สมาคมแสดงสินค้าไทย หนุน สสปน.และกรมส่งเสริมการส่งออก ใช้ข้อตกลงอาฟต้า ดันไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าประเภทเพื่อใช้จัดงานในอาเซียน ส่วนเรื่องการประมูลสิทธื์ จัดเวิลด์ เอ็กโป 2020 เห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์
นายพรรธระพี ชินะโชติ ประธานกรรมการ บริษัท แบงค็อค เอ็กซ์ซิบิชั่น เซอร์วิสเซส ในฐานะนายกสมาคมการแสดงสินค้าไทย(TEA) เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(สสปน.) และกรมส่งเสริมการส่งออก ให้ผลักดันอุตสาหกรรมที่มีการจัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ ได้มีพื้นที่จัดงานแสดงสินค้าอาเซียน หรือ อาเซียน เทรด แฟร์ ภายในงานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นด้วย
ทั้งนี้เพราะประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์ของการเปิดเสรีการค้าอาเซียน(อาฟต้า) นำสินค้าจากอาเซียนเข้าไทยได้โดยไม่ต้องเสียภาษี ผ่านการจัดงานแสดงสินค้า และนิทรรศการ ได้ก่อนประเทศอื่นๆในอาเซียน ถือเป็นการตอกย้ำศักยภาพไทยเป็นศูนย์กลางจำหน่ายสินค้าประเภทจัดงานได้ก่อน ล่าสุด ทั้ง 2 หน่วยงานก็รับเรื่องไปศึกษาข้อมูลอยู่
"การเปิดเสรีอาเซียน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการได้ หากรู้จักใช้ เพราะหากผู้จัดงานแสดงสินค้า นิทรรศการ รายใดสามารถยกระดับ งานแสดงสินค้าเดิม ให้มีพื้นที่จัดงานแสดงสินค้าประเภทนั้นสำหรับชาติอื่นในอาเซียนด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมงานจากประเทศทั่วโลกที่ไม่ได้อยู่ในอาเซียนด้วย ซึ่งถึงตรงนั้นเท่ากับไทยได้ประกาศให้ทั่วโลกเห็นว่าเราเป็นศูนย์กลางของสินค้าประเภทนั้นๆได้"
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการจัดงานแสดงสินค้าไทยปีนี้ คาดว่ามูลค่าการจัดงานจะเพิ่มขึ้น จากปีก่อน 20% เพราะในปีก่อนจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ผู้จัดงานลดขนาดลง เพราะผู้เข้าชมก็ลดลงด้วย แต่ปีนี้ การฟื้นตัวของเศรษบกิจเริ่มเห็นชัด ซึ่งหากไทยไม่มีปัญหาทางการเมือง เชื่อว่าอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตแน่นอน ล่าสุดมีรายงานว่า ผู้จัดงานหลายรายที่จองพื้นที่ไว้ ต่างขอปรับพื้นที่ขยายงานเพิ่ม และมีงานแสดงสินค้าใหม่ๆ ติดต่อเข้ามาอีกจำนวนมาก
สำหรับกรณี การเสนอตัวเข้าประมูลสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดงาน เวิลด์เอ็กซ์โป 2020 ที่ สสปน. อยู่ระหว่างดำเนินการนั้น ทางสมาคมแสดงสินค้าไทยเห็นด้วย เพราะความจริงไทมยมีศักยภาพเพียงพอที่จะจัดงานดังกล่าวนี้ได้ แต่ที่ผ่านมาไทยขาดองค์กรที่จะมาเป็นผู้นำที่จะเข้าไปเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
ซึ่งหากไทยประกาศตัวประมูลสิทธิ์จัดงานนี้อย่างเป็นทางกหารเมื่อใด เชื่อว่าจะผลักดันให้อุตสาหกรรมการจัดงานแสดงสินค้าในไทย มีความคึกคักขึ้นภายใน 1-2 ปีนับจากวันที่ได้รับสิทธิ์ โดยเวทีนี้จะเป็นการประกาศศักยภาพประเทศไทย ให้รายชื่อผู้เข้าร่วมประมูลสิทธิ์ ได้รับทราบ ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศไทยด้วย
นายพรรธระพี ชินะโชติ ประธานกรรมการ บริษัท แบงค็อค เอ็กซ์ซิบิชั่น เซอร์วิสเซส ในฐานะนายกสมาคมการแสดงสินค้าไทย(TEA) เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(สสปน.) และกรมส่งเสริมการส่งออก ให้ผลักดันอุตสาหกรรมที่มีการจัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ ได้มีพื้นที่จัดงานแสดงสินค้าอาเซียน หรือ อาเซียน เทรด แฟร์ ภายในงานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นด้วย
ทั้งนี้เพราะประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์ของการเปิดเสรีการค้าอาเซียน(อาฟต้า) นำสินค้าจากอาเซียนเข้าไทยได้โดยไม่ต้องเสียภาษี ผ่านการจัดงานแสดงสินค้า และนิทรรศการ ได้ก่อนประเทศอื่นๆในอาเซียน ถือเป็นการตอกย้ำศักยภาพไทยเป็นศูนย์กลางจำหน่ายสินค้าประเภทจัดงานได้ก่อน ล่าสุด ทั้ง 2 หน่วยงานก็รับเรื่องไปศึกษาข้อมูลอยู่
"การเปิดเสรีอาเซียน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการได้ หากรู้จักใช้ เพราะหากผู้จัดงานแสดงสินค้า นิทรรศการ รายใดสามารถยกระดับ งานแสดงสินค้าเดิม ให้มีพื้นที่จัดงานแสดงสินค้าประเภทนั้นสำหรับชาติอื่นในอาเซียนด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมงานจากประเทศทั่วโลกที่ไม่ได้อยู่ในอาเซียนด้วย ซึ่งถึงตรงนั้นเท่ากับไทยได้ประกาศให้ทั่วโลกเห็นว่าเราเป็นศูนย์กลางของสินค้าประเภทนั้นๆได้"
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการจัดงานแสดงสินค้าไทยปีนี้ คาดว่ามูลค่าการจัดงานจะเพิ่มขึ้น จากปีก่อน 20% เพราะในปีก่อนจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ผู้จัดงานลดขนาดลง เพราะผู้เข้าชมก็ลดลงด้วย แต่ปีนี้ การฟื้นตัวของเศรษบกิจเริ่มเห็นชัด ซึ่งหากไทยไม่มีปัญหาทางการเมือง เชื่อว่าอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตแน่นอน ล่าสุดมีรายงานว่า ผู้จัดงานหลายรายที่จองพื้นที่ไว้ ต่างขอปรับพื้นที่ขยายงานเพิ่ม และมีงานแสดงสินค้าใหม่ๆ ติดต่อเข้ามาอีกจำนวนมาก
สำหรับกรณี การเสนอตัวเข้าประมูลสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดงาน เวิลด์เอ็กซ์โป 2020 ที่ สสปน. อยู่ระหว่างดำเนินการนั้น ทางสมาคมแสดงสินค้าไทยเห็นด้วย เพราะความจริงไทมยมีศักยภาพเพียงพอที่จะจัดงานดังกล่าวนี้ได้ แต่ที่ผ่านมาไทยขาดองค์กรที่จะมาเป็นผู้นำที่จะเข้าไปเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
ซึ่งหากไทยประกาศตัวประมูลสิทธิ์จัดงานนี้อย่างเป็นทางกหารเมื่อใด เชื่อว่าจะผลักดันให้อุตสาหกรรมการจัดงานแสดงสินค้าในไทย มีความคึกคักขึ้นภายใน 1-2 ปีนับจากวันที่ได้รับสิทธิ์ โดยเวทีนี้จะเป็นการประกาศศักยภาพประเทศไทย ให้รายชื่อผู้เข้าร่วมประมูลสิทธิ์ ได้รับทราบ ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศไทยด้วย