ตลาดโฆษณา 10 เดือนแรกปี 2552 ยังติดลบ 1.46% เผย ยูนิลีเวอร์หว่านงบกว่า 4,271 ล้านบาท แซงหน้าพีแอนด์จีไม่เห็นฝุ่น ชี้ตุลาคมเดือนเดียวตลาดรวมพุ่ง 7%
รายงานข่าวจาก บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า ตลาดโฆษณาโดยรวมเดือนตุลาคม 2552 มีมูลค่า 8,317 ล้านบาท เติบโต 7% จากเดือนดียวกันปี 2551 ที่มีมูลค่า 7,772 ล้านบาท โดยสื่อหลักอย่าง ทีวี มีมูลค่า 4,991 ล้านบาท เติบโต 11.53% จากเดิมที่มีมูลค่า 4,475 ล้านบาท สื่อวิทยุมีมูลค่า 567 ล้านบาท ตกลง 7% จากเดิมที่มีมูลค่า 611 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มีมูลค่า 1,287 ล้านบาท เติบโต 0.75% จากเดิมที่มี 1,277 ล้านบาท สื่อนิตยสาร มีมูลค่า 440 ล้านบาท ลดลง 22.54% จากเดิมที่มี 568 ล้านบาท
ส่วนช่วง 10 เดือนแรกปี 2552 เทียบกับปี 2551 พบว่า 10 เดือนแรกปีนี้ตลาดรวมโฆษณามีมูลค่ารวม 73,422 ล้านบาท ลดลง 1.46% จากช่วงเดียวกันปี 2551 ที่มีมูลค่า 74,512 ล้านบาท โดยสื่อทีวีมีมูลค่า 43,236 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.83% จากเดิมที่มี 42,458 ล้านบาท สื่อวิทยุมีมูลค่า 5,052 ล้านบาท ลดลง 12.18% จากเดิมที่มี 5,753 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มีมูลค่า 11,283 ล้าบาท ลดลง 10.10% จากเดิมที่มี 12,550 ล้านบาท สื่อนิตยสารมีมูลค่า 4,356 ล้านบาท ลดลง 11.93% จากเดิมที่มี 4,946 ล้านบาท
ขณะที่ 3 บริษัทแรกที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุด ในเดือนตุลาคม ปี 2552 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2551 คือ 1.ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 556 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 274 ล้านบาท 2.พีแอนด์จี ใช้งบ 233 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 185 ล้านบาท 3.ลอรีอัล ใช้งบ 151 ล้านบาท ใกล้เคียงกับของเดิม
สำหรับ 3 อันดับที่ใช้งบโฆษณาสูสุดในช่วง 10 เดือนแรกปี 2552 เทียบปี 2551 คือ 1.ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 4,271 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 3,729 ล้านบาท 2.พีแอนด์จี ใช้งบ 1,480 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 1,417 ล้านบาท 3.ไบเออร์สดร๊อฟ ใช้งบ 1,430 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 898 ล้านบาท
โดยแบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด 3 อันดับแรกในเดือนตุลาคมปี 2552 เทียบปี 2551 คือ 1.โค้ก ใช้งบ 93 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 68 ล้านบาท 2.ไทยประกันชีวิต ใช้งบ 88 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 6 ล้านบาท 3.แฮปปี้โมบายