คณะกรรมการตรวจสอบอีลิทการ์ด พบอีก 1 โครงการไม่โปร่งใสยุค “สรจักร” จ้างด้วยวาจาให้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ยูเอสเอ ทูเดย์ ของอเมริกา แล้วไม่จ่าย โดนฟ้องเรียกค่าเสียหาย กว่า 1.7 ล้านบาท เตรียมขยายผลเพิ่ม ขณะที่บอร์ดทีพีซี กินเงินเก่า ผ่านงบบริษัทปี 53 วงเงิน 174 ล้านบาท ไว้คอยให้บริการเศรษฐีเข้ามาตีกอล์ฟ ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 10%
นางสาวเมธาวี ตันวัฒนะพงษ์ รักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด(ทีพีซี) ผู้ดำเนินโครงการบัตรไทยแลนด์ อีลิท การ์ด เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)ทีพีซีว่า จากการตรวจสอบเพิ่มเติม ล่าสุดพบ โครงการว่าจ้างบริษัทตัวแทนโฆษณา(เอเจ้นท์) เพื่อลงโฆษณาอีลิทการ์ดในหนังสือพิมพ์ ยูเอสเอ ทูเดย์ประเทศสหรัฐอเมริกา
เบื้องต้นพบว่าทีพีซีโดยผู้บริหารในขณะนั้นได้ดำเนินการว่าจ้างด้วยวาจา แต่ภายหลังทีพีซีขอยกเลิกสัญญากับเอเจ้นท์รายดังกล่าว เพื่อให้เอเจ้นท์ไปดำเนินการบอกเลิกสัญญากับบริษัท ยูไนเต็ด เวิล์ด ซึ่งรับผิดชอบขายพื้นที่โฆษณาของหนังสือพิมพ์ยูเอสเอ ทูเดย์ โดยการบอกเลิกครั้งนี้ไม่สามารถทำได้ เพราะ ยูไนเต็ดเวิลด์ไม่ยินยอมให้ยกเลิกด้วยเหตุผลว่าเลยระยะเวลากำหนดบอกยกเลิกไปแล้ว ซึ่งมีระบุไว้ในเอกสารสัญญาที่เอเจ้นท์ทำไว้กับยูไนเต็ดเวิลด์ ซึ่งเรื่องนี้ได้แต่งตั้งนายอุดม เมธาธำรงค์ศิริ ที่ปรึกษาระดับ 10 และรักษาการรองผู้ว่าการด้านบริหาร ททท. เป็นหัวหน้าคณะกรรมการตรวจสอบ ไปดำเนินการตรวจรายละเอียดเพิ่มเติม
***พบอีก1โครงการฟ้องเรียกเงิน 1.7 ลบ.***
จากกรณีดังกล่าวทำให้เปิดเป็นข้อพิพาทจนถึงทุกวันนี้ ด้วยยอดเงินค่าโฆษณาที่ทีพีซีต้องจ่ายทั้งสิ้น 52,600 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ หรือราว 1,735,800 บาท ส่วนผู้สั่งการด้วยวาจา คือนายสรจักร เกษมสุวรรณ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดทีพีซี
“ในการเจรจาว่าจ้างครั้งนั้นเป็นการพูดด้วยวาจาว่า ทีพีซีต้องการให้เอเจ้นท์ไปจ้างให้บริษัทยูไนเต็ดลงโฆษณาในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 โดยเอเจ้นท์ผู้รับงานนี้ไปได้ทำสัญญากับบริษัทดังกล่าวไว้ตั้งแต่ 4 พฤศจิกายน 2551ขณะที่กับทีพีซีนั้นเอเจ้นท์ไม่ได้ทำสัญญาอะไรไว้ แต่ในทางปฎิบัติ หนังสือพิมพ์ ยูเอาเอ ทูเดย์ กลับลงโฆษณาให้ในวันที่ 15 ตุลาคม 2552ซึ่งไม่ตรงกับวันที่ทีพีซีต้องการ เนื้อหาที่ลงก็ไม่อัพเดทเป็นปัจจุบัน แต่กลับลงเป็นบทสัมภาษณ์นายสรจักร ซึ่งในวันที่ลงตีพิมพ์นั้นได้ลาออกจากตำแหน่งประธานบอร์ดทีพีซีไปนานแล้ว” นางสาวเมธาวี กล่าว
***ผ่านงบ 174 ลบ.ให้เศรษฐีตีกอล์ฟ***
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมบอร์ดครั้งนี้ ได้พิจาณาเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณประจำปี 2553 ตามที่ทีพีซียื่นเสนอ รวมวงเงิน 174 ล้านบาท ลดลง 32 ล้านบาท จากปี 2552 ที่ได้รับ 206 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่จัดสรรมานี้เป็นเงินจากกระแสเงินสดของทีพีซี ที่ ณ วันที่ 31 ต.ค. 52 คงเหลืออยู่ 317 ล้านบาท โดยการตั้งงบประมาณประจำปี ก็เพื่อเป็นไปตามระเบียบการดำเนินงานของบริษัท แต่ก็ยังไม่มีแผนงานแน่นอนว่าจะนำงบประมาณที่ตั้งไว้นี้ไปใช้ดำเนินงานในลักษณะใด โดยการทำงานในปีงบประมาณ 2553 ได้ระบุว่าให้แต่ละฝ่ายงานเสนอของบประมาณ พร้อมรายละเอียดโครงการมาเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาทั้งหมด
นางสาวเมธาวี กล่าวว่า ในปี 2553 คาดว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายเพื่อให้บริการแก่สมาชิก โดยคาดว่าจะมีสมาชิกเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ราว 10% ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้น นักท่องเที่ยวก็ต้องเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งประเมินว่าปี 2553 จะมีสมาชิกใช้บริการกอล์ฟราว 13,000 ครั้ง เพิ่มจากปีนี้ที่ใช้บริการราว 12,000 ครั้ง
***ร่างทีโออาร์เสร็จกลางเดือนนี้****
ด้านความคืบหน้าการร่างเงื่อนไขเปิดประมูลขายกิจการ(ทีโออาร์) ทีพีซีอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลบริษัทส่งให้แก่ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสัมคมแห่งชาติ(สศช.) และกระทรวงการคลัง คาดว่าการจัดทำทีโออาร์จะแล้วเสร็จ 17 ธ.ค.ศกนี้ โดยจะทราบว่า ทีพีซีมีทรัพย์สินทั้งหมดเหลืออยู่เท่าใด และ จะโอนกันอย่างไร จะต้องชำระบัญชีอย่างไร เป็นต้น โดยทีพีซีต้องเตรียมความพร้อมทั้ง 2 แนวทาง ตามที่ ครม. ระบุไว้ คือ ขายกิจการ และ โอนกิจการให้ ททท.
สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบคุณสมบัติสมาชิกอีลิทการ์ด ล่าสุด คณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมายอยู่ระหว่างกำหนดแนวทางเพื่อดำเนินการกับผู้ที่ขาดคุณสมบัติ โดยขณะนี้ ตรวจพบผู้ที่ขาดคุณสมบัติแล้ว 6 ราย จากทั้งหมด 795 ราย โดย 6 รายดังกล่าว พบว่ามีถิ่นพำนักถาวรในประเทศไทย ส่วนสมาชิกที่เข้าข่ายขาดคุณสมบัติ อยู่ระหว่างรอคำตอบกลับจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย เพื่อตรวจสอบถิ่นพำนัก
สำหรับคุณสมบัติต้องห้าม 6 ข้อหลักของผู้ที่จะถือบัตรไทยแลนด์ อีลิท การ์ด ได้แก่ 1. ต้องไม่ใช่บุคคลที่ถือสัญชาติไทย ไม่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศ 2. ไม่เคยถูกตัดสินโทษจำคุก 3. ไม่เคยถูกสั่งให้เป็นคนล้มละลาย 4. เป็นบุคลลที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ 5. ต้องอยู่ในประเทศไทย ภายใต้กฎหมายไทยได้ และ 6. หากเป็นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีจะต้องอยู่ภายใต้การรับรองของผู้ปกครอง หากพบว่า สมาชิกที่ขาดคุณสมบัติในข้อใดข้อหนึ่ง เป็นเพราะความพบพร่องในการตรวจสอบของบริษัทเอง ก็จะเจรจากับสมาชิกขอคืนเงินให้บางส่วนและยกเลิกให้บริการ
