สัปดาห์หน้า แบงก์ชาติเตรียมออกมาตรการใหม่พร้อมผ่อนคลายเกณฑ์ลงทุนต่างประเทศ หวังบริหารเงินทุนไหลเข้า สกัดบาทแข็งและความผันผวนเงินทุนเคลื่อนย้าย "ธาริษา" ฮึดก่อนเกษียณ สวมบท "ดร.ป๋วย" เป็นห่วงความขัดแย้งในสังคม วอนทุกฝ่ายร่วมมือแก้วิกฤต ชี้ชัด การเมืองถ่วงเศรษฐกิจและชาติ!
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวสุนทรพจน์ประจำปี 53 ในหัวข้อ “ทิศทางนโยบายของ ธปท.และความท้าทายของเศรษฐกิจไทย”คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถฟื้นตัวได้ต่อเนื่องอย่างแข่งแกร่ง โดยคาดว่าทั้งปีนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.3-5.3% ได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายในประเทศและการส่งออก ส่วนอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เป็นเป้าหมายของนโยบายการเงินคาดว่าอยู่ที่ 1.3-2.3%ต่อปี
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยง เช่น การฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศที่มีความผันผวนมากขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะประเทศที่มีการฟื้นตัวเร็วก็จะปรับอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าประเทศที่มีการฟื้นตัวช้า จึงดึงดูดให้มีเงินทุนไหลเข้ามามากเห็นได้ตั้งแต่ปลายปีก่อน ส่วนปัจจัยในประเทศ ความไม่แน่นอนด้านการเมือง กระทบบรรยากาศความเชื่อมั่น มีแต่ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจในสังคม เนื่องจากไม่เคารพกฎกติกาในการหาทางออกร่วมกัน กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจึงทำได้ลำบาก
"ที่ผ่านมาปัญหาการเมืองส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชนให้ต่ำกว่าปกติมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจไม่ไหลลื่น น่าห่วงปัญหาบ้านเมืองและความขัดแย้งในสังคม อาจจะเป็นเรื่องแปลกที่ ธปท.พูดเรื่องการเมือง แต่ในอดีตสมัยอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ทำให้ดูแล้ว ท่านไม่ได้มองเฉพาะบทบาทตามกฎหมายเท่านั้น จึงควรช่วยกันคิดในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ต่างคนต่างทำงาน”
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ในปีนี้ ธปท.จะให้ความสำคัญด้านนโยบาย 3 ด้าน ได้แก่ 1.ธปท.จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้ราบรื่นไม่ให้ส่งผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ ขณะที่นโยบายการคลังควรทยอยลดบทบาทกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาฟองสบู่และอัตราเงินเฟ้อในอนาคต 2.เป็นตัวกลางดูแลสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการกระจายสินเชื่อสู่ธุรกิจเอสเอ็มอี
ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นของโครงการค้ำประกันสินเชื่อกับภาครัฐ ล่าสุดเดือนม.ค.พบว่าให้สินเชื่อไปแล้ว 2.2 หมื่นล้านบาท และคาดว่าในสิ้นเดือนมี.ค.ที่เป็นช่วงวันสิ้นสุดโครงการจะได้ตามเป้าหมาย 3 หมื่นล้านบาท รวมถึงเน้นเรื่องธรรมาภิบาลมากขึ้นผ่านคณะกรรมการชุดต่างๆ
และ3.เตรียมผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้านปริวรรตเงินตราเพิ่มเติม โดยภายในสัปดาห์หน้าจะเริ่มประกาศออกมา ซึ่งก็มีทั้งเรื่องเก่าที่นำมาปรับปรุงใหม่หรือเรื่องใหม่ที่ขยายให้เพิ่มเติม แต่จะเน้นเรื่องเงินทุนไหลออกเป็นสำคัญ เพื่อให้เงินทุนไหลเข้าออกมีความคล่องตัวแก่ภาคธุรกิจหรือผู้ลงทุนมากขึ้น รวมถึงมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
โดยในปีที่ผ่านมา เงินทุนไหลเข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นรายได้ส่งออกสุทธิ 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ เงินที่เข้าตลาดตราสารหนี้ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเข้าในตลาดทุน 1.1 พันเหรียญสหรัฐ และคาดว่าปีนี้รายได้ส่งออกสุทธิน้อยกว่าปีก่อนประมาณ 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนเงินทุนไหลเข้าตลาดตราสารหนี้และตลาดทุนมากขึ้น แต่คงไม่มากเมื่อเทียบกับรายได้สุทธิการส่งออก
ฉะนั้นเงินทุนไหลเข้ามาไทยจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ปัญหาการเมืองไทยภายในประเทศที่เพิ่มเติมกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ปัญหามาบตาพุดที่ยังไม่มีความชัดเจน การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย รวมถึงเรื่องอัตราดอกเบี้ย และขณะนี้ยังไม่เห็นเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทจากการที่ตลาดคาดว่าปลายปีค่าเงินหยวนแข็งค่าทำให้มีเงินทุนเข้ามาพักเก็งกำไรเงินบาทก่อน
“แม้ในปีนี้ต้องเผชิญกับความผันผวนจากกระแสเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก แต่คงไม่ซ้ำรอยเหมือนปี 49 เพราะภาวะแวดล้อมในขณะนี้ต่างกับปี 49 ที่มีเงินทุนไหลเข้ามาเร็ว และการติดตามข่าวสารในการติดตามทิศทางเงินยากกว่าปัจจุบัน โดยปัจจุบันธนาคารพาณิชย์มีการส่งข้อมูลที่รวดเร็วและมีการติดตามใกล้ชิดมากขึ้น ขณะที่ ธปท.เองมีเครื่องมือรวมถึงเปิดเสรีให้เงินทุนไหลออกได้คล่องตัวกว่าปี 49” ผู้ว่า ธปท.กล่าวและย้ำว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณการเกิดภาวะฟองสบู่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งธปท.ก็มีการติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดจากบทเรียนในปี 40 จึงต้องระวังให้มาก โดยหากเริ่มเห็นสัญญาณก็จะรีบแก้ไขปัญหา เพื่อไม่ให้เป็นฟองสบู่ที่โตขึ้น เพราะหากเป็นเช่นนั้นอาจต้องใช้ยาขมหม้อใหม่ที่สร้างความจำเป็นให้แก่ภาคธุรกิจมีมากขึ้น
นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องมีการยกระดับและเสริมความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ เพื่อรองรับโครงสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และศักยภาพในการขยายตัวเศรษฐกิจโลกน้อยกว่าเดิม จึงควรปฏิรูป 3 ด้านสำคัญ คือ 1.ปฏิรูปทางการเงินให้เน้นเรื่องกำกับดูแลความเสี่ยงที่เกิดจากความเชื่อมโยงของระบบสถาบันการเงินกับภาคการเงินอื่นๆ เปิดเสรีการแข่งขันจากต่างประเทศมากขึ้นในอนาคต รวมถึงมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายให้ประชาชนได้เลือก
2.ปฏิรูปทางการคลัง ถือเป็นเส้นเลือดที่สำคัญในการหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ โดยเน้นงบประมาณการลงทุนให้มีมากขึ้นจากปัจจุบัน 80%ของงบประมาณเป็นงบรายจ่ายประจำ ซึ่งได้รับแรงกดดันด้านสังคม การเมืองและภาระด้านสังคมที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงโครงสร้างผู้สูงอายุที่สูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ธปท.สนับนุนนโยบายภาครัฐในการปฏิรูปภาษี เพื่อหารายได้ไปพร้อมๆ กับเพิ่มความแข่งแกร่งฐานะการคลังในที่สุด
3.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งไทยมีจุดอ่อนเรื่องความสามารถเทคโนโลยี คุณภาพการศึกษา และความเข้มแข็งของปัจจัยทางสถาบัน โดยเฉพาะปัญหาคอร์รัปชั่นและเสถียรภาพทางการเมือง โดยไทยควรเร่งพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงลงทุนด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาให้มีมากขึ้น
“การยกระดับเศรษฐกิจไทยให้สามารถยืดหยุ่นอยู่บนเวทีโลกได้อย่างแข่งแกร่งเป็นเรื่องที่ท้าทายและคงประสบความสำเร็จได้ยากหากขาดความร่วมมือร่วมใจกัน ดังนั้น ภารกิจร่วมของคนไทยทุกคนที่จะช่วยกันเสริมสร้างประเทศให้มีความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมซึ่งการร่วมแรงร่วมใจของทุกคนในครั้งนี้เป็นการลงทุนระยะยาวที่จะนำไปสู่ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต”
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวสุนทรพจน์ประจำปี 53 ในหัวข้อ “ทิศทางนโยบายของ ธปท.และความท้าทายของเศรษฐกิจไทย”คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถฟื้นตัวได้ต่อเนื่องอย่างแข่งแกร่ง โดยคาดว่าทั้งปีนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.3-5.3% ได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายในประเทศและการส่งออก ส่วนอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เป็นเป้าหมายของนโยบายการเงินคาดว่าอยู่ที่ 1.3-2.3%ต่อปี
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยง เช่น การฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศที่มีความผันผวนมากขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะประเทศที่มีการฟื้นตัวเร็วก็จะปรับอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าประเทศที่มีการฟื้นตัวช้า จึงดึงดูดให้มีเงินทุนไหลเข้ามามากเห็นได้ตั้งแต่ปลายปีก่อน ส่วนปัจจัยในประเทศ ความไม่แน่นอนด้านการเมือง กระทบบรรยากาศความเชื่อมั่น มีแต่ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจในสังคม เนื่องจากไม่เคารพกฎกติกาในการหาทางออกร่วมกัน กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจึงทำได้ลำบาก
"ที่ผ่านมาปัญหาการเมืองส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชนให้ต่ำกว่าปกติมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจไม่ไหลลื่น น่าห่วงปัญหาบ้านเมืองและความขัดแย้งในสังคม อาจจะเป็นเรื่องแปลกที่ ธปท.พูดเรื่องการเมือง แต่ในอดีตสมัยอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ทำให้ดูแล้ว ท่านไม่ได้มองเฉพาะบทบาทตามกฎหมายเท่านั้น จึงควรช่วยกันคิดในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ต่างคนต่างทำงาน”
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ในปีนี้ ธปท.จะให้ความสำคัญด้านนโยบาย 3 ด้าน ได้แก่ 1.ธปท.จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้ราบรื่นไม่ให้ส่งผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ ขณะที่นโยบายการคลังควรทยอยลดบทบาทกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาฟองสบู่และอัตราเงินเฟ้อในอนาคต 2.เป็นตัวกลางดูแลสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการกระจายสินเชื่อสู่ธุรกิจเอสเอ็มอี
ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นของโครงการค้ำประกันสินเชื่อกับภาครัฐ ล่าสุดเดือนม.ค.พบว่าให้สินเชื่อไปแล้ว 2.2 หมื่นล้านบาท และคาดว่าในสิ้นเดือนมี.ค.ที่เป็นช่วงวันสิ้นสุดโครงการจะได้ตามเป้าหมาย 3 หมื่นล้านบาท รวมถึงเน้นเรื่องธรรมาภิบาลมากขึ้นผ่านคณะกรรมการชุดต่างๆ
และ3.เตรียมผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้านปริวรรตเงินตราเพิ่มเติม โดยภายในสัปดาห์หน้าจะเริ่มประกาศออกมา ซึ่งก็มีทั้งเรื่องเก่าที่นำมาปรับปรุงใหม่หรือเรื่องใหม่ที่ขยายให้เพิ่มเติม แต่จะเน้นเรื่องเงินทุนไหลออกเป็นสำคัญ เพื่อให้เงินทุนไหลเข้าออกมีความคล่องตัวแก่ภาคธุรกิจหรือผู้ลงทุนมากขึ้น รวมถึงมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
โดยในปีที่ผ่านมา เงินทุนไหลเข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นรายได้ส่งออกสุทธิ 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ เงินที่เข้าตลาดตราสารหนี้ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเข้าในตลาดทุน 1.1 พันเหรียญสหรัฐ และคาดว่าปีนี้รายได้ส่งออกสุทธิน้อยกว่าปีก่อนประมาณ 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนเงินทุนไหลเข้าตลาดตราสารหนี้และตลาดทุนมากขึ้น แต่คงไม่มากเมื่อเทียบกับรายได้สุทธิการส่งออก
ฉะนั้นเงินทุนไหลเข้ามาไทยจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ปัญหาการเมืองไทยภายในประเทศที่เพิ่มเติมกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ปัญหามาบตาพุดที่ยังไม่มีความชัดเจน การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย รวมถึงเรื่องอัตราดอกเบี้ย และขณะนี้ยังไม่เห็นเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทจากการที่ตลาดคาดว่าปลายปีค่าเงินหยวนแข็งค่าทำให้มีเงินทุนเข้ามาพักเก็งกำไรเงินบาทก่อน
“แม้ในปีนี้ต้องเผชิญกับความผันผวนจากกระแสเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก แต่คงไม่ซ้ำรอยเหมือนปี 49 เพราะภาวะแวดล้อมในขณะนี้ต่างกับปี 49 ที่มีเงินทุนไหลเข้ามาเร็ว และการติดตามข่าวสารในการติดตามทิศทางเงินยากกว่าปัจจุบัน โดยปัจจุบันธนาคารพาณิชย์มีการส่งข้อมูลที่รวดเร็วและมีการติดตามใกล้ชิดมากขึ้น ขณะที่ ธปท.เองมีเครื่องมือรวมถึงเปิดเสรีให้เงินทุนไหลออกได้คล่องตัวกว่าปี 49” ผู้ว่า ธปท.กล่าวและย้ำว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณการเกิดภาวะฟองสบู่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งธปท.ก็มีการติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดจากบทเรียนในปี 40 จึงต้องระวังให้มาก โดยหากเริ่มเห็นสัญญาณก็จะรีบแก้ไขปัญหา เพื่อไม่ให้เป็นฟองสบู่ที่โตขึ้น เพราะหากเป็นเช่นนั้นอาจต้องใช้ยาขมหม้อใหม่ที่สร้างความจำเป็นให้แก่ภาคธุรกิจมีมากขึ้น
นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องมีการยกระดับและเสริมความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ เพื่อรองรับโครงสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และศักยภาพในการขยายตัวเศรษฐกิจโลกน้อยกว่าเดิม จึงควรปฏิรูป 3 ด้านสำคัญ คือ 1.ปฏิรูปทางการเงินให้เน้นเรื่องกำกับดูแลความเสี่ยงที่เกิดจากความเชื่อมโยงของระบบสถาบันการเงินกับภาคการเงินอื่นๆ เปิดเสรีการแข่งขันจากต่างประเทศมากขึ้นในอนาคต รวมถึงมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายให้ประชาชนได้เลือก
2.ปฏิรูปทางการคลัง ถือเป็นเส้นเลือดที่สำคัญในการหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ โดยเน้นงบประมาณการลงทุนให้มีมากขึ้นจากปัจจุบัน 80%ของงบประมาณเป็นงบรายจ่ายประจำ ซึ่งได้รับแรงกดดันด้านสังคม การเมืองและภาระด้านสังคมที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงโครงสร้างผู้สูงอายุที่สูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ธปท.สนับนุนนโยบายภาครัฐในการปฏิรูปภาษี เพื่อหารายได้ไปพร้อมๆ กับเพิ่มความแข่งแกร่งฐานะการคลังในที่สุด
3.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งไทยมีจุดอ่อนเรื่องความสามารถเทคโนโลยี คุณภาพการศึกษา และความเข้มแข็งของปัจจัยทางสถาบัน โดยเฉพาะปัญหาคอร์รัปชั่นและเสถียรภาพทางการเมือง โดยไทยควรเร่งพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงลงทุนด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาให้มีมากขึ้น
“การยกระดับเศรษฐกิจไทยให้สามารถยืดหยุ่นอยู่บนเวทีโลกได้อย่างแข่งแกร่งเป็นเรื่องที่ท้าทายและคงประสบความสำเร็จได้ยากหากขาดความร่วมมือร่วมใจกัน ดังนั้น ภารกิจร่วมของคนไทยทุกคนที่จะช่วยกันเสริมสร้างประเทศให้มีความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมซึ่งการร่วมแรงร่วมใจของทุกคนในครั้งนี้เป็นการลงทุนระยะยาวที่จะนำไปสู่ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต”