เอกชนยอมรับมีอย่างน้อย 4 กิจการที่ไม่ควรกำหนดให้เป็นกิจการรุนแรงโดยเฉพาะจีเอ็มโอ สนามกอล์ฟ เหมืองโลหะทุกชนิด นิคมอุตสาหกรรม ควรปรับรายละเอียดเน้นที่การปล่อยมลพิษ ขณะที่เอ็นจีโอลั่น 19 กิจการต้นร่างน้อยไป
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รักษาการรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพื่อการปรับปรุงรายการ โครงการ หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และสุขภาพ ภายใต้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ไขปัญหามาบตาพุดว่า คณะอนุฯได้นำ 19 กิจการที่เข้าข่ายกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชนรุนแรงมาเป็นต้นร่างในการเปิดรับฟังความเห็นซึ่งเอกชนเห็นว่ามีหลายกิจการที่ควรถอดออกจากการกำหนดเป็นกิจการรุนแรงอาทิ บัญชีที่ 18 การดัดแปลงสารพันธุกรรม หรือพืชจีเอ็มโอ, บัญชีที่ 19 สนามกอล์ฟ, บัญชีที่ 5 เหมืองแร่โลหะทุกชนิด และบัญชีที่ 9 นิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการ เป็นต้น
ทั้งนี้ เนื่องจากกิจการดังกล่าวไม่ได้มีผลกระทบต่อสุขภาพและทรัพยากรธรรมชาติรุนแรงแต่อย่างใด โดยเฉพาะจีเอ็มโอนั้นไทยยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ในเชิงพาณิชย์และยังมีกฏหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องดูแลอีกมาก ส่วนกรณีเหมืองแร่โลหะที่กำหนดให้เป็นทุกชนิดนั้นโลหะไม่ได้เป็นอันตรายทุกชนิดเสมอไปควรกำหนดเหมืองแร่โลหะที่เป็นอันตรายจะถูกต้องกว่าเช่นเดียวกับกรณีนิคมอุตสาหกรรมที่ระบุว่าต้องมีโรงงานปิโตรเคมี และโรงถลุงเหล็กก็จัดเป็นกิจการรุนแรงทั้งที่หากเป็นนิคมฯใหม่จะมีระบบจัดการและเทคโนโลยีที่ดีก็ควรจะพิจารณาเป็นโครงการไปน่าจะมีถูกต้องกว่า
“นักลงทุนญี่ปุ่นเองก็ต้องการเห็นความชัดเจนในเรื่องนี้ มุมมองเอกชนเห็นว่า 19 กิจการหากกำหนดครบจริงไทยคงจะเป็นประเทศอันดับต้นๆ ของโลกที่จะกำหนดบัญชีกิจการรุนแรงมากสุดเพราะจริงๆ แล้วเราควรจะมองจากการปล่อยมลพิษจริงไม่ควรวัดจากความรู้สึก” นายพยุงศักดิ์ กล่าว
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า ทำไมเอกชนจะต้องกลัวการกำหนดบัญชีกิจการรุนแรงเพราะกิจการที่ถูกกำหนดจะต้องทำตามมาตรา 67 วรรค 2 ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2550 ว่าด้วยการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) รายงานผลกระทบต่อสุขภาพ (เอชไอเอ) การรับฟังความเห็นจากชุมชนและองค์การอิสระเพราะกระบวนการนี้จะทำให้กิจการเอกชนอยู่ร่วมกับชุมชนได้เป็นอย่างดี เพราะหากกิจการมีปัญหากับชุมชนในที่สุดก็สามารถฟ้องร้องและท้ายสุดก็ต้องปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 ซึ่งถึงจุดนั้นประชาชนก็ไม่ยอมรับแล้ว ซึ่งเห็นว่า 19 ประเภทกิจการที่กำหนดน้อยไปจะต้องบวกเพิ่ม
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า ส่วนตัวแล้วสนามกอล์ฟนั้นมีแนวโน้มไม่ต้องถึงขั้นกำหนดให้เป็นกิจการรุนแรงแต่ควรจะกำหนดกรอบการใช้สารเคมี และการใช้น้ำในพื้นที่ไม่ให้กระทบสุขภาพและชีวิตชุมชนรอบข้างจึงมองว่า 19 กิจการที่เป็นต้นร่างท้ายสุดน่าจะเป็น 19 ลบมากกว่า
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รักษาการรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพื่อการปรับปรุงรายการ โครงการ หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และสุขภาพ ภายใต้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ไขปัญหามาบตาพุดว่า คณะอนุฯได้นำ 19 กิจการที่เข้าข่ายกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชนรุนแรงมาเป็นต้นร่างในการเปิดรับฟังความเห็นซึ่งเอกชนเห็นว่ามีหลายกิจการที่ควรถอดออกจากการกำหนดเป็นกิจการรุนแรงอาทิ บัญชีที่ 18 การดัดแปลงสารพันธุกรรม หรือพืชจีเอ็มโอ, บัญชีที่ 19 สนามกอล์ฟ, บัญชีที่ 5 เหมืองแร่โลหะทุกชนิด และบัญชีที่ 9 นิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการ เป็นต้น
ทั้งนี้ เนื่องจากกิจการดังกล่าวไม่ได้มีผลกระทบต่อสุขภาพและทรัพยากรธรรมชาติรุนแรงแต่อย่างใด โดยเฉพาะจีเอ็มโอนั้นไทยยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ในเชิงพาณิชย์และยังมีกฏหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องดูแลอีกมาก ส่วนกรณีเหมืองแร่โลหะที่กำหนดให้เป็นทุกชนิดนั้นโลหะไม่ได้เป็นอันตรายทุกชนิดเสมอไปควรกำหนดเหมืองแร่โลหะที่เป็นอันตรายจะถูกต้องกว่าเช่นเดียวกับกรณีนิคมอุตสาหกรรมที่ระบุว่าต้องมีโรงงานปิโตรเคมี และโรงถลุงเหล็กก็จัดเป็นกิจการรุนแรงทั้งที่หากเป็นนิคมฯใหม่จะมีระบบจัดการและเทคโนโลยีที่ดีก็ควรจะพิจารณาเป็นโครงการไปน่าจะมีถูกต้องกว่า
“นักลงทุนญี่ปุ่นเองก็ต้องการเห็นความชัดเจนในเรื่องนี้ มุมมองเอกชนเห็นว่า 19 กิจการหากกำหนดครบจริงไทยคงจะเป็นประเทศอันดับต้นๆ ของโลกที่จะกำหนดบัญชีกิจการรุนแรงมากสุดเพราะจริงๆ แล้วเราควรจะมองจากการปล่อยมลพิษจริงไม่ควรวัดจากความรู้สึก” นายพยุงศักดิ์ กล่าว
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า ทำไมเอกชนจะต้องกลัวการกำหนดบัญชีกิจการรุนแรงเพราะกิจการที่ถูกกำหนดจะต้องทำตามมาตรา 67 วรรค 2 ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2550 ว่าด้วยการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) รายงานผลกระทบต่อสุขภาพ (เอชไอเอ) การรับฟังความเห็นจากชุมชนและองค์การอิสระเพราะกระบวนการนี้จะทำให้กิจการเอกชนอยู่ร่วมกับชุมชนได้เป็นอย่างดี เพราะหากกิจการมีปัญหากับชุมชนในที่สุดก็สามารถฟ้องร้องและท้ายสุดก็ต้องปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 ซึ่งถึงจุดนั้นประชาชนก็ไม่ยอมรับแล้ว ซึ่งเห็นว่า 19 ประเภทกิจการที่กำหนดน้อยไปจะต้องบวกเพิ่ม
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า ส่วนตัวแล้วสนามกอล์ฟนั้นมีแนวโน้มไม่ต้องถึงขั้นกำหนดให้เป็นกิจการรุนแรงแต่ควรจะกำหนดกรอบการใช้สารเคมี และการใช้น้ำในพื้นที่ไม่ให้กระทบสุขภาพและชีวิตชุมชนรอบข้างจึงมองว่า 19 กิจการที่เป็นต้นร่างท้ายสุดน่าจะเป็น 19 ลบมากกว่า