ททท.เชิญ กูรู ด้านการตลาด ติวเข้ม ผู้ว่าราชการจังหวัด และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชู 7 แนวทางกระตุ้นให้แต่ละจังหวัดเร่งสร้างแบรนด์จังหวัดเพื่อการท่องเที่ยว ระบุหมดยุคตั้งสโลแกนยาวเหยียด การตลาดยุดใหม่ ต้องกระชับ มีความเป็นอัตลักษณ์
วานนี้(9 มิย.ย.54) ในงานสัมมนาเรื่อง “การจัดทำตราสินค้าจังหวัดเพื่อการท่องเที่ยว” จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย นายวิชัย ศรีขวัญ ประธานคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) ททท. กล่าวว่า ต้องการเปิดเวทีให้ ผู้นำองค์กรส่วนท้องถิ่น ได้รับรู้ถึงวิธีการและประโยชน์ของการสร้างตราสินค้า(แบรนด์) ด้านการท่องเที่ยวให้แก่จังหวัดของตัวเองเพื่อเป็นช่องทางการตลาดและการแข่งขันให้แก่การท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด โดยผู้เข้าร่วมฟังงานสัมมนาครั้งนี้ ได้เชิญ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาเข้าร่วมการสัมมนารับฟังจากวิทยากร ซึ่งเป็นผู้รู้จริง
“ในอดีต แต่ละจังหวัด จะแยกประชาสัมพันธ์ของตัวเอง ซึ่งมีหลายจังหวัดที่มียุทธศาสตร์คล้ายกัน จึงทำให้ไม่มีจุดเด่นในการขาย ทั้งที่พฤติกรรมการเลือกเดินทางของนักท่องเที่ยวจะมองหาจุดเด่น ซึ่ง ททท.เคยแนะแผนงานการสร้างแบรนด์ ให้แต่ละจังหวัดไปแล้ว แต่หลายแห่งยังไม่สามารถดำเนินการได้”
ทางด้านนายธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ นักกลยุทธ์การตลาดและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธรู เดอะ ไลน์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ซึ่งเป็นวิทยากรผู้บรรยายในการสัมมนาครั้งนี้ กล่าวว่า 7 แนวทางของการสร้างแบรนด์ให้สำเร็จ ได้แก่ 1.การสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้เกิดแก่ผู้บริโภค , 2.การพูดสิ่งซ้ำๆ เพื่อตอกย้ำ จะได้จดจำ เช่น การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า และในหนึ่งองค์กรควรมีผู้พูดคนเดียว เพื่อให้แมสเสทที่ส่งถึงเป้าหมายอยู่ในกรอบเดียว , 3.ต้องหาให้ได้ว่าอะไรในตัวสินค้าที่เป็นจุดเด่น และสามารรถนำเสนอเป็นจุดครองใจ 4.กำหนดกลุ่มเป้าหมายชัดเจน, 5. ต้องเข้าใจพฤติกรมลูกค้าเป้าหมายให้มากที่สุด ,6.เป็นสินค้าที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ และ7.ต้องมีความสม่ำเสมอ ที่จะส่งแมสเสทถึงผู้บริโภค
ที่ผ่านมา มองว่า การสร้างแบรนด์เพื่อการท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด ยังหลงทาง ในหลายเรื่อง ทำให้ สินค้าทางการท่องเที่ยวไม่มีความโดดเด่นพอจะ ให้ลูกค้าเกิดการจดจำได้ นอกจากนั้นการตั้งสโลแกน หรือคำขวัญ ด้านการท่องเที่ยวให้แก่จังหวัด ควรเลือกที่เป็นจุดเด่น และมีศักยภาพที่จะเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวได้จริง เช่น ประเทศไทย ถือเป็นเดสติเนชั่นทางการท่องเที่ยว โดยททท. ใช้ “อะเมซิ่ง” เป็นเวิร์ดดิ้ง เพื่อแสดงคาแรกเตอร์ สร้างการจดจำ ในกลุ่มนักท่องเที่ยวได้อย่างแม่นยำ
ทั้งนี้นักการตลาดที่ประสบความสำเร็จ จะต้องคิดโดยใช้ความต้องการของผู้บริโภคเป็นตัวตั้ง หรือทฤษฎี 4c และยังต้องคิดไวทำไว จึงได้เปรียบคู่แข่งขัน นำเสนอสินค้าที่มีความยูนิค แตกต่างๆ เพื่อให้เป็นแบรนด์ ไอเดนนิตี้ (Idenity) คือ การสร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ในตราสินค้าของตัวเอง ซึ่งตรงนี้มองว่า ใครทำก่อนได้เกปรียบ อย่างเช่น เทศกาลแห่เทีนยพรรษา ซึ่งจ.อุบลราชธานี มีความโดเด่นสูงสุด ทั้งที่มีหลายจังหวัดในภาคอีสาน และภาคอื่นๆ เริ่มนำเสนอประเพณีดังกล่าวเป็นจุดขายเพื่อดึงนักท่องเที่ยวแล้ว ดังนั้น จึงมองว่า จ.อุบลฯต้องเร่งสร้างแบรนด์ นี้ให้เกดขึ้น เพื่อว่าหากนักท่องเที่ยวนึกถึงเทศกาลแห่เทียนพรรษาต้องไปที่ จ.อุบลฯ
วานนี้(9 มิย.ย.54) ในงานสัมมนาเรื่อง “การจัดทำตราสินค้าจังหวัดเพื่อการท่องเที่ยว” จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย นายวิชัย ศรีขวัญ ประธานคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) ททท. กล่าวว่า ต้องการเปิดเวทีให้ ผู้นำองค์กรส่วนท้องถิ่น ได้รับรู้ถึงวิธีการและประโยชน์ของการสร้างตราสินค้า(แบรนด์) ด้านการท่องเที่ยวให้แก่จังหวัดของตัวเองเพื่อเป็นช่องทางการตลาดและการแข่งขันให้แก่การท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด โดยผู้เข้าร่วมฟังงานสัมมนาครั้งนี้ ได้เชิญ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาเข้าร่วมการสัมมนารับฟังจากวิทยากร ซึ่งเป็นผู้รู้จริง
“ในอดีต แต่ละจังหวัด จะแยกประชาสัมพันธ์ของตัวเอง ซึ่งมีหลายจังหวัดที่มียุทธศาสตร์คล้ายกัน จึงทำให้ไม่มีจุดเด่นในการขาย ทั้งที่พฤติกรรมการเลือกเดินทางของนักท่องเที่ยวจะมองหาจุดเด่น ซึ่ง ททท.เคยแนะแผนงานการสร้างแบรนด์ ให้แต่ละจังหวัดไปแล้ว แต่หลายแห่งยังไม่สามารถดำเนินการได้”
ทางด้านนายธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ นักกลยุทธ์การตลาดและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธรู เดอะ ไลน์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ซึ่งเป็นวิทยากรผู้บรรยายในการสัมมนาครั้งนี้ กล่าวว่า 7 แนวทางของการสร้างแบรนด์ให้สำเร็จ ได้แก่ 1.การสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้เกิดแก่ผู้บริโภค , 2.การพูดสิ่งซ้ำๆ เพื่อตอกย้ำ จะได้จดจำ เช่น การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า และในหนึ่งองค์กรควรมีผู้พูดคนเดียว เพื่อให้แมสเสทที่ส่งถึงเป้าหมายอยู่ในกรอบเดียว , 3.ต้องหาให้ได้ว่าอะไรในตัวสินค้าที่เป็นจุดเด่น และสามารรถนำเสนอเป็นจุดครองใจ 4.กำหนดกลุ่มเป้าหมายชัดเจน, 5. ต้องเข้าใจพฤติกรมลูกค้าเป้าหมายให้มากที่สุด ,6.เป็นสินค้าที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ และ7.ต้องมีความสม่ำเสมอ ที่จะส่งแมสเสทถึงผู้บริโภค
ที่ผ่านมา มองว่า การสร้างแบรนด์เพื่อการท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด ยังหลงทาง ในหลายเรื่อง ทำให้ สินค้าทางการท่องเที่ยวไม่มีความโดดเด่นพอจะ ให้ลูกค้าเกิดการจดจำได้ นอกจากนั้นการตั้งสโลแกน หรือคำขวัญ ด้านการท่องเที่ยวให้แก่จังหวัด ควรเลือกที่เป็นจุดเด่น และมีศักยภาพที่จะเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวได้จริง เช่น ประเทศไทย ถือเป็นเดสติเนชั่นทางการท่องเที่ยว โดยททท. ใช้ “อะเมซิ่ง” เป็นเวิร์ดดิ้ง เพื่อแสดงคาแรกเตอร์ สร้างการจดจำ ในกลุ่มนักท่องเที่ยวได้อย่างแม่นยำ
ทั้งนี้นักการตลาดที่ประสบความสำเร็จ จะต้องคิดโดยใช้ความต้องการของผู้บริโภคเป็นตัวตั้ง หรือทฤษฎี 4c และยังต้องคิดไวทำไว จึงได้เปรียบคู่แข่งขัน นำเสนอสินค้าที่มีความยูนิค แตกต่างๆ เพื่อให้เป็นแบรนด์ ไอเดนนิตี้ (Idenity) คือ การสร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ในตราสินค้าของตัวเอง ซึ่งตรงนี้มองว่า ใครทำก่อนได้เกปรียบ อย่างเช่น เทศกาลแห่เทีนยพรรษา ซึ่งจ.อุบลราชธานี มีความโดเด่นสูงสุด ทั้งที่มีหลายจังหวัดในภาคอีสาน และภาคอื่นๆ เริ่มนำเสนอประเพณีดังกล่าวเป็นจุดขายเพื่อดึงนักท่องเที่ยวแล้ว ดังนั้น จึงมองว่า จ.อุบลฯต้องเร่งสร้างแบรนด์ นี้ให้เกดขึ้น เพื่อว่าหากนักท่องเที่ยวนึกถึงเทศกาลแห่เทียนพรรษาต้องไปที่ จ.อุบลฯ