เป็นอันว่าอีกไม่นานจะมีการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้ง และเราก็จะได้รัฐบาลใหม่ โดยพรรคประชาธิปัตย์มีความหวังว่า จะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง แต่ฝ่ายค้านก็เชื่อว่าโอกาสที่พวกตนจะได้ฟอร์มรัฐบาลใหม่ในอนาคตยังมีโอกาสสูงเช่นกัน
เมื่อไม่นานมานี้นายกรัฐมนตรีไปพูดในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยขอบคุณสภาที่ผ่านงบประมาณกลางปี และบอกด้วยว่าอีกไม่นานจะมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล หลังจากนั้นตนก็จะไปหารือกับคณะกรรมการเลือกตั้งถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งว่าจะมีขั้นตอนเวลาอย่างไรเพื่อกำหนดวันยุบสภาที่จะให้มีการเลือกตั้งในอนาคต
นายกฯ ยืนยันว่าการเลือกตั้งจะต้องมีภายในปีนี้ แม้ว่าขณะนี้จะมีความขัดแย้งดำรงอยู่มากและกล่าวว่ามันเป็นเรื่องการแสดงออก จะเป็นวิธีการของกลุ่มใดก็ตาม ตราบที่ไม่นำไปสู่ความรุนแรงก็ไม่มีปัญหาคิดว่าประชาชนคิดเองได้ แต่ในส่วนของรัฐบาลก็จะเดินหน้าต่อไป แต่เห็นว่าฝ่ายอื่นๆ เวลานี้ต้องการให้รัฐบาลติดหล่มอยู่ในความขัดแย้ง และมีความพยายามของคนบางกลุ่มสร้างความวุ่นวาย แถมอาจมีบางส่วนไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งซึ่งไม่ทราบว่ามีวัตถุประสงค์อะไร
ผู้สื่อข่าวเห็นว่าเมื่อสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง และบางส่วนก่อความวุ่นวายเช่นนี้จะทำให้การยุบสภาล่าช้าไปหรือไม่ นายกฯ ก็ยืนยันว่าไม่ เวลานี้ตนจะต้องไปหารือกับ กกต.เพื่อสอบถามความพร้อมของเขาหลังจากรัฐธรรมนูญประกาศแล้ว
และอาจใช้วิธีการออกระเบียบแทนที่จะเป็นกฎหมายจะทำกันอย่างไร ตลอดจนจะต้องดูว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นนั้น ต้องใช้เวลาเท่าไรด้วย เมื่อถามว่าการเลือกตั้งจะอยู่ในช่วงครึ่งปีแรกหรือไม่ นายกรัฐมนตรีก็ยืนยันว่าคงจะเป็นอย่างนั้น
เมื่อนายกฯ ว่าอย่างนั้นเท่ากับว่าเราจะมีการเลือกตั้งในไม่ช้าภายในไม่เกินสามสี่เดือนนี้ ซึ่งหมายความว่าทุกพรรคต้องเตรียมความพร้อมไว้ตั้งแต่เวลานี้แล้ว ทั้งเรื่องทุนและการหาตัวผู้สมัครในเขตเลือกตั้งต่างๆ
เป็นไปได้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ เราจะเห็นผู้สมัครหน้าใหม่มากเป็นพิเศษและจะมีพรรคการเมืองใหม่ๆ เกิดขึ้นมากด้วย
สำหรับความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือ การหาเสียงครั้งนี้จะมีการอภิปรายที่มีความดุเดือดเผ็ดมัน และมีการเปิดโปงถึงการทุจริตคอรัปชั่นในส่วนของรัฐบาลมากเป็นพิเศษ ซึ่งจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ
ขณะเดียวกันสิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ม็อบต่างๆ ที่เกิดขึ้นเวลานี้จะเป็นม็อบการเมืองและจะเชื่อมโยงกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นทั้งนั้น ดาราไฮปาร์คก็คงหนีไม่พ้นบุคคลที่จะกลายไปเป็นผู้สมัครลงชิงตำแหน่งสมาชิกสภาฯ ในการเลือกตั้งด้วยกันทั้งนั้น
ที่น่าสนใจก็คือนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ไปอภิปรายในงานอบรมผู้นำการเมืองที่โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว เมื่อเร็วๆ นี้กล่าวถึงการเมืองปีนี้ว่าจะมีความยุ่งเหยิงโดยมีปัจจัย ๕ ประการดังนี้
๑.ปัญหาที่หมักหมมจากรัฐบาลอดีตนายกฯ ทักษิณที่ได้มีการสร้างค่านิยมใหม่ๆ ทำให้ประชาชนและข้าราชการเกิดความแตกแยก
๒.ธรรมชาติการเมืองในปีที่จะมีการเลือกตั้ง จะเกิดการชิงไหวชิงพริบระหว่างพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อเอาชนะกันโดยไม่สนใจผลกระทบด้านอื่น จะมีการปล่อยข่าวลือ สร้างข่าว โหมโรงการอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงอภิปราย จนถึงการนำข้อมูลมาปะติดปะต่อกัน
๓.การชุมนุมของนปช.จะยังไม่เปลี่ยนแปลงเพื่อต่อรองให้เกิดการเจรจาและเลี้ยงกระแสก่อนการเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อไทย หลายคนว่าหลังแกนนำนปช.ได้รับการปล่อยตัว ทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลง ตนว่าจะไม่มีอะไรเปลี่ยน ดูได้จากการที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย พูดในที่ประชุมพรรคว่าจะต้องใช้ทุกอย่างในการสู้กับฝ่ายตรงข้าม
ดังนั้นนายบัญญัติจึงขอร้องให้ประชาชนลดดีกรีความแรงลง ซึ่งมีตัวแปรอยู่สองอย่างคือ สถานการณ์ที่เป็นจริงกับอารมณ์ร่วม สิ่งที่กำหนดคือว่าการเมืองจะร้องแรงอยู่กับประชาชนเท่านั้น
การที่นายบัญญัติออกมาพูดในฐานะเป็นผู้นำคนหนึ่งของพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้เห็นถึงสำนึกของพรรคการเมืองนี้ว่า มีความรู้สึกต่อสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานี้ว่า ความขัดแย้งทำความยุ่งยากให้กับบ้านเมืองและกระทบถึงพรรคประชาธิปัตย์อย่างช่วยไม่ได้
การที่พรรคการเมืองเก่าแก่เบนความสนใจว่า ค่านิยมและความแตกแยกเกิดจากปัญหาที่หมักหมมมาจากยุครัฐบาลทักษิณเท่ากับเป็นการยอมรับว่ายังคงมีอิทธิพลของอดีตนายกทักษิณฯ อยู่ในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในส่วนพรรคเพื่อไทยที่นายบัญญัติกล่าวถึงพรรคเพื่อไทยกับวีดีโอลิงค์ของอดีตนายกฯ ทักษิณ ก็เป็นการให้น้ำหนักและบทบาทมากเกินไปต่ออดีตนายกฯ ทักษิณ
กล่าวได้ว่า การเลือกตั้งคราวนี้มีเงาของอดีตนายกฯ ทักษิณ ทาบอยู่ด้วย และเป็นที่วิตกต่อรัฐบาลปัจจุบันค่อนข้างมาก จนเชื่อได้ว่าความอยู่รอดของรัฐบาลหน้าก็น่าจะขึ้นอยู่กับว่าอิทธิพลของอดีตนายกฯ ทักษิณ จะเจือจางหรือยังจะเข้มข้นอยู่กับการเมืองไทยต่อไปอีก
น่าสลดใจที่การเมืองไทยยังกลัวกับปีศาจตัวนี้
และน่าเศร้าที่พรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดไม่สามารถสลัดคราบปีศาจที่หลอกหลอนตนเองได้อย่างหมดจรดทั้งๆ ที่เขาหมดอำนาจไปแล้วหลายปี
การเมืองไทยยังคงต้องวนเวียนอยู่กับอดีต
เราไม่อาจมองไม่เห็นอนาคตได้
หากมีพรรคการเมืองที่กลัวเงาจากอดีตที่หลอกหลอนตนเองอยู่
เมื่อไม่นานมานี้นายกรัฐมนตรีไปพูดในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยขอบคุณสภาที่ผ่านงบประมาณกลางปี และบอกด้วยว่าอีกไม่นานจะมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล หลังจากนั้นตนก็จะไปหารือกับคณะกรรมการเลือกตั้งถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งว่าจะมีขั้นตอนเวลาอย่างไรเพื่อกำหนดวันยุบสภาที่จะให้มีการเลือกตั้งในอนาคต
นายกฯ ยืนยันว่าการเลือกตั้งจะต้องมีภายในปีนี้ แม้ว่าขณะนี้จะมีความขัดแย้งดำรงอยู่มากและกล่าวว่ามันเป็นเรื่องการแสดงออก จะเป็นวิธีการของกลุ่มใดก็ตาม ตราบที่ไม่นำไปสู่ความรุนแรงก็ไม่มีปัญหาคิดว่าประชาชนคิดเองได้ แต่ในส่วนของรัฐบาลก็จะเดินหน้าต่อไป แต่เห็นว่าฝ่ายอื่นๆ เวลานี้ต้องการให้รัฐบาลติดหล่มอยู่ในความขัดแย้ง และมีความพยายามของคนบางกลุ่มสร้างความวุ่นวาย แถมอาจมีบางส่วนไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งซึ่งไม่ทราบว่ามีวัตถุประสงค์อะไร
ผู้สื่อข่าวเห็นว่าเมื่อสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง และบางส่วนก่อความวุ่นวายเช่นนี้จะทำให้การยุบสภาล่าช้าไปหรือไม่ นายกฯ ก็ยืนยันว่าไม่ เวลานี้ตนจะต้องไปหารือกับ กกต.เพื่อสอบถามความพร้อมของเขาหลังจากรัฐธรรมนูญประกาศแล้ว
และอาจใช้วิธีการออกระเบียบแทนที่จะเป็นกฎหมายจะทำกันอย่างไร ตลอดจนจะต้องดูว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นนั้น ต้องใช้เวลาเท่าไรด้วย เมื่อถามว่าการเลือกตั้งจะอยู่ในช่วงครึ่งปีแรกหรือไม่ นายกรัฐมนตรีก็ยืนยันว่าคงจะเป็นอย่างนั้น
เมื่อนายกฯ ว่าอย่างนั้นเท่ากับว่าเราจะมีการเลือกตั้งในไม่ช้าภายในไม่เกินสามสี่เดือนนี้ ซึ่งหมายความว่าทุกพรรคต้องเตรียมความพร้อมไว้ตั้งแต่เวลานี้แล้ว ทั้งเรื่องทุนและการหาตัวผู้สมัครในเขตเลือกตั้งต่างๆ
เป็นไปได้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ เราจะเห็นผู้สมัครหน้าใหม่มากเป็นพิเศษและจะมีพรรคการเมืองใหม่ๆ เกิดขึ้นมากด้วย
สำหรับความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือ การหาเสียงครั้งนี้จะมีการอภิปรายที่มีความดุเดือดเผ็ดมัน และมีการเปิดโปงถึงการทุจริตคอรัปชั่นในส่วนของรัฐบาลมากเป็นพิเศษ ซึ่งจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ
ขณะเดียวกันสิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ม็อบต่างๆ ที่เกิดขึ้นเวลานี้จะเป็นม็อบการเมืองและจะเชื่อมโยงกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นทั้งนั้น ดาราไฮปาร์คก็คงหนีไม่พ้นบุคคลที่จะกลายไปเป็นผู้สมัครลงชิงตำแหน่งสมาชิกสภาฯ ในการเลือกตั้งด้วยกันทั้งนั้น
ที่น่าสนใจก็คือนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ไปอภิปรายในงานอบรมผู้นำการเมืองที่โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว เมื่อเร็วๆ นี้กล่าวถึงการเมืองปีนี้ว่าจะมีความยุ่งเหยิงโดยมีปัจจัย ๕ ประการดังนี้
๑.ปัญหาที่หมักหมมจากรัฐบาลอดีตนายกฯ ทักษิณที่ได้มีการสร้างค่านิยมใหม่ๆ ทำให้ประชาชนและข้าราชการเกิดความแตกแยก
๒.ธรรมชาติการเมืองในปีที่จะมีการเลือกตั้ง จะเกิดการชิงไหวชิงพริบระหว่างพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อเอาชนะกันโดยไม่สนใจผลกระทบด้านอื่น จะมีการปล่อยข่าวลือ สร้างข่าว โหมโรงการอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงอภิปราย จนถึงการนำข้อมูลมาปะติดปะต่อกัน
๓.การชุมนุมของนปช.จะยังไม่เปลี่ยนแปลงเพื่อต่อรองให้เกิดการเจรจาและเลี้ยงกระแสก่อนการเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อไทย หลายคนว่าหลังแกนนำนปช.ได้รับการปล่อยตัว ทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลง ตนว่าจะไม่มีอะไรเปลี่ยน ดูได้จากการที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย พูดในที่ประชุมพรรคว่าจะต้องใช้ทุกอย่างในการสู้กับฝ่ายตรงข้าม
ดังนั้นนายบัญญัติจึงขอร้องให้ประชาชนลดดีกรีความแรงลง ซึ่งมีตัวแปรอยู่สองอย่างคือ สถานการณ์ที่เป็นจริงกับอารมณ์ร่วม สิ่งที่กำหนดคือว่าการเมืองจะร้องแรงอยู่กับประชาชนเท่านั้น
การที่นายบัญญัติออกมาพูดในฐานะเป็นผู้นำคนหนึ่งของพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้เห็นถึงสำนึกของพรรคการเมืองนี้ว่า มีความรู้สึกต่อสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานี้ว่า ความขัดแย้งทำความยุ่งยากให้กับบ้านเมืองและกระทบถึงพรรคประชาธิปัตย์อย่างช่วยไม่ได้
การที่พรรคการเมืองเก่าแก่เบนความสนใจว่า ค่านิยมและความแตกแยกเกิดจากปัญหาที่หมักหมมมาจากยุครัฐบาลทักษิณเท่ากับเป็นการยอมรับว่ายังคงมีอิทธิพลของอดีตนายกทักษิณฯ อยู่ในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในส่วนพรรคเพื่อไทยที่นายบัญญัติกล่าวถึงพรรคเพื่อไทยกับวีดีโอลิงค์ของอดีตนายกฯ ทักษิณ ก็เป็นการให้น้ำหนักและบทบาทมากเกินไปต่ออดีตนายกฯ ทักษิณ
กล่าวได้ว่า การเลือกตั้งคราวนี้มีเงาของอดีตนายกฯ ทักษิณ ทาบอยู่ด้วย และเป็นที่วิตกต่อรัฐบาลปัจจุบันค่อนข้างมาก จนเชื่อได้ว่าความอยู่รอดของรัฐบาลหน้าก็น่าจะขึ้นอยู่กับว่าอิทธิพลของอดีตนายกฯ ทักษิณ จะเจือจางหรือยังจะเข้มข้นอยู่กับการเมืองไทยต่อไปอีก
น่าสลดใจที่การเมืองไทยยังกลัวกับปีศาจตัวนี้
และน่าเศร้าที่พรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดไม่สามารถสลัดคราบปีศาจที่หลอกหลอนตนเองได้อย่างหมดจรดทั้งๆ ที่เขาหมดอำนาจไปแล้วหลายปี
การเมืองไทยยังคงต้องวนเวียนอยู่กับอดีต
เราไม่อาจมองไม่เห็นอนาคตได้
หากมีพรรคการเมืองที่กลัวเงาจากอดีตที่หลอกหลอนตนเองอยู่