ทิปโก้ แตกไลน์น้ำผลไม้ซูเปอร์อีโคโนมี ปั้นแบรนด์ใหม่” ออเร้นจ์เช็ค” ชิงชิ้นเค้กมินิเมด-ทวิสเตอร์ หลังพบตลาด 800 ล้านบาท โตพรวด 16% เดินเกมเจาะคนรุ่นใหม่ ชูความเหนือชั้นมีน้ำผลไม้ครบทุกเซกเมนต์ ตั้งเป้า 2 ปี โค่นทวิสเตอร์รั้งอันดับ 2 มีส่วนแบ่งไม่ต่ำกว่า 20%
นายชาญชัย กาญจนรัตน์มณี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำผลไม้ทิปโก้ เปิดเผยว่า บริษัทวางแผนแตกไลน์น้ำผลไม้ภายใต้แบรนด์ใหม่”ออเร้นจ์เช็ค” (Orange Shake) หรือน้ำผลไม้ผสมเกล็ดส้ม 20% ลงสู่ตลาดน้ำผลไม้ซูเปอร์อีโคโนมีในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อขยายโปรดักส์ไลน์สินค้าให้ครอบคลุมทุกเซกเมนต์ จากปัจจุบันทิปโก้เป็นผู้นำตลาดน้ำผลไม้ 100% ครองส่วนแบ่ง 50% จากเซกเมนต์น้ำผลไม้ระดับพรีเมียมมูลค่า 4,000 ล้านบาท และยังมีน้ำผลไม้ 40% หรือระดับกลางมูลค่า 800 ล้านบาท
ทั้งนี้ปัจจัยที่บริษัทรุกตลาดน้ำผลไม้ระดับซูเปอร์อีโคโนมี เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูง 15-16% ต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีการเติบโตใกล้เคียงกับตลาดน้ำผลไม้ 100% แม้ว่าตลาดจะยังเล็กหรือมีมูลค่า 800 ล้านบาทก็ตาม โดยการเติบโตมาจากผู้ประกอบการน้ำอัดลมค่ายโค้ก ส่งน้ำผลไม้มินิเมดและเป๊ปซี่ส่งทวิสเตอร์มาดำเนินการตลาดเชิงรุกในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับตลาดน้ำผลไม้ระดับอีโคโนมีมูลค่า 3,200 ล้านบาท ติดลบ 5% ส่วนเซกเมนต์ระดับกลาง ติดลบ 6%
“พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ดื่มน้ำผลไม้แบ่งออกมา 2 ประเภท คือ ผู้ใส่ใจสุขภาพจะดื่มน้ำผลไม้ 100% เป็นหลัก ส่วนผู้ที่ต้องการความสดชื่น ซึ่งปกติจะเป็นกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษา จะเลือกดื่มน้ำผลไม้ซูเปอร์อีโคโนมี หรือมีน้ำผลไม้ 20% “
นายชาญชัย กล่าวถึงช่องทางจำหน่ายว่า น้ำผลไม้ออเร้นจ์เช็คบริษัทจะโฟกัสร้านสะดวกซื้อสัดส่วน 50% เทรดิชันนัลเทรดหรือตู้แช่ 30% และโมเดิร์นเทรด 20% แตกต่างจากน้ำผลไม้ 100% ทิปโก้ซึ่งจะเน้นช่องทางโมเดิร์นเทรดและไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็นหลัก ทั้งออเร้นจ์เช็คจะออกเป็นบรรจุภัณฑ์ขวดเพ็ท เพื่อให้สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ หรือนักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการความสะดวกสบาย โดยจำหน่ายราคา 18 บาท ใกล้เคียงกับคู่แข่ง
อย่างไรก็ตามเป้าหมายรุกตลาดน้ำผลไม้ระดับซูเปอร์อีโคโนมี บริษัทต้องการขึ้นเป็นอันดับ 2 ภายใน 2 ปี ด้วยการมีส่วนแบ่งไม่ต่ำกว่า 20% แทนที่น้ำผลไม้ทวิสเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งไม่ถึง 20% ส่วนผู้นำตลาดมินิเมด มีส่วนแบ่ง 80% สำหรับสิ้นปีนี้ผลประกอบการของบริษัทตั้งเป้าโต 10-20% หรือมีรายได้ 6,000 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมีรายได้ 5,000ล้านบาท
