เชฟรอนมั่นขายปั๊มคาลเท็กซ์ที่ลงทุนเอง (Company Owner) ทั้งหมดได้ภายในปีหน้า หลังขายออกไปแล้วเหลืออยู่ 10 กว่าแห่ง โดยเปิดโอกาสนักลงทุนท้องถิ่นเข้ามาเป็นเจ้าของแทน เมินขายน้ำมันE20และNGV อ้างข้อจำกัดถังใต้ดินและจำนวนรถเติมE20 น้อย โอดค่าการตลาดต่ำ กระทุ้งรัฐช่วยดูแล
นายอภิวัฒน์ อัคนิทัต ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายองค์กรและรัฐสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอน(ไทย)จำกัด เปิดเผยว่า จากนโยบายที่จะไม่ลงทุนทำสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์เป็นของตนเอง(Company Owner) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมองว่าธุรกิจค้าปลีกน้ำมันอยู่ในช่วงขาลง ทำให้ปัจจุบันจำนวนสถานีบริการน้ำมันที่เป็นของบริษัทฯเองลดลงเหลืออยู่ 10กว่าแห่งจากจำนวนสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ทั้งหมด 420 แห่งทั่วประเทศ คาดว่าจะดำเนินการขายสถานีบริการน้ำมันได้ทั้งหมดภายในปีหน้า ส่งผลให้อนาคตบริษัทฯในฐานะผู้ค้าปลีกน้ำมันที่ไม่มีสถานีบริการน้ำมันเป็นของตนเอง แต่จะใช้วิธีส่งเสริมให้นักลงทุนท้องถิ่นเข้ามาเป็นเจ้าของสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์มากขึ้นในรูปการสร้างปั๊มใหม่หรือซื้อปั๊มของบริษัทฯเองไปบริหารงานต่อ โดยให้ผลตอบแทนการลงทุนในอัตราส่วนที่สูงกว่าปั๊มคู่แข่งอยู่ที่ 80 สตางค์/ลิตร ส่งผลให้แต่ละปีมีสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์เพิ่มขึ้น 20 แห่งแต่ก็มีการปิดปั๊มไปบ้างในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ทำให้ปัจจุบันคาลเท็กซ์มีปั๊มน้ำมันทั้งประเทศ 420 แห่งมีส่วนแบ่งการตลาดค้าปลีกน้ำมัน 10-11%
" ในการลงทุนสร้างปั๊มน้ำมันมาตรฐานจะใช้เงินลงทุนประมาณ 5-10 ล้านบาทไม่รวมค่าที่ดิน โดยบริษัทฯจะใช้วิธีให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าเป็นพิเศษที่80 สตางค์/ลิตร การทำโฆษณา เพื่อดึงนักลงทุนมาเป็นเจ้าของปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์แทนที่บริษัทฯจะลงทุนเอง หากนักลงทุนต้องการเข้าถึงแหล่งเงินกู้บริษัทฯจะจัดหาแหล่งเงินกู้เพื่อสนับสนุนด้วย ซึ่งปั๊มน้ำมันที่จะอยู่รอดได้ต้องมียอดขายเดือนละ 3-5 แสนลิตร สำหรับปั๊มที่บริษัทเป็นเจ้าของรวมถึงที่ดินก็จะมีการขายเปลี่ยนมือไป คาดว่าแล้วเสร็จปีหน้า"
นายอภิวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ที่ 1.20 บาท/ลิตร ซึ่งมองว่าเป็นอัตราที่ยังต่ำอยู่ โดยค่าการตลาดที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 1.80- 2บาท/ลิตร จึงอยากให้หน่วยงานรัฐเข้ามาดูแลในเรื่องนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ทั้งนี้ปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์ดำเนินธุรกิจในไทย 61ปี มีการใส่เงินลงทุนธุรกิจน้ำมันจำนวนมาก แต่เนื่องจากบริษัทฯไม่มีนโยบายลงทุนทำสถานีบริการใหม่ของตนเองเพิ่มขึ้น ทำให้งบลงทุนในแต่ละปีไม่สูงมากประมาณ 100 กว่าล้านบาท เน้นการทำตลาดน้ำมันเครื่องและน้ำมันใส
ทั้งนี้ บริษัทฯไม่มีแผนจำหน่ายน้ำมันE20 และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV)แม้ว่ารัฐบาลจะให้การส่งเสริม เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านถังเก็บน้ำมันใต้ดิน และรถยนต์ที่เติมE20 ยังมีจำนวนน้อย ทำให้สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ส่วนใหญ่จะขายน้ำมันดีเซล (บี2) ไบโอดีเซล(บี5) แก๊สโซฮอล์ และเบนซิน 95 เท่านั้น ขณะที่NGV ไม่สนใจที่ดำเนินธุรกิจนี้ เพราะคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย และต้องจัดการจราจาในปั๊มเพื่อไม่ให้ติดขัด
นายอภิวัฒน์ อัคนิทัต ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายองค์กรและรัฐสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอน(ไทย)จำกัด เปิดเผยว่า จากนโยบายที่จะไม่ลงทุนทำสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์เป็นของตนเอง(Company Owner) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมองว่าธุรกิจค้าปลีกน้ำมันอยู่ในช่วงขาลง ทำให้ปัจจุบันจำนวนสถานีบริการน้ำมันที่เป็นของบริษัทฯเองลดลงเหลืออยู่ 10กว่าแห่งจากจำนวนสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ทั้งหมด 420 แห่งทั่วประเทศ คาดว่าจะดำเนินการขายสถานีบริการน้ำมันได้ทั้งหมดภายในปีหน้า ส่งผลให้อนาคตบริษัทฯในฐานะผู้ค้าปลีกน้ำมันที่ไม่มีสถานีบริการน้ำมันเป็นของตนเอง แต่จะใช้วิธีส่งเสริมให้นักลงทุนท้องถิ่นเข้ามาเป็นเจ้าของสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์มากขึ้นในรูปการสร้างปั๊มใหม่หรือซื้อปั๊มของบริษัทฯเองไปบริหารงานต่อ โดยให้ผลตอบแทนการลงทุนในอัตราส่วนที่สูงกว่าปั๊มคู่แข่งอยู่ที่ 80 สตางค์/ลิตร ส่งผลให้แต่ละปีมีสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์เพิ่มขึ้น 20 แห่งแต่ก็มีการปิดปั๊มไปบ้างในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ทำให้ปัจจุบันคาลเท็กซ์มีปั๊มน้ำมันทั้งประเทศ 420 แห่งมีส่วนแบ่งการตลาดค้าปลีกน้ำมัน 10-11%
" ในการลงทุนสร้างปั๊มน้ำมันมาตรฐานจะใช้เงินลงทุนประมาณ 5-10 ล้านบาทไม่รวมค่าที่ดิน โดยบริษัทฯจะใช้วิธีให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าเป็นพิเศษที่80 สตางค์/ลิตร การทำโฆษณา เพื่อดึงนักลงทุนมาเป็นเจ้าของปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์แทนที่บริษัทฯจะลงทุนเอง หากนักลงทุนต้องการเข้าถึงแหล่งเงินกู้บริษัทฯจะจัดหาแหล่งเงินกู้เพื่อสนับสนุนด้วย ซึ่งปั๊มน้ำมันที่จะอยู่รอดได้ต้องมียอดขายเดือนละ 3-5 แสนลิตร สำหรับปั๊มที่บริษัทเป็นเจ้าของรวมถึงที่ดินก็จะมีการขายเปลี่ยนมือไป คาดว่าแล้วเสร็จปีหน้า"
นายอภิวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ที่ 1.20 บาท/ลิตร ซึ่งมองว่าเป็นอัตราที่ยังต่ำอยู่ โดยค่าการตลาดที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 1.80- 2บาท/ลิตร จึงอยากให้หน่วยงานรัฐเข้ามาดูแลในเรื่องนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ทั้งนี้ปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์ดำเนินธุรกิจในไทย 61ปี มีการใส่เงินลงทุนธุรกิจน้ำมันจำนวนมาก แต่เนื่องจากบริษัทฯไม่มีนโยบายลงทุนทำสถานีบริการใหม่ของตนเองเพิ่มขึ้น ทำให้งบลงทุนในแต่ละปีไม่สูงมากประมาณ 100 กว่าล้านบาท เน้นการทำตลาดน้ำมันเครื่องและน้ำมันใส
ทั้งนี้ บริษัทฯไม่มีแผนจำหน่ายน้ำมันE20 และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV)แม้ว่ารัฐบาลจะให้การส่งเสริม เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านถังเก็บน้ำมันใต้ดิน และรถยนต์ที่เติมE20 ยังมีจำนวนน้อย ทำให้สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ส่วนใหญ่จะขายน้ำมันดีเซล (บี2) ไบโอดีเซล(บี5) แก๊สโซฮอล์ และเบนซิน 95 เท่านั้น ขณะที่NGV ไม่สนใจที่ดำเนินธุรกิจนี้ เพราะคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย และต้องจัดการจราจาในปั๊มเพื่อไม่ให้ติดขัด