นายแรนดี้ ทินเซธ รองประธานฝ่ายการตลาด โบอิ้ง คอมเมอร์เชียล แอร์เพลนส์ ประเมินภาพธุรกิจการบินโดยรวม และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่ามีความต้องการเครื่องบินใหม่มากถึง 30,900 ลำ นับตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงปี 2572 รวมมูลค่า 3.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 108 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ร้อยละ 44 เป็นเครื่องบินที่สั่งซื้อเพื่อทดแทนเครื่องเก่า ร้อยละ 56 เป็นเครื่องใหม่ คาดว่าใน 20 ปีข้างหน้า จำนวนเครื่องบินพาณิชย์จะขยายตัวเป็น 2 เท่า จาก 18,890 ลำ เป็น 36,300 ลำ
ในปี 2554 โบอิ้ง และสมาคมขนส่งทางอากาศ หรือ ไออาตา ประเมินว่า จำนวนผู้โดยสารจะปรับตัวขึ้นมาถึงร้อยละ 8-9 ปัจจัยเสี่ยงอุตสาหกรรมการบิน คือ ราคาน้ำมันตลาดโลก ปัญหาเศรษฐกิจ และจำนวนผู้โดยสารที่มีส่วนสำคัญต่อการส่งผลการผลิตเครื่องบินมาก
นายแรนดี้ กล่าวว่า ตลาดการบินใหม่ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง คือ จีน อินเดีย และอเมริกาเหนือ
ในปี 2554 โบอิ้ง และสมาคมขนส่งทางอากาศ หรือ ไออาตา ประเมินว่า จำนวนผู้โดยสารจะปรับตัวขึ้นมาถึงร้อยละ 8-9 ปัจจัยเสี่ยงอุตสาหกรรมการบิน คือ ราคาน้ำมันตลาดโลก ปัญหาเศรษฐกิจ และจำนวนผู้โดยสารที่มีส่วนสำคัญต่อการส่งผลการผลิตเครื่องบินมาก
นายแรนดี้ กล่าวว่า ตลาดการบินใหม่ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง คือ จีน อินเดีย และอเมริกาเหนือ