นางสาวเมธาวี ตันวัฒนะพงษ์ รักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด(ทีพีซี) ผู้ดำเนินโครงการบัตรไทยแลนด์ อีลิท การ์ด เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)ทีพีซีว่า จากการตรวจสอบเพิ่มเติม ล่าสุดพบ โครงการว่าจ้างบริษัทตัวแทนโฆษณา(เอเจ้นท์) เพื่อลงโฆษณาอีลิทการ์ดในหนังสือพิมพ์ ยูเอสเอ ทูเดย์ประเทศสหรัฐอเมริกา
เบื้องต้นพบว่าทีพีซีโดยผู้บริหารในขณะนั้นได้ดำเนินการว่าจ้างด้วยวาจา แต่ภายหลังทีพีซีขอยกเลิกสัญญากับเอเจ้นท์รายดังกล่าว เพื่อให้เอเจ้นท์ไปดำเนินการบอกเลิกสัญญากับบริษัท ยูไนเต็ด เวิล์ด ซึ่งรับผิดชอบขายพื้นที่โฆษณาของหนังสือพิมพ์ยูเอสเอ ทูเดย์ โดยการบอกเลิกครั้งนี้ไม่สามารถทำได้ เพราะ ยูไนเต็ดเวิลด์ไม่ยินยอมให้ยกเลิกด้วยเหตุผลว่าเลยระยะเวลากำหนดบอกยกเลิกไปแล้ว ซึ่งมีระบุไว้ในเอกสารสัญญาที่เอเจ้นท์ทำไว้กับยูไนเต็ดเวิลด์ ซึ่งเรื่องนี้ได้แต่งตั้งนายอุดม เมธาธำรงค์ศิริ ที่ปรึกษาระดับ 10 และรักษาการรองผู้ว่าการด้านบริหาร ททท. เป็นหัวหน้าคณะกรรมการตรวจสอบ ไปดำเนินการตรวจรายละเอียดเพิ่มเติม
***พบอีก1โครงการฟ้องเรียกเงิน 1.7 ลบ.***
จากกรณีดังกล่าวทำให้เปิดเป็นข้อพิพาทจนถึงทุกวันนี้ ด้วยยอดเงินค่าโฆษณาที่ทีพีซีต้องจ่ายทั้งสิ้น 52,600 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ หรือราว 1,735,800 บาท ส่วนผู้สั่งการด้วยวาจา คือนายสรจักร เกษมสุวรรณ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดทีพีซี
“ในการเจรจาว่าจ้างครั้งนั้นเป็นการพูดด้วยวาจาว่า ทีพีซีต้องการให้เอเจ้นท์ไปจ้างให้บริษัทยูไนเต็ดลงโฆษณาในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 โดยเอเจ้นท์ผู้รับงานนี้ไปได้ทำสัญญากับบริษัทดังกล่าวไว้ตั้งแต่ 4 พฤศจิกายน 2551ขณะที่กับทีพีซีนั้นเอเจ้นท์ไม่ได้ทำสัญญาอะไรไว้ แต่ในทางปฎิบัติ หนังสือพิมพ์ ยูเอาเอ ทูเดย์ กลับลงโฆษณาให้ในวันที่ 15 ตุลาคม 2552ซึ่งไม่ตรงกับวันที่ทีพีซีต้องการ เนื้อหาที่ลงก็ไม่อัพเดทเป็นปัจจุบัน แต่กลับลงเป็นบทสัมภาษณ์นายสรจักร ซึ่งในวันที่ลงตีพิมพ์นั้นได้ลาออกจากตำแหน่งประธานบอร์ดทีพีซีไปนานแล้ว” นางสาวเมธาวี กล่าว
***ผ่านงบ 174 ลบ.ให้เศรษฐีตีกอล์ฟ***
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมบอร์ดครั้งนี้ ได้พิจาณาเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณประจำปี 2553 ตามที่ทีพีซียื่นเสนอ รวมวงเงิน 174 ล้านบาท ลดลง 32 ล้านบาท จากปี 2552 ที่ได้รับ 206 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่จัดสรรมานี้เป็นเงินจากกระแสเงินสดของทีพีซี ที่ ณ วันที่ 31 ต.ค. 52 คงเหลืออยู่ 317 ล้านบาท โดยการตั้งงบประมาณประจำปี ก็เพื่อเป็นไปตามระเบียบการดำเนินงานของบริษัท แต่ก็ยังไม่มีแผนงานแน่นอนว่าจะนำงบประมาณที่ตั้งไว้นี้ไปใช้ดำเนินงานในลักษณะใด โดยการทำงานในปีงบประมาณ 2553 ได้ระบุว่าให้แต่ละฝ่ายงานเสนอของบประมาณ พร้อมรายละเอียดโครงการมาเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาทั้งหมด
นางสาวเมธาวี กล่าวว่า ในปี 2553 คาดว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายเพื่อให้บริการแก่สมาชิก โดยคาดว่าจะมีสมาชิกเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ราว 10% ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้น นักท่องเที่ยวก็ต้องเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งประเมินว่าปี 2553 จะมีสมาชิกใช้บริการกอล์ฟราว 13,000 ครั้ง เพิ่มจากปีนี้ที่ใช้บริการราว 12,000 ครั้ง
***ร่างทีโออาร์เสร็จกลางเดือนนี้****
ด้านความคืบหน้าการร่างเงื่อนไขเปิดประมูลขายกิจการ(ทีโออาร์) ทีพีซีอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลบริษัทส่งให้แก่ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสัมคมแห่งชาติ(สศช.) และกระทรวงการคลัง คาดว่าการจัดทำทีโออาร์จะแล้วเสร็จ 17 ธ.ค.ศกนี้ โดยจะทราบว่า ทีพีซีมีทรัพย์สินทั้งหมดเหลืออยู่เท่าใด และ จะโอนกันอย่างไร จะต้องชำระบัญชีอย่างไร เป็นต้น โดยทีพีซีต้องเตรียมความพร้อมทั้ง 2 แนวทาง ตามที่ ครม. ระบุไว้ คือ ขายกิจการ และ โอนกิจการให้ ททท.
สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบคุณสมบัติสมาชิกอีลิทการ์ด ล่าสุด คณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมายอยู่ระหว่างกำหนดแนวทางเพื่อดำเนินการกับผู้ที่ขาดคุณสมบัติ โดยขณะนี้ ตรวจพบผู้ที่ขาดคุณสมบัติแล้ว 6 ราย จากทั้งหมด 795 ราย โดย 6 รายดังกล่าว พบว่ามีถิ่นพำนักถาวรในประเทศไทย ส่วนสมาชิกที่เข้าข่ายขาดคุณสมบัติ อยู่ระหว่างรอคำตอบกลับจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย เพื่อตรวจสอบถิ่นพำนัก
สำหรับคุณสมบัติต้องห้าม 6 ข้อหลักของผู้ที่จะถือบัตรไทยแลนด์ อีลิท การ์ด ได้แก่ 1. ต้องไม่ใช่บุคคลที่ถือสัญชาติไทย ไม่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศ 2. ไม่เคยถูกตัดสินโทษจำคุก 3. ไม่เคยถูกสั่งให้เป็นคนล้มละลาย 4. เป็นบุคลลที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ 5. ต้องอยู่ในประเทศไทย ภายใต้กฎหมายไทยได้ และ 6. หากเป็นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีจะต้องอยู่ภายใต้การรับรองของผู้ปกครอง หากพบว่า สมาชิกที่ขาดคุณสมบัติในข้อใดข้อหนึ่ง เป็นเพราะความพบพร่องในการตรวจสอบของบริษัทเอง ก็จะเจรจากับสมาชิกขอคืนเงินให้บางส่วนและยกเลิกให้บริการ