ส.โทรทัศน์ดาวเทียม ล้อมคอกก่อนวัวหาย ตั้ง 2 กรรมการฯ คุมเข้ม “โฆษณา-เรื่องจริยธรรม” หวังช่วยสร้างมาตรฐานทีวีดาวเทียม หลังแห่เปิดช่องทีวีดาวเทียมทุกวัน เอเจนซี่เทใจมาใช้โฆษณามากขึ้น คาดทั้งปีเม็ดเงินโฆษณาแตะ 2,500 ล้านบาท เชื่อใน 3 ปี ล้มเสาก้างปลาหมด
ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯให้ความสำคัญเรื่องของจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นสำคัญ ซึ่งจะนำมาซึ่งการเติบโตที่ดีของธุรกิจทีวีดาวเทียม โดยล่าสุดทางสมาคมฯเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการด้านจริยธรรมจรรยาบรรณขึ้นมา พร้อมทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอันจะนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดทำเป็นตัวบทจรรยาบรรณสำหรับสมาชิกในสมาคมฯที่มีกว่า 45 ช่องในปัจจุบัน
รวมทั้งยังได้จัดตั้งกรรมการขึ้นมาอีกชุดหนี่งดูแลเรื่องของโฆษณาที่ออนแอร์ในช่องรายการต่างๆ ด้วย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเห็นบทบาทตั้งแต่ช่วงเดือนมี.ค.นี้เป็นต้นไป สำหรับหลักการทำงานของกรรมการชุดดูแลเรื่องโฆษณานี้ เบื้องต้นจะเป็นหน่วยงานที่ช่วยสกรีนโฆษณาให้ถูกต้อง มุ่งเน้น 3 เรื่องหลัก คือ 1. ไม่เท็จ 2. ไม่ทำให้เข้าใจผิด และ3. ไม่ผิดกฏหมาย จากที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าโฆษณาที่ออนแอร์บนทีวีดาวเทียมจะควบคุมได้ยาก และเป็นสินค้าที่มีการโฆษณาออกมาอย่างล่อแหลม อย่างเช่น กรณีของป้าเชง กับช่อง ชูเปอร์เชง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมฯ แต่ก็ทำให้เกิดผลกระทบและมีคำถามมายังสมาคมฯมากเช่นกัน
ล่าสุดทางสมาคมฯ ได้จัดมหกรรมโลกไร้เสา STAT EXPO 2010 ขึ้น ระหว่างวันที่ 5-7 ก.พ. 2553 ณ พาร์คพารากอน สยามพารากอน เพื่อต้องการให้สาระความรู้แก่ผู้ชมทราบถึงกระแสของสื่อทีวีดาวเทียมที่กำลังเกิดขึ้น ที่คาดว่าในอีก 3 ปีนี้ การรับชมแบบเสาก้างปลากำลังจะหมดไป การรับชมผ่านจานจะเข้ามาแทนที่อย่างสมบูรณ์
ด้านนายเดียว วรตั้งตระกูล กรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจจีเอ็มเอ็ม บรอดแคสติ้ง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ในนามประชาสัมพันธ์สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) กล่าวต่อว่า ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา พบว่ากระแสการตอบรับในธุรกิจทีวีดาวเทียมเติบโตขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการเปิดตัวช่องรายการ แทบจะเห็นการเปิดตัวใหม่เกือบทุกวัน
การเปิดตัวช่องใหม่นั้น มีทั้งผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการอยู่แล้วกับกลุ่มที่เป็นค่ายใหม่ที่มองเห็นโอกาส ในการเข้ามาลงทุนทำทีวีดาวเทียม ซึ่งการเติบโตของจำนวนช่องที่เกิดขึ้นนี้ เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อฐานผู้ชมตามมา เพราะเมื่อมีคอนเท้นท์ดีๆ การรับชมก็น่าจะมีมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ปีนี้ให้ความสนใจสื่อทีวีดาวเทียมมากขึ้นเช่นกัน เพราะเริ่มเห็นเจ้าของสินค้ารายใหญ่ เรียกให้เจ้าของช่องรายการเข้าไปพูดคุยกันบ้างแล้ว จากเดิมในปีที่ผ่านมาเอเจนซี่โฆษณาและเจ้าของสินค้าแทบไม่มีการใช้เม็ดเงินผ่านธุรกิจทีวีดาวเทียมเลย ดังนั้นจึงเชื่อมั่นว่าสิ้นปีนี้ ภาพรวมอุตสาหกรรมเคเบิลทีวีจะมีเม็ดเงินโฆษณาได้ราว 2,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนที่ 5% จาก เม็ดเงินโฆษณาในฟรีทีวีมูลค่า 50,000 ล้านบาทได้แน่นอน
**จานรับสัญญาณขายดี คาดบูมอีก 1.5 ล้านจาน
นายมานพ โตการค้า ประธานกรรมการ บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด ในนามอุปนายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) กล่าวเสริมว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีช่องรายการที่ปิดตัวไปราว 10 ช่อง ทั้งในกลุ่มของสไมล์ทีวี ส่วนรายใหม่ที่เกิดขึ้น ก็มีอัตราที่น่าสนใจ ขณะที่ในส่วนของจานรับสัญญาณ หรือแพลทฟอร์ทการรับชมทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีขณะนี้มีอยู่ 4 แพลทฟอร์ม คือ จาน IPM, จานDTV,จานเคยูแบนด์ และ จานซีแบนด์
นายพรวุฒิ อมราสิงห์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ผู้จำหน่ายจานรับสัญญาณผ่านดาวเทียม DTV กล่าวว่า ปีนี้ทั้งปีเชื่อว่าจะมีการจำหน่ายจานรับชมทีวีดาวเทียมในทุกแพลทฟอร์มราว 1.2-1.5 ล้านจาน จากปัจจุบัน จานที่รับชมแบบซีแบนด์มีกว่า 2.5 ล้านจาน ส่วนเคยูแบนด์ (รวมทรูวิชั่นส์ ) มีถึง 2 ล้านจาน
ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯให้ความสำคัญเรื่องของจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นสำคัญ ซึ่งจะนำมาซึ่งการเติบโตที่ดีของธุรกิจทีวีดาวเทียม โดยล่าสุดทางสมาคมฯเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการด้านจริยธรรมจรรยาบรรณขึ้นมา พร้อมทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอันจะนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดทำเป็นตัวบทจรรยาบรรณสำหรับสมาชิกในสมาคมฯที่มีกว่า 45 ช่องในปัจจุบัน
รวมทั้งยังได้จัดตั้งกรรมการขึ้นมาอีกชุดหนี่งดูแลเรื่องของโฆษณาที่ออนแอร์ในช่องรายการต่างๆ ด้วย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเห็นบทบาทตั้งแต่ช่วงเดือนมี.ค.นี้เป็นต้นไป สำหรับหลักการทำงานของกรรมการชุดดูแลเรื่องโฆษณานี้ เบื้องต้นจะเป็นหน่วยงานที่ช่วยสกรีนโฆษณาให้ถูกต้อง มุ่งเน้น 3 เรื่องหลัก คือ 1. ไม่เท็จ 2. ไม่ทำให้เข้าใจผิด และ3. ไม่ผิดกฏหมาย จากที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าโฆษณาที่ออนแอร์บนทีวีดาวเทียมจะควบคุมได้ยาก และเป็นสินค้าที่มีการโฆษณาออกมาอย่างล่อแหลม อย่างเช่น กรณีของป้าเชง กับช่อง ชูเปอร์เชง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมฯ แต่ก็ทำให้เกิดผลกระทบและมีคำถามมายังสมาคมฯมากเช่นกัน
ล่าสุดทางสมาคมฯ ได้จัดมหกรรมโลกไร้เสา STAT EXPO 2010 ขึ้น ระหว่างวันที่ 5-7 ก.พ. 2553 ณ พาร์คพารากอน สยามพารากอน เพื่อต้องการให้สาระความรู้แก่ผู้ชมทราบถึงกระแสของสื่อทีวีดาวเทียมที่กำลังเกิดขึ้น ที่คาดว่าในอีก 3 ปีนี้ การรับชมแบบเสาก้างปลากำลังจะหมดไป การรับชมผ่านจานจะเข้ามาแทนที่อย่างสมบูรณ์
ด้านนายเดียว วรตั้งตระกูล กรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจจีเอ็มเอ็ม บรอดแคสติ้ง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ในนามประชาสัมพันธ์สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) กล่าวต่อว่า ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา พบว่ากระแสการตอบรับในธุรกิจทีวีดาวเทียมเติบโตขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการเปิดตัวช่องรายการ แทบจะเห็นการเปิดตัวใหม่เกือบทุกวัน
การเปิดตัวช่องใหม่นั้น มีทั้งผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการอยู่แล้วกับกลุ่มที่เป็นค่ายใหม่ที่มองเห็นโอกาส ในการเข้ามาลงทุนทำทีวีดาวเทียม ซึ่งการเติบโตของจำนวนช่องที่เกิดขึ้นนี้ เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อฐานผู้ชมตามมา เพราะเมื่อมีคอนเท้นท์ดีๆ การรับชมก็น่าจะมีมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ปีนี้ให้ความสนใจสื่อทีวีดาวเทียมมากขึ้นเช่นกัน เพราะเริ่มเห็นเจ้าของสินค้ารายใหญ่ เรียกให้เจ้าของช่องรายการเข้าไปพูดคุยกันบ้างแล้ว จากเดิมในปีที่ผ่านมาเอเจนซี่โฆษณาและเจ้าของสินค้าแทบไม่มีการใช้เม็ดเงินผ่านธุรกิจทีวีดาวเทียมเลย ดังนั้นจึงเชื่อมั่นว่าสิ้นปีนี้ ภาพรวมอุตสาหกรรมเคเบิลทีวีจะมีเม็ดเงินโฆษณาได้ราว 2,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนที่ 5% จาก เม็ดเงินโฆษณาในฟรีทีวีมูลค่า 50,000 ล้านบาทได้แน่นอน
**จานรับสัญญาณขายดี คาดบูมอีก 1.5 ล้านจาน
นายมานพ โตการค้า ประธานกรรมการ บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด ในนามอุปนายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) กล่าวเสริมว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีช่องรายการที่ปิดตัวไปราว 10 ช่อง ทั้งในกลุ่มของสไมล์ทีวี ส่วนรายใหม่ที่เกิดขึ้น ก็มีอัตราที่น่าสนใจ ขณะที่ในส่วนของจานรับสัญญาณ หรือแพลทฟอร์ทการรับชมทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีขณะนี้มีอยู่ 4 แพลทฟอร์ม คือ จาน IPM, จานDTV,จานเคยูแบนด์ และ จานซีแบนด์
นายพรวุฒิ อมราสิงห์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ผู้จำหน่ายจานรับสัญญาณผ่านดาวเทียม DTV กล่าวว่า ปีนี้ทั้งปีเชื่อว่าจะมีการจำหน่ายจานรับชมทีวีดาวเทียมในทุกแพลทฟอร์มราว 1.2-1.5 ล้านจาน จากปัจจุบัน จานที่รับชมแบบซีแบนด์มีกว่า 2.5 ล้านจาน ส่วนเคยูแบนด์ (รวมทรูวิชั่นส์ ) มีถึง 2 ล้านจาน