ราคาน้ำมันดิบพุ่งจากเหตุสู้รบที่ลิเบีย ปตท.ชี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในตะวันออกกลางเพียงพอต่อความต้องการใช้ หากไม่ลามไปยังประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ ส่วนราคาจะปรับขึ้นต่อเนื่องคาดเดายาก ชี้ ปีนี้ไทยใช้เงินเกือบ 3 หมื่นล้านเหรียญนำเข้าน้ำมัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 20-30%
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เหตุการณ์ที่สหรัฐฯร่วมกับกลุ่มชาติตะวันตกโจมตีทางอากาศในลิเบีย ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบอยู่ที่ 110 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ปรับตัวสูงขึ้นจากวันที่ 17 มี.ค.ประมาณ 4 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ส่วนราคาจะปรับขึ้นต่อเนื่องหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยความวิตกกังวล
ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก โดยเชื่อว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะใช้เวลาระยะหนึ่ง แต่หากพิจารณาในด้านปริมาณการผลิตน้ำมันพบว่ายังเพียงพอต่อความต้องการใช้ในตลาดโลก จึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันราคาน้ำมันให้พุ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากเหตุการณ์ประท้วงที่เกิดขึ้นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลางลามไปสู่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อย่าง ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน อิรัก และ คูเวต เชื่อว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะพุ่งเกินระดับ 150 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรลแน่นอน แต่เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากซาอุดีอาระเบีย และคูเวต เป็นประเทศที่สหรัฐฯให้การสนับสนุนอยู่แล้ว
ปัจจุบันไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางคิดเป็นสัดส่วน 70% ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด โดย ปตท.ได้พยายามสร้างเครือข่ายการจัดหาพลังงานโดยมีการเปิดสำนักงานที่สิงคโปร์ ดูไบและอื่นๆ เพื่อให้จัดหาพลังงานได้ทันท่วงทีในหลายพื้นที่ ที่ผ่านมาไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากUAEเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีการนำเข้าจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ออสเตรเลียด้วย
ส่วนกรณีภัยพิบัติที่ญี่ปุ่น ทำให้ธุรกิจการกลั่นได้รับประโยชน์ในระยะสั้น จากค่าการกลั่นที่ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันเตาและดีเซลปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากซัปพลายลดลง แต่ระยะยาวอาจจะได้รับผลกระทบในทางลบ หากภาคอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นหยุดชะงักเป็นเวลานาน ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันและปิโตรเคมีลดลง และหากราคาน้ำมันยังยืนในระดับสูงเกินไป ก็จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวสหรัฐฯและสหภาพยุโรปให้ช้าลง ขณะที่รัฐบาลจีนเองก็ต้องการชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจประเทศ
ในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยที่นำเข้าอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล สูงกว่าปีก่อนที่เฉลี่ยต่ำกว่า 80 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล โดยปีที่แล้วมีปริมาณนำเข้าน้ำมัน 7 แสนล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่า 2.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หากราคาน้ำมันดิบทรงตัวในระดับสูงเฉลี่ย 100 เหรียญสหรัฐฯไปจนถึงสิ้นปี มูลค่าการนำเข้าพลังงานของไทยจะใกล้ 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯสูงกว่าปีก่อน 20-30% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อดุลการค้าของประเทศ
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบงวดส่งมอบเดือนเมษายนที่ตลาดสิงคโปร์ช่วงเที่ยงวันที่ 21 มี.ค.ดีดขึ้น 1.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ซื้อขายที่ 102.89 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบเบรนต์ ปรับขึ้น 1.83 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซื้อขายที่ 115.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เหตุการณ์ที่สหรัฐฯร่วมกับกลุ่มชาติตะวันตกโจมตีทางอากาศในลิเบีย ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบอยู่ที่ 110 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ปรับตัวสูงขึ้นจากวันที่ 17 มี.ค.ประมาณ 4 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ส่วนราคาจะปรับขึ้นต่อเนื่องหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยความวิตกกังวล
ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก โดยเชื่อว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะใช้เวลาระยะหนึ่ง แต่หากพิจารณาในด้านปริมาณการผลิตน้ำมันพบว่ายังเพียงพอต่อความต้องการใช้ในตลาดโลก จึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันราคาน้ำมันให้พุ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากเหตุการณ์ประท้วงที่เกิดขึ้นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลางลามไปสู่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อย่าง ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน อิรัก และ คูเวต เชื่อว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะพุ่งเกินระดับ 150 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรลแน่นอน แต่เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากซาอุดีอาระเบีย และคูเวต เป็นประเทศที่สหรัฐฯให้การสนับสนุนอยู่แล้ว
ปัจจุบันไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางคิดเป็นสัดส่วน 70% ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด โดย ปตท.ได้พยายามสร้างเครือข่ายการจัดหาพลังงานโดยมีการเปิดสำนักงานที่สิงคโปร์ ดูไบและอื่นๆ เพื่อให้จัดหาพลังงานได้ทันท่วงทีในหลายพื้นที่ ที่ผ่านมาไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากUAEเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีการนำเข้าจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ออสเตรเลียด้วย
ส่วนกรณีภัยพิบัติที่ญี่ปุ่น ทำให้ธุรกิจการกลั่นได้รับประโยชน์ในระยะสั้น จากค่าการกลั่นที่ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันเตาและดีเซลปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากซัปพลายลดลง แต่ระยะยาวอาจจะได้รับผลกระทบในทางลบ หากภาคอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นหยุดชะงักเป็นเวลานาน ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันและปิโตรเคมีลดลง และหากราคาน้ำมันยังยืนในระดับสูงเกินไป ก็จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวสหรัฐฯและสหภาพยุโรปให้ช้าลง ขณะที่รัฐบาลจีนเองก็ต้องการชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจประเทศ
ในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยที่นำเข้าอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล สูงกว่าปีก่อนที่เฉลี่ยต่ำกว่า 80 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล โดยปีที่แล้วมีปริมาณนำเข้าน้ำมัน 7 แสนล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่า 2.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หากราคาน้ำมันดิบทรงตัวในระดับสูงเฉลี่ย 100 เหรียญสหรัฐฯไปจนถึงสิ้นปี มูลค่าการนำเข้าพลังงานของไทยจะใกล้ 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯสูงกว่าปีก่อน 20-30% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อดุลการค้าของประเทศ
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบงวดส่งมอบเดือนเมษายนที่ตลาดสิงคโปร์ช่วงเที่ยงวันที่ 21 มี.ค.ดีดขึ้น 1.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ซื้อขายที่ 102.89 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบเบรนต์ ปรับขึ้น 1.83 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซื้อขายที่ 115.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล