ททท.โหนกระแส “พับเพียบ ไทยแลนด์” ฮิต ดึงใช้โปรโมตประเทศไทยกู้ภาพลักษณ์จากม็อบการเมืองช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยแลนด์ ตอกย้ำ ไทยเนส ล่าสุด เท 9 ล้านบาท ระเบิด “เกม สไมล์ แลนด์” คาดสิ้นปีสร้างการรับรู้ตรงถึงโลกออนไลน์ 1 พันล้านคน ทั่วโลก และเพิ่มฐานข้อมูลนักท่องเที่ยวได้โตเท่าตัว แตะ 1 ล้านคน
นางฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้อำนวยการกลุ่มสารสนเทศการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า จากกระแสการทำ Planking ในต่างประเทศ มาสู่กระแสพับเพียบ ไทยแลนด์ (PubPeab) นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้มอบหมายงานเป็นการเร่งด่วน เพราะไม่ได้อยู่ในแผนงานที่วางไว้ โดยให้กลุ่มงานสารสนเทศการตลาดเร่งต่อยอดกระแสดังกล่าวนี้เพื่อใช้ในการโปรโมตประเทศไทย
ทั้งนี้ “พับเพียบ ไทยแลนด์” เป็นกระแสที่กำลังฮิตในกลุ่มสังคมออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ ที่ออกมาแสดงการนั่งพับเพียบ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ และแสดงถึงความเป็นไทย หรือ ไทยเนสทางวัฒนธรรม ซึ่งกระแสนี้ปัจจุบันมียอดคลิกในโซเชียลมีเดียเฉพาะในประเทศไทยกว่า 2 แสนราย ซึ่ง ททท.จะนำกระแสนี้ต่อยอดให้เข้าถึงกลุ่มนักท่องเน็ตทั่วโลกผ่านโซเซียลมีเดียของ ททท.และเว็บไซต์ที่เป็นพันธมิตรกับ ททท.
“เบื้องต้น ททท.จะเกาะกระแส พับเพียบ ไทยแลนด์ จากนั้นจะต่อยอดด้วยการสร้างหน้าเพจ ไหว้ ไทยแลนด์ นำเสนอภาพท่าทางที่เป็นเอกลักษณ์แบบไทยเนส เผยแพร่ออกไปทั่วโลก ซึ่งประโยชน์ที่ประเทศไทยและการท่องเที่ยวจะได้รับจากกระแสนี้ คือ ลบภาพลักษณ์ ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวที่มองประเทศไทย ให้กลับคืนเป็นปกติ ด้วยการตลาดแบบ อีโมชันนัล มาร์เก็ตติ้ง” ผู้อำนวยการกล่าว
เท 9 ลบ.สร้างเกมเจาะนักท่องเน็ต
นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการ ททท.กล่าวว่า การตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ มีการเติบโตสูง และถึงตรงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยงบประมาณน้อย ล่าสุด ททท.ได้ลงทุน 9 ล้านบาท ในฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ เปิดโครงการ “เกม สไมล์ แลนด์” บนเว็บไซต์ www.tourismthailand.org , www.Smilelandgame.com ,www.facebook/smilelandgame และ twitter@smilelandgame
จากผลสำรวจ พบว่า กว่า 50% ของผู้ใช้โซเซียลมีเดีย จะเข้ามาเล่นเกม เพื่อสร้างเครือข่าย สังคม พูดคุยแสดงความคิดเห็น และ เมื่อผ่านด่านในแต่ละเกมได้ ก็จะมีการขึ้นสถานภาพ ซึ่งรูปแบบเกมออนไลน์ ของ ททท.ก็เช่นกัน ในแต่ละด่านจะนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัด ซึ่งผู้เล่น จะได้ทั้งความสนุกและรู้จักแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนผ่านเกม เชื่อมโยงผ่านเครือข่ายเฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์
ททท.จะทยอยสร้างเกมใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ให้ครบทุกจังหวัด และอนาคตจะมีเกมในส่วนของแหล่งชอปปิ้ง โรงแรม ซึ่งผู้เล่นเกมจะรู้จักประเทศไทยดีขึ้น ตั้งเป้าโครงการ สไมล์แลนด์นี้จะสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ท่องเที่ยวไทยไปยังนักท่องเที่ยวเป้าหมายที่มีศักยภาพได้ไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านคน และเพิ่มจำนวนฐานข้อมูลนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้อีกกว่า 2 เท่า จากปัจจุบันที่มีจำนวนอยู่ 5 แสนคน เพิ่มเป็น 1 ล้านคนภายในสิ้นปีนี้
“รูปแบบเกมเป็นลักษณะ Virtual Traveling Experience ด้วยการตกแต่งตัว Avatar ของตัวผู้เล่นเอง และตามหา item ให้ครบตามสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์และจิตสำนึกในคุณค่าของการท่องเที่ยวไทย เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก และ ผู้ใช้สมาร์ทโฟนอีกกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก”
อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของ ททท.ในการยกระดับองค์กรสู่ยุคติจิตอลอย่างแท้จริง ตอบสนองพฤติกรรมและเทรนด์ของการใช้สื่อของนักท่องเที่ยวและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพื่อส่งเสริมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย อันจะนำมาสู่การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวของไทยในอนาคต
นางฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้อำนวยการกลุ่มสารสนเทศการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า จากกระแสการทำ Planking ในต่างประเทศ มาสู่กระแสพับเพียบ ไทยแลนด์ (PubPeab) นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้มอบหมายงานเป็นการเร่งด่วน เพราะไม่ได้อยู่ในแผนงานที่วางไว้ โดยให้กลุ่มงานสารสนเทศการตลาดเร่งต่อยอดกระแสดังกล่าวนี้เพื่อใช้ในการโปรโมตประเทศไทย
ทั้งนี้ “พับเพียบ ไทยแลนด์” เป็นกระแสที่กำลังฮิตในกลุ่มสังคมออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ ที่ออกมาแสดงการนั่งพับเพียบ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ และแสดงถึงความเป็นไทย หรือ ไทยเนสทางวัฒนธรรม ซึ่งกระแสนี้ปัจจุบันมียอดคลิกในโซเชียลมีเดียเฉพาะในประเทศไทยกว่า 2 แสนราย ซึ่ง ททท.จะนำกระแสนี้ต่อยอดให้เข้าถึงกลุ่มนักท่องเน็ตทั่วโลกผ่านโซเซียลมีเดียของ ททท.และเว็บไซต์ที่เป็นพันธมิตรกับ ททท.
“เบื้องต้น ททท.จะเกาะกระแส พับเพียบ ไทยแลนด์ จากนั้นจะต่อยอดด้วยการสร้างหน้าเพจ ไหว้ ไทยแลนด์ นำเสนอภาพท่าทางที่เป็นเอกลักษณ์แบบไทยเนส เผยแพร่ออกไปทั่วโลก ซึ่งประโยชน์ที่ประเทศไทยและการท่องเที่ยวจะได้รับจากกระแสนี้ คือ ลบภาพลักษณ์ ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวที่มองประเทศไทย ให้กลับคืนเป็นปกติ ด้วยการตลาดแบบ อีโมชันนัล มาร์เก็ตติ้ง” ผู้อำนวยการกล่าว
เท 9 ลบ.สร้างเกมเจาะนักท่องเน็ต
นายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการ ททท.กล่าวว่า การตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ มีการเติบโตสูง และถึงตรงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยงบประมาณน้อย ล่าสุด ททท.ได้ลงทุน 9 ล้านบาท ในฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ เปิดโครงการ “เกม สไมล์ แลนด์” บนเว็บไซต์ www.tourismthailand.org , www.Smilelandgame.com ,www.facebook/smilelandgame และ twitter@smilelandgame
จากผลสำรวจ พบว่า กว่า 50% ของผู้ใช้โซเซียลมีเดีย จะเข้ามาเล่นเกม เพื่อสร้างเครือข่าย สังคม พูดคุยแสดงความคิดเห็น และ เมื่อผ่านด่านในแต่ละเกมได้ ก็จะมีการขึ้นสถานภาพ ซึ่งรูปแบบเกมออนไลน์ ของ ททท.ก็เช่นกัน ในแต่ละด่านจะนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัด ซึ่งผู้เล่น จะได้ทั้งความสนุกและรู้จักแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนผ่านเกม เชื่อมโยงผ่านเครือข่ายเฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์
ททท.จะทยอยสร้างเกมใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ให้ครบทุกจังหวัด และอนาคตจะมีเกมในส่วนของแหล่งชอปปิ้ง โรงแรม ซึ่งผู้เล่นเกมจะรู้จักประเทศไทยดีขึ้น ตั้งเป้าโครงการ สไมล์แลนด์นี้จะสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ท่องเที่ยวไทยไปยังนักท่องเที่ยวเป้าหมายที่มีศักยภาพได้ไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านคน และเพิ่มจำนวนฐานข้อมูลนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้อีกกว่า 2 เท่า จากปัจจุบันที่มีจำนวนอยู่ 5 แสนคน เพิ่มเป็น 1 ล้านคนภายในสิ้นปีนี้
“รูปแบบเกมเป็นลักษณะ Virtual Traveling Experience ด้วยการตกแต่งตัว Avatar ของตัวผู้เล่นเอง และตามหา item ให้ครบตามสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์และจิตสำนึกในคุณค่าของการท่องเที่ยวไทย เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก และ ผู้ใช้สมาร์ทโฟนอีกกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก”
อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของ ททท.ในการยกระดับองค์กรสู่ยุคติจิตอลอย่างแท้จริง ตอบสนองพฤติกรรมและเทรนด์ของการใช้สื่อของนักท่องเที่ยวและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพื่อส่งเสริมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย อันจะนำมาสู่การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวของไทยในอนาคต