โบอิ้ง ใช้วิกฤตเป็นโอกาส คาดสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับสูงต่อเนื่องปีนี้ดันต้นทุนเพิ่มอีก หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ชู 3 แนวทางแก้ปัญหาให้ธุรกิจสายการบิน แนะใช้เครื่องบินใหม่ ที่ประหยัดเชื้อเพลิงลดมลภาวะ เผยแนวโน้ม 20 ปีข้างหน้าจำนวนเครื่องบินพาณิชย์ทั่วโลกโตเพิ่ม 2 เท่า บินลงพื้นที่เอเชียโตกระโดด 3 เท่าชนะ อเมริกาเหนือ
นายแรนดี้ ทินเซ็ธ รองประธานฝ่ายการตลาด บริษัท โบอิ้ง คอมเมอร์เชียล แอร์เพลน จำกัด ผู้ผลิตเครื่องบิน “โบอิ้ง “ เปิดเผยว่า กล่าวว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่า ต้นทุนน้ำมันเชื้องเพลิงเพื่อใช้ในเครื่องบินพาณิชย์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่คาดไว้ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง จะปรับตัวขึ้นไปแตะที่ระดับ 110-115 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล บริษัทเห็นโอกาสทางการตลาด โดยจะนำเสนอ 3 แนวทางที่จะเป็น โอกาสทำกำไรให้แก่ธุรกิจการบินแม้ในสถานการณ์ราคาน้ำมันปรับตราคาสูงขึ้นต่อเนื่องไปถึงอนาคต
ทั้งนี้ ใน 3 แนวทาง คือ การเลือกประสิทธิภาพของเครื่องบินเพื่อลดค่าเชื้อเพลิงน้ำมัน , การปรับเพิ่มราคาค่าโดยสารที่เชื่อว่าจะเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเก็งกำไรน้ำมัน โดยประเด็นการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องบิน จะเป็นแนวนโยบายที่บริษัท จะนำเสนอให้แก่ลูกค้าเพื่อการตัดสินใจสั่งซื้อเครื่องบินของโบอิ้ง
สำหรับการประเมินอนาคตธุรกิจการบินพาณิชย์ ในช่วง 20 ปี(2552-2572) มองว่าผู้ประกอบการธุรกิจสายการบินทั่วโลกจะทยอยสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ รวมประมาณ 30,900 ลำ รวมมูลค่า 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 108 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น 44% ซื้อเพื่อใช้แทนเครื่องบินเก่า และอีก 56% เครื่องบินที่จะเพิ่มขึ้นใหม่
ซึ่งจะทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว เครื่องบินพาณิชย์ทั่วโลกจะขยายตัว 2เท่าจาก 18,890ลำในปัจจุบัน เพิ่มเป็น 36,300ลำ
ตัวเลขดังกล่าว ได้สอดคล้องกับสิ่งที่คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า จีดีพีเศรษฐกิจของโลกจะขยายตัว 3.2% ฝูงบินจะเติบโต 3.3% ปริมาณผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มขึ้น 4.2% อัตราเดินทางเพิ่มขึ้น 5.3% การขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้น 5.9% โดยมีการคาดการแบ่งตามภูมิภาคด้วยว่า การเดินทางโดยเครื่องบินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอีก 20 ปีข้างหน้า จะขยายตัว 6.9% มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยที่ 4.3% เป็นการเติบโตกว่าภูมิภาคอื่นๆในโลก
ขณะที่การเพิ่มขึ้นของเครื่องบินพาณิชย์อีก 18,890 ลำ แบ่งเป็น ซื้อเครื่องบินใหม่ในเอเชีย 2,500 ลำ รวมเงิน 370,000 ล้านเหรียญหรือประมาณ 11.1 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่เติบถึง 3 เท่าจากปัจจุบัน สูงกว่าการเติบโตในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ซึ่งเคยมีการเติบโตที่ 2.8% แต่อีก 2 ปีนับจากนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเติบโต 7.1%
ปัจจุบันสัดส่วนเครื่องบินจากทั่วโลกบินลงประเทศในเอเชียที่ 33% จะปรับเพิ่ม 44% ส่วนเครื่องบินที่บินลงยุโรปและอเมริกาเหนือคิดเป็น 72% ปรับลดเหลือ 58% ในปัจจุบันและจะลดลงเหลือ 45% ในอนาคต
นายแรนดี้ ทินเซ็ธ รองประธานฝ่ายการตลาด บริษัท โบอิ้ง คอมเมอร์เชียล แอร์เพลน จำกัด ผู้ผลิตเครื่องบิน “โบอิ้ง “ เปิดเผยว่า กล่าวว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่า ต้นทุนน้ำมันเชื้องเพลิงเพื่อใช้ในเครื่องบินพาณิชย์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่คาดไว้ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง จะปรับตัวขึ้นไปแตะที่ระดับ 110-115 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล บริษัทเห็นโอกาสทางการตลาด โดยจะนำเสนอ 3 แนวทางที่จะเป็น โอกาสทำกำไรให้แก่ธุรกิจการบินแม้ในสถานการณ์ราคาน้ำมันปรับตราคาสูงขึ้นต่อเนื่องไปถึงอนาคต
ทั้งนี้ ใน 3 แนวทาง คือ การเลือกประสิทธิภาพของเครื่องบินเพื่อลดค่าเชื้อเพลิงน้ำมัน , การปรับเพิ่มราคาค่าโดยสารที่เชื่อว่าจะเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเก็งกำไรน้ำมัน โดยประเด็นการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องบิน จะเป็นแนวนโยบายที่บริษัท จะนำเสนอให้แก่ลูกค้าเพื่อการตัดสินใจสั่งซื้อเครื่องบินของโบอิ้ง
สำหรับการประเมินอนาคตธุรกิจการบินพาณิชย์ ในช่วง 20 ปี(2552-2572) มองว่าผู้ประกอบการธุรกิจสายการบินทั่วโลกจะทยอยสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ รวมประมาณ 30,900 ลำ รวมมูลค่า 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 108 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น 44% ซื้อเพื่อใช้แทนเครื่องบินเก่า และอีก 56% เครื่องบินที่จะเพิ่มขึ้นใหม่
ซึ่งจะทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว เครื่องบินพาณิชย์ทั่วโลกจะขยายตัว 2เท่าจาก 18,890ลำในปัจจุบัน เพิ่มเป็น 36,300ลำ
ตัวเลขดังกล่าว ได้สอดคล้องกับสิ่งที่คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า จีดีพีเศรษฐกิจของโลกจะขยายตัว 3.2% ฝูงบินจะเติบโต 3.3% ปริมาณผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มขึ้น 4.2% อัตราเดินทางเพิ่มขึ้น 5.3% การขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้น 5.9% โดยมีการคาดการแบ่งตามภูมิภาคด้วยว่า การเดินทางโดยเครื่องบินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอีก 20 ปีข้างหน้า จะขยายตัว 6.9% มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยที่ 4.3% เป็นการเติบโตกว่าภูมิภาคอื่นๆในโลก
ขณะที่การเพิ่มขึ้นของเครื่องบินพาณิชย์อีก 18,890 ลำ แบ่งเป็น ซื้อเครื่องบินใหม่ในเอเชีย 2,500 ลำ รวมเงิน 370,000 ล้านเหรียญหรือประมาณ 11.1 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่เติบถึง 3 เท่าจากปัจจุบัน สูงกว่าการเติบโตในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ซึ่งเคยมีการเติบโตที่ 2.8% แต่อีก 2 ปีนับจากนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเติบโต 7.1%
ปัจจุบันสัดส่วนเครื่องบินจากทั่วโลกบินลงประเทศในเอเชียที่ 33% จะปรับเพิ่ม 44% ส่วนเครื่องบินที่บินลงยุโรปและอเมริกาเหนือคิดเป็น 72% ปรับลดเหลือ 58% ในปัจจุบันและจะลดลงเหลือ 45% ในอนาคต