นายชาญชัย กาญจนรัตน์มณี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำผลไม้ทิปโก้ เปิดเผยว่า บริษัทวางแผนแตกไลน์น้ำผลไม้ภายใต้แบรนด์ใหม่”ออเร้นจ์เช็ค” (Orange Shake) หรือน้ำผลไม้ผสมเกล็ดส้ม 20% ลงสู่ตลาดน้ำผลไม้ซูเปอร์อีโคโนมีในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อขยายโปรดักส์ไลน์สินค้าให้ครอบคลุมทุกเซกเมนต์ จากปัจจุบันทิปโก้เป็นผู้นำตลาดน้ำผลไม้ 100% ครองส่วนแบ่ง 50% จากเซกเมนต์น้ำผลไม้ระดับพรีเมียมมูลค่า 4,000 ล้านบาท และยังมีน้ำผลไม้ 40% หรือระดับกลางมูลค่า 800 ล้านบาท
ทั้งนี้ปัจจัยที่บริษัทรุกตลาดน้ำผลไม้ระดับซูเปอร์อีโคโนมี เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูง 15-16% ต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีการเติบโตใกล้เคียงกับตลาดน้ำผลไม้ 100% แม้ว่าตลาดจะยังเล็กหรือมีมูลค่า 800 ล้านบาทก็ตาม โดยการเติบโตมาจากผู้ประกอบการน้ำอัดลมค่ายโค้ก ส่งน้ำผลไม้มินิเมดและเป๊ปซี่ส่งทวิสเตอร์มาดำเนินการตลาดเชิงรุกในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับตลาดน้ำผลไม้ระดับอีโคโนมีมูลค่า 3,200 ล้านบาท ติดลบ 5% ส่วนเซกเมนต์ระดับกลาง ติดลบ 6%
“พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ดื่มน้ำผลไม้แบ่งออกมา 2 ประเภท คือ ผู้ใส่ใจสุขภาพจะดื่มน้ำผลไม้ 100% เป็นหลัก ส่วนผู้ที่ต้องการความสดชื่น ซึ่งปกติจะเป็นกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษา จะเลือกดื่มน้ำผลไม้ซูเปอร์อีโคโนมี หรือมีน้ำผลไม้ 20% “
นายชาญชัย กล่าวถึงช่องทางจำหน่ายว่า น้ำผลไม้ออเร้นจ์เช็คบริษัทจะโฟกัสร้านสะดวกซื้อสัดส่วน 50% เทรดิชันนัลเทรดหรือตู้แช่ 30% และโมเดิร์นเทรด 20% แตกต่างจากน้ำผลไม้ 100% ทิปโก้ซึ่งจะเน้นช่องทางโมเดิร์นเทรดและไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็นหลัก ทั้งออเร้นจ์เช็คจะออกเป็นบรรจุภัณฑ์ขวดเพ็ท เพื่อให้สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ หรือนักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการความสะดวกสบาย โดยจำหน่ายราคา 18 บาท ใกล้เคียงกับคู่แข่ง
อย่างไรก็ตามเป้าหมายรุกตลาดน้ำผลไม้ระดับซูเปอร์อีโคโนมี บริษัทต้องการขึ้นเป็นอันดับ 2 ภายใน 2 ปี ด้วยการมีส่วนแบ่งไม่ต่ำกว่า 20% แทนที่น้ำผลไม้ทวิสเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งไม่ถึง 20% ส่วนผู้นำตลาดมินิเมด มีส่วนแบ่ง 80% สำหรับสิ้นปีนี้ผลประกอบการของบริษัทตั้งเป้าโต 10-20% หรือมีรายได้ 6,000 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมีรายได้ 5,000ล้านบาท