รมว.ไอซีทีตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อขยายผลเอาผิดทางแพ่ง กับผู้เกี่ยวข้อง “พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย” ผู้ตรวจราชการคนใหม่ในฐานประธานรับลูกทันควัน ออกปากพร้อมแถลงความคืบหน้า10มี.ค.นี้ "หมอเลี๊ยบ-วันนอร์" จ่อโทษอาญา "ทีโอที" เร่งตั้งคณะทำงานประมวลความเสียหาย เร่งควานหาผู้เกี่ยวข้องทันที ขณะที่ "กสท" ลุยหามูลค่าความเสียหายกรณีลดค่าโรมมิ่งดีพีซี
ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เปิดเผยว่า ไอซีที ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จตามคำพิพากษาศาลฎีกา แผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณียึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นของแผ่นดิน โดยมี พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวง ไอซีที อดีตรองอธิบดี
กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เป็นประธาน มีหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐรวมถึงองค์กรของรัฐ และหาผู้เกี่ยวข้องในการสร้างความเสียหายแก่รัฐ พร้อมมูลค่าความเสียหาย เพื่อดำเนินการทางแพ่งตามหน้าที่ของไอซีทีต่อไป ซึ่งคณะทำงานชุดดังกล่าวจะเริ่มดำเนินงานทันทีในวันวันที่ 3 มี.ค.53 และจะแถลงความคืบหน้าผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้งในวันที่ วันที่ 10 มี.ค.ที่จะถึงนี้
ส่วนการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวจะยึดแนวทางการตัดสินของศาลใน 3 เรื่องหลักคือ1. เรื่องการแก้ไขสัญญาระบบเติมเงินหรือพรีเพดให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอสเป็น 20 % จนหมดอายุสัญญาสัมปทาน จากเดิมใช้อัตราก้าวหน้า 25-30 % 2.เรื่องภาษีสรรพสามิตซึ่งมีมติคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นให้แปรส่วนหนึ่งของส่วนแบ่งรายได้ไปเป็นภาษีสรรพสามิต และ 3. กรณีสัญญาดาวเทียมกับบริษัท ไทยคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับไอซีทีโดยตรง
สำหรับกรณีสัญญาดาวเทียมจะต้องมีการแยกการพิจารณาออกเป็นประเด็น ค่าสินไหมทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่หายไป รวมถึงการการอนุมัติให้ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรองไทยคม 3 ทั้งที่มีคุณสมบัติเป็นดาวเทียมหลัก และกรณีการแก้ไขสัญญาดาวเทียม
“คาดว่าคณะทำงานชุดนี้จะสามารถสรุปข้อเท็จจริงได้หลังจาก 30วัน ที่ศาลให้เวลาจำเลยในคดียึดทรัพย์จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลหรือไม่ เบื้องต้นได้มอบหมายให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ทีโอที และกสทไปรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำพิพากษาส่งให้คณะกรรมการเพื่อประกอบการตรวจสอบโดยด่วน”
ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ กล่าวว่า ไอซีทีอยู่ระหว่างทำหนังสือแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ขอเลื่อนส่งผลการตรวจสอบสัญญาส่วนแก้ไข ที่บริษัท ทีโอที และ บริษัท กสท โทรคมนาคม ทำกับผู้รับสัมปทาน ได้แก่ เอไอเอส บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค บริษัท ดิจิตอลโฟน หรือ ดีพีซี และ บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวเลส มัลติมีเดีย หรือ ฮัทช์ ออกไปอีก 90 วัน จากกำหนดเดิมต้องส่งครม.เศรษฐกิจภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมี.ค.นี้ โดยให้เหตุผลว่าต้องนำคำพิพากษาของศาลฎีกามาประกอบการตรวจสอบสัญญาส่วนแก้ไขทั้งหมด
ด้านพ.ต.อ.สุชาติ ประธานตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกา กล่าวว่า การทำงานของคณะกรรมการจะใช้แนวทางคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อตรวจสอบว่า มีบุคคลใดเกี่ยวข้องกรณีการดำเนินการดังกล่าวซึ่งส่งผลให้รัฐเสียหาย และมีการดำเนินการสร้างความเสียหายในลักษณะใด รวมถึงส่งผลให้เกิดมูลค่าความเสียหายแก่รัฐจำนวนเท่าไหร่ เพื่อใช้ในการดำเนินทางเพ่งตามหน้าที่
ทั้งนี้ คดีความทางเพ่งจะยังติดตัวผู้เกี่ยวข้องแม้จะเกษียณอายุราชการ หรือพ้นจากหน้าที่ทางการเมืองไปแล้ว ส่วนกรณีการเอาผิดทางอาญา ไม่ใช่หน้าที่ไอซีที แต่เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. โดยคดีความทางอาญามีผลย้อนเพียง 2 ปี เมื่อผู้กระทำผิดออกจากราชการ
“คณะกรรมการชุดนี้จะประกอบไปด้วย ตัวแทนของ ทีโอที กสท ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้ทรงคุณวุฒิทางการเงิน ผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย และตัวแทนจากดีเอสไอ”
นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า ได้แต่งตั้งคณะทำงานโดยมีนายมนต์ชัย หนูสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารการลงทุน เพื่อรวบรวมข้อมูล ความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับทีโอทีในกรณีการแปรภาษีสรรพสามิตเป็นส่วนหนึ่งของส่วนแบ่งรายได้ รวมถึงการแก้ไขสัญญาเอไอเอสครั้งที่ 6 เพื่อลดส่วนแบ่งรายได้พรีเพดเป็น 20 % จนหมดอายุสัมปทาน และการแก้ไขสัญญาเอไอเอสครั้งที่ 7 เรื่องการโรมมิ่ง ดีพีซี จนหมดอายุสัมปทาน นอกจากนี้ ต้องตรวจสอบว่าการดำเนินการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับทั้งหน่วยงานและบุคคลใดบ้าง โดยการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีบุคคลที่เกี่ยวข้องแต่ยังไม่พบความผิด โดยไอซีทีให้เวลารวบข้อมูลทั้งหมดภายใน 7-14 วัน
นายกฤษดา กวีญาณ กรรมการ กสท กล่าวว่า กสท ไม่จำเป็นต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบความเสียหายตามคำพิพากษาของศาลฎีกา เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงเช่นเดียวกับ ทีโอที ซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทานเอไอเอสโดยตรง ในส่วนของกสท มีหน้าที่หาข้อมูลและมูลค่าความเสียหาย จากกรณีลดค่าโรมมิ่ง ดีพีซี จาก 2.10 บาท เป็น 1.10 บาท รวมทั้งหาบุคคล และหน่วยงานใดเกี่ยวข้องเสนอกลับไปยังไอซีที ที่ผ่านมากสทได้ตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ก่อนแล้ว เพราะการดำเนินการลดค่าโรมมิ่งดังกล่าวไม่ได้นำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดในสมัยนั้นให้รับทราบ จนนำมาซึ่งความเสียหายแก่กสท
ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เปิดเผยว่า ไอซีที ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จตามคำพิพากษาศาลฎีกา แผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณียึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นของแผ่นดิน โดยมี พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวง ไอซีที อดีตรองอธิบดี
กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เป็นประธาน มีหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐรวมถึงองค์กรของรัฐ และหาผู้เกี่ยวข้องในการสร้างความเสียหายแก่รัฐ พร้อมมูลค่าความเสียหาย เพื่อดำเนินการทางแพ่งตามหน้าที่ของไอซีทีต่อไป ซึ่งคณะทำงานชุดดังกล่าวจะเริ่มดำเนินงานทันทีในวันวันที่ 3 มี.ค.53 และจะแถลงความคืบหน้าผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้งในวันที่ วันที่ 10 มี.ค.ที่จะถึงนี้
ส่วนการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวจะยึดแนวทางการตัดสินของศาลใน 3 เรื่องหลักคือ1. เรื่องการแก้ไขสัญญาระบบเติมเงินหรือพรีเพดให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอสเป็น 20 % จนหมดอายุสัญญาสัมปทาน จากเดิมใช้อัตราก้าวหน้า 25-30 % 2.เรื่องภาษีสรรพสามิตซึ่งมีมติคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นให้แปรส่วนหนึ่งของส่วนแบ่งรายได้ไปเป็นภาษีสรรพสามิต และ 3. กรณีสัญญาดาวเทียมกับบริษัท ไทยคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับไอซีทีโดยตรง
สำหรับกรณีสัญญาดาวเทียมจะต้องมีการแยกการพิจารณาออกเป็นประเด็น ค่าสินไหมทดแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่หายไป รวมถึงการการอนุมัติให้ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรองไทยคม 3 ทั้งที่มีคุณสมบัติเป็นดาวเทียมหลัก และกรณีการแก้ไขสัญญาดาวเทียม
