มีเดียเอเจนซีออกกฏเข้ม คิดค่าธรรมเนียมหรือพิทชิ่งฟีจากลูกค้า 1 แสนบาทต่อครั้งต่อราย หวังแก้ปัญหา การเสนองานแข่งขันซ้ำซากโดยไม่จำเป็นและอุดต้นทุน
นางไพจิตร เทียนทอง นายกสมาคมมีเดียเอเจนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย และนายไตรลุจน์ นวะมะรัตน อุปนายกสมาคมฯ ร่วมกันเปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทเจ้าของสินค้าทำการเรียกมีเดียเอเจนซี่แข่งขันงวางแผนสื่อโฆษณา ซื้อสื่อโฆษณา เป็นจำนวนมาก โดยไม่จำเป็นส่งผลให้มีเดียเอเจนซี่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายค่าเสียเวลาอย่างมาก
ดังนั้น ทางสมาคมฯจึงได้ทำการออกข้อบังคับว่าด้วยการเสนองานวางแผนและซื้อสื่อโฆษณา เพื่อใช้กับสมาชิกของสมาคมฯให้เป็นมาตรฐานเดียวกันให้สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการแข่งขันจากลูกค้าได้ หรือที่เรียกว่า พิทชิ่งฟี (Pitching Fee) จากบริษัทเจ้าของสินค้าเป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท ต่อหนึ่งมีเดียเอเจนซี่ ซึ่งหากเรียกกี่รายก็ต้องจ่ายตามจำนวนนั้น ซึ่งไม่ถือว่ามากเพราะบางครั้งมีเดียเอเจนซี่มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 4-5 แสนบาทด้วยซ้ำไป
โดยหลักการแล้ว เจ้าของสินค้าต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับสมาคมฯก่อนวันที่มีเดียเอเจนซี่เสนองานและเมื่อรายใดได้งานก็จะได้รับเงินคืน ส่วนมีเดียเอเจนซีใดที่ไม่ได้รับคัดเลือกก็จะได้รับค่าธรรมเนียมที่สมาคมฯเรียกเก็บทุกบริษัทในอัตรา 80% ส่วนอีก 20% สมาคมฯจะเก็บไว้เป็นค่าดำเนินการ
“วิธีนี้จะเริ่มเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม 2553 เชื่อว่าจะแก้ปัญหาได้ดีขึ้น ซึ่งที่ผ่านมารายใหญ่ถูกเรียกพิทช์งานมากกว่า 15 ครั้งต่อปี ซึ่งไม่จำเป็น เมื่อก่อนเรียกพิทช์กันครั้งเดียวได้งานและสัญญานานเป็นปี เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เมื่อก่อนนี้ สัญญางานนาน 3 ปีและต่อได้อีก แต่ตอนนี้เรียกพิทช์กันเป็นแคมเปญเลย ซึ่งงานก็สั้นด้วย” นายไตรลุจน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขดังกล่าวยกเว้นกับ หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจที่ผ่านการเป็นมหาชนแล้วแต่ยังไม่ทำการซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้น เช่น ทีโอที แคท (หรือกสท) เป็นต้น ส่วน อสมท หรือ การบินไทย นั้นไม่ได้รับการยกเว้น เพราะจดทะเบียนในตลาดหุ้นแล้ว, บริษัทลูกค้ารายใหญ่ที่มีสินค้าหลายตัวอาจจะใช้เอเจนซี่หลายราย ซึ่งเมื่อมีการพิทช์
เอเจนซี่ทุกรายเดิมที่รับงานอยู่เข้าแข่งขัน เจ้าของสินค้าก็ไม่ต้องจ่าย , การเป็นนโยบายทั่วโลก จากบริษัทแม่ที่เรียกให้พิทช์งาน
ขณะนี้ได้เริ่มทำความเข้าใจกับสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยไปแล้ว ส่วนสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการนัดหารือ ซึ่งจะเป็นตัวกลางในการแจ้งถึงสมาชิกที่เป็นเจ้าของสินค้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งวิธีนี้สร้างความเป็นธรรมให้กับธุรกิจ ซึ่งหากเจ้าของสินค้ารายใดไม่ต้องการจ่ายตรงนี้ ก็สามารถคัดเลือกมีเดียเอเจนซี่ที่เหมาะกับตัวเองได้
โดยพิจารณาจากประวัติและผลงานในลักษณะที่เรียกว่า Credential Presentation โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ปัจจุบันนี้มีบริษัทมีเดียเอเจนซี่ที่ให้บริการวางแผนและซื้อสื่อโฆษณาขนาดใหญ่ประมาณ 20 กว่าราย ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 80% ของมูลค่าการซื้อสื่อโฆษณาทั้งหมด ซึ่งในปี 2551 มีมูลค่าประมาณ 89,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสมาชิกของสมาคมฯตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
นางไพจิตร เทียนทอง นายกสมาคมมีเดียเอเจนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย และนายไตรลุจน์ นวะมะรัตน อุปนายกสมาคมฯ ร่วมกันเปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทเจ้าของสินค้าทำการเรียกมีเดียเอเจนซี่แข่งขันงวางแผนสื่อโฆษณา ซื้อสื่อโฆษณา เป็นจำนวนมาก โดยไม่จำเป็นส่งผลให้มีเดียเอเจนซี่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายค่าเสียเวลาอย่างมาก
ดังนั้น ทางสมาคมฯจึงได้ทำการออกข้อบังคับว่าด้วยการเสนองานวางแผนและซื้อสื่อโฆษณา เพื่อใช้กับสมาชิกของสมาคมฯให้เป็นมาตรฐานเดียวกันให้สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการแข่งขันจากลูกค้าได้ หรือที่เรียกว่า พิทชิ่งฟี (Pitching Fee) จากบริษัทเจ้าของสินค้าเป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท ต่อหนึ่งมีเดียเอเจนซี่ ซึ่งหากเรียกกี่รายก็ต้องจ่ายตามจำนวนนั้น ซึ่งไม่ถือว่ามากเพราะบางครั้งมีเดียเอเจนซี่มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 4-5 แสนบาทด้วยซ้ำไป
โดยหลักการแล้ว เจ้าของสินค้าต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับสมาคมฯก่อนวันที่มีเดียเอเจนซี่เสนองานและเมื่อรายใดได้งานก็จะได้รับเงินคืน ส่วนมีเดียเอเจนซีใดที่ไม่ได้รับคัดเลือกก็จะได้รับค่าธรรมเนียมที่สมาคมฯเรียกเก็บทุกบริษัทในอัตรา 80% ส่วนอีก 20% สมาคมฯจะเก็บไว้เป็นค่าดำเนินการ
“วิธีนี้จะเริ่มเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม 2553 เชื่อว่าจะแก้ปัญหาได้ดีขึ้น ซึ่งที่ผ่านมารายใหญ่ถูกเรียกพิทช์งานมากกว่า 15 ครั้งต่อปี ซึ่งไม่จำเป็น เมื่อก่อนเรียกพิทช์กันครั้งเดียวได้งานและสัญญานานเป็นปี เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เมื่อก่อนนี้ สัญญางานนาน 3 ปีและต่อได้อีก แต่ตอนนี้เรียกพิทช์กันเป็นแคมเปญเลย ซึ่งงานก็สั้นด้วย” นายไตรลุจน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขดังกล่าวยกเว้นกับ หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจที่ผ่านการเป็นมหาชนแล้วแต่ยังไม่ทำการซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้น เช่น ทีโอที แคท (หรือกสท) เป็นต้น ส่วน อสมท หรือ การบินไทย นั้นไม่ได้รับการยกเว้น เพราะจดทะเบียนในตลาดหุ้นแล้ว, บริษัทลูกค้ารายใหญ่ที่มีสินค้าหลายตัวอาจจะใช้เอเจนซี่หลายราย ซึ่งเมื่อมีการพิทช์
เอเจนซี่ทุกรายเดิมที่รับงานอยู่เข้าแข่งขัน เจ้าของสินค้าก็ไม่ต้องจ่าย , การเป็นนโยบายทั่วโลก จากบริษัทแม่ที่เรียกให้พิทช์งาน
ขณะนี้ได้เริ่มทำความเข้าใจกับสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยไปแล้ว ส่วนสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการนัดหารือ ซึ่งจะเป็นตัวกลางในการแจ้งถึงสมาชิกที่เป็นเจ้าของสินค้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งวิธีนี้สร้างความเป็นธรรมให้กับธุรกิจ ซึ่งหากเจ้าของสินค้ารายใดไม่ต้องการจ่ายตรงนี้ ก็สามารถคัดเลือกมีเดียเอเจนซี่ที่เหมาะกับตัวเองได้
โดยพิจารณาจากประวัติและผลงานในลักษณะที่เรียกว่า Credential Presentation โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ปัจจุบันนี้มีบริษัทมีเดียเอเจนซี่ที่ให้บริการวางแผนและซื้อสื่อโฆษณาขนาดใหญ่ประมาณ 20 กว่าราย ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 80% ของมูลค่าการซื้อสื่อโฆษณาทั้งหมด ซึ่งในปี 2551 มีมูลค่าประมาณ 89,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสมาชิกของสมาคมฯตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา