยนตร์ประกอบการตัดสินใจ
“การพิจารณาให้อินเซนทีฟแก่กองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ที่สนใจเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย รัฐบาลมีกระบวนการดำเนินงานช้ามาก หลายเรื่องที่แม้คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว แต่ยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ เช่น การยกเว้น หรือลดภาษี ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะใช้รูปแบบใด หากปล่อยให้ช้าเช่นนี้ อาจทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศที่ลังเลจะเลือกไทยแล้วไปเลือกประเทศอื่นๆที่มีเงื่อนไขที่จูงใจมากกว่า เพื่อลดต้นทุนการผลิตภาพยนตร์”
ปัจจุบันธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ มีการแข่งขันแรงไม่แพ้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพราะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเข้าประเทศ โดยล่าสุดที่เดินทางไปร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ที่เมืองคานส์ พบว่า ประเทศเกาหลีรุกโปรโมตให้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์อย่างจริงจังมากขึ้น เพราะโดยนโยบายรัฐบาลเขาจะใช้อุตสาหกรรมบันเทิงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศจึงต้องการดึงภาพยนตร์ต่างประเทศให้เดินทางเข้าไปถ่ายทำ พร้อมประกาศด้วยว่า หากผู้สร้างใดเลือกถ่ายทำภาพยนตร์ประเทศเกาหลีจะได้รับเงินคืน 25% ของค่าใช้จ่ายที่จ่ายไป โดยต้องพิสูจน์ได้ว่าถ่ายทำในเกาหลีจริง ส่วนประเทศไทย ประกาศออกไปนานแล้วว่าจะให้อินเซนทีฟ แต่กลับยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ ทำให้เราเสียโอกาสทางธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวจากกรมการท่องเที่ยว ถึงสถานการ์ธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย 5 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.54) มีจำนวนหนังเข้ามาถ่ายทำรวม 287 เรื่อง สร้างรายได้ 621.66 ล้านบาท แบ่งเป็นภาพยนตร์สารคดี 76 เรื่อง, ภาพยนตร์โฆษณา 139 เรื่อง, ภาพยนตร์เรื่องยาว 11 เรื่อง, ภาพยนตร์โทรทัศน์ 44 เรื่อง และมิวสิควิดีโอ 17 เรื่อง
โดยประเทศที่เข้ามาถ่ายทำหนังในไทยมากที่สุด ได้แก่ ยุโรป 56 เรื่อง รองลงมาคือ ญี่ปุ่น 50 เรื่อง, อินเดีย 40 เรื่อง, เกาหลี 34 เรื่อง และอเมริกา 14 เรื่อง
นางสาววรรณสิริ โมรากุล ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์ กรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ผลตอบรับจากการออกฉายของภาพยนตร์ “แฮงค์ โอเวอร์ 2” ซึ่งเข้ามาถ่ายทำที่ประเทศไทย ทำให้ขณะนี้มีผู้สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศ แสดงความสนใจที่จะเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยกันมากขึ้น เพราะนอกจากโลเกชัน หรือฉากที่สร้างขึ้นแล้ว ยังสะท้อนได้ดีว่า ประเทศไทยมีความสงบและปลอดภัย มีการบริการอำนวยความสะดวกที่ดีให้แก่กองถ่ายทำ
ทั้งนี้ เพราะในช่วงที่ถ่ายทำภาพยนตร์ “แฮงค์ โอเวอร์ 2” ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องความวุ่นวายทางการเมือง การถ่ายทำก็ดำเนินไปได้ด้วยดี ผู้สร้างจึงมองประเทศไทยในทางบวกมากขึ้น และปรับทัศนคติว่า ประเทศไทยเปิดโอกาสให้กองถ่ายหนังต่างประเทศมากขึ้น จากเดิมที่คิดว่ากระบวนการอนุญาตถ่ายหนังในประเทศไทยต้องยุ่งยาก ขออนุญาตลำบาก
นอกจากนั้น ในส่วนของผู้ชมภาพยนตร์ชาวต่างประเทศทั่วโลก เมื่อได้เห็นฉาก และโลเกชันในภาพยนตร์ “แฮงค์ โอเวอร์ 2” ยังได้เกิดกระแสอยากมาเที่ยวตามรอยในสถานที่ที่ใช้ในการถายทำภาพยนตร์ ซึ่งเกิดผลพลอยได้ที่ดีกับการท่องเที่ยวของประเทศไทย
“จากที่หนัง แฮงค์ โอเวอร์ 2 ออกฉาย ทำให้นักวิจารณ์ นักเขียนคอลัมน์ในต่างประเทศ เข้ามาเขียนชมสถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ในเชิงท่องเที่ยวไว้ด้วย ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งกับธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์และธุรกิจท่องเที่ยวของไทย”
นางสาวศศิสุภา สังวริบุตร นายกสมาคมผู้บริหารการผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศ กล่าวว่า กระแสตอบรับ ภาพยนตร์เรื่อง แฮงค์ โอเวอร์ 2 ดีมาก ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศ มั่นใจว่า ไทยเปิดกว้างให้กับธุรกิจภาพยนตร์มากขึ้น ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยเสริมด้านการตัดสินใจของผู้สร้าง ซึ่งปัจจัยหลักจริงๆ คือ การพิจารณาให้อินเซนทีฟเป็นสิ่งจูงใจแก่ผู้สร้างภาพยนตร์ประกอบการตัดสินใจ
“การพิจารณาให้อินเซนทีฟแก่กองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ที่สนใจเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย รัฐบาลมีกระบวนการดำเนินงานช้ามาก หลายเรื่องที่แม้คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว แต่ยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ เช่น การยกเว้น หรือลดภาษี ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะใช้รูปแบบใด หากปล่อยให้ช้าเช่นนี้ อาจทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศที่ลังเลจะเลือกไทยแล้วไปเลือกประเทศอื่นๆที่มีเงื่อนไขที่จูงใจมากกว่า เพื่อลดต้นทุนการผลิตภาพยนตร์”
ปัจจุบันธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ มีการแข่งขันแรงไม่แพ้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพราะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเข้าประเทศ โดยล่าสุดที่เดินทางไปร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ที่เมืองคานส์ พบว่า ประเทศเกาหลีรุกโปรโมตให้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์อย่างจริงจังมากขึ้น เพราะโดยนโยบายรัฐบาลเขาจะใช้อุตสาหกรรมบันเทิงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศจึงต้องการดึงภาพยนตร์ต่างประเทศให้เดินทางเข้าไปถ่ายทำ พร้อมประกาศด้วยว่า หากผู้สร้างใดเลือกถ่ายทำภาพยนตร์ประเทศเกาหลีจะได้รับเงินคืน 25% ของค่าใช้จ่ายที่จ่ายไป โดยต้องพิสูจน์ได้ว่าถ่ายทำในเกาหลีจริง ส่วนประเทศไทย ประกาศออกไปนานแล้วว่าจะให้อินเซนทีฟ แต่กลับยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ ทำให้เราเสียโอกาสทางธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวจากกรมการท่องเที่ยว ถึงสถานการ์ธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย 5 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.54) มีจำนวนหนังเข้ามาถ่ายทำรวม 287 เรื่อง สร้างรายได้ 621.66 ล้านบาท แบ่งเป็นภาพยนตร์สารคดี 76 เรื่อง, ภาพยนตร์โฆษณา 139 เรื่อง, ภาพยนตร์เรื่องยาว 11 เรื่อง, ภาพยนตร์โทรทัศน์ 44 เรื่อง และมิวสิควิดีโอ 17 เรื่อง
โดยประเทศที่เข้ามาถ่ายทำหนังในไทยมากที่สุด ได้แก่ ยุโรป 56 เรื่อง รองลงมาคือ ญี่ปุ่น 50 เรื่อง, อินเดีย 40 เรื่อง, เกาหลี 34 เรื่อง และอเมริกา 14 เรื่อง