“คาดว่าคณะทำงานชุดนี้จะสามารถสรุปข้อเท็จจริงได้หลังจาก 30วัน ที่ศาลให้เวลาจำเลยในคดียึดทรัพย์จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลหรือไม่ เบื้องต้นได้มอบหมายให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ทีโอที และกสทไปรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำพิพากษาส่งให้คณะกรรมการเพื่อประกอบการตรวจสอบโดยด่วน”
ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ กล่าวว่า ไอซีทีอยู่ระหว่างทำหนังสือแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ขอเลื่อนส่งผลการตรวจสอบสัญญาส่วนแก้ไข ที่บริษัท ทีโอที และ บริษัท กสท โทรคมนาคม ทำกับผู้รับสัมปทาน ได้แก่ เอไอเอส บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค บริษัท ดิจิตอลโฟน หรือ ดีพีซี และ บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวเลส มัลติมีเดีย หรือ ฮัทช์ ออกไปอีก 90 วัน จากกำหนดเดิมต้องส่งครม.เศรษฐกิจภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมี.ค.นี้ โดยให้เหตุผลว่าต้องนำคำพิพากษาของศาลฎีกามาประกอบการตรวจสอบสัญญาส่วนแก้ไขทั้งหมด
ด้านพ.ต.อ.สุชาติ ประธานตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกา กล่าวว่า การทำงานของคณะกรรมการจะใช้แนวทางคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อตรวจสอบว่า มีบุคคลใดเกี่ยวข้องกรณีการดำเนินการดังกล่าวซึ่งส่งผลให้รัฐเสียหาย และมีการดำเนินการสร้างความเสียหายในลักษณะใด รวมถึงส่งผลให้เกิดมูลค่าความเสียหายแก่รัฐจำนวนเท่าไหร่ เพื่อใช้ในการดำเนินทางเพ่งตามหน้าที่
ทั้งนี้ คดีความทางเพ่งจะยังติดตัวผู้เกี่ยวข้องแม้จะเกษียณอายุราชการ หรือพ้นจากหน้าที่ทางการเมืองไปแล้ว ส่วนกรณีการเอาผิดทางอาญา ไม่ใช่หน้าที่ไอซีที แต่เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. โดยคดีความทางอาญามีผลย้อนเพียง 2 ปี เมื่อผู้กระทำผิดออกจากราชการ
“คณะกรรมการชุดนี้จะประกอบไปด้วย ตัวแทนของ ทีโอที กสท ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้ทรงคุณวุฒิทางการเงิน ผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย และตัวแทนจากดีเอสไอ”
นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า ได้แต่งตั้งคณะทำงานโดยมีนายมนต์ชัย หนูสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารการลงทุน เพื่อรวบรวมข้อมูล ความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับทีโอทีในกรณีการแปรภาษีสรรพสามิตเป็นส่วนหนึ่งของส่วนแบ่งรายได้ รวมถึงการแก้ไขสัญญาเอไอเอสครั้งที่ 6 เพื่อลดส่วนแบ่งรายได้พรีเพดเป็น 20 % จนหมดอายุสัมปทาน และการแก้ไขสัญญาเอไอเอสครั้งที่ 7 เรื่องการโรมมิ่ง ดีพีซี จนหมดอายุสัมปทาน นอกจากนี้ ต้องตรวจสอบว่าการดำเนินการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับทั้งหน่วยงานและบุคคลใดบ้าง โดยการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีบุคคลที่เกี่ยวข้องแต่ยังไม่พบความผิด โดยไอซีทีให้เวลารวบข้อมูลทั้งหมดภายใน 7-14 วัน
นายกฤษดา กวีญาณ กรรมการ กสท กล่าวว่า กสท ไม่จำเป็นต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบความเสียหายตามคำพิพากษาของศาลฎีกา เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงเช่นเดียวกับ ทีโอที ซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทานเอไอเอสโดยตรง ในส่วนของกสท มีหน้าที่หาข้อมูลและมูลค่าความเสียหาย จากกรณีลดค่าโรมมิ่ง ดีพีซี จาก 2.10 บาท เป็น 1.10 บาท รวมทั้งหาบุคคล และหน่วยงานใดเกี่ยวข้องเสนอกลับไปยังไอซีที ที่ผ่านมากสทได้ตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ก่อนแล้ว เพราะการดำเนินการลดค่าโรมมิ่งดังกล่าวไม่ได้นำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดในสมัยนั้นให้รับทราบ จนนำมาซึ่งความเสียหายแก่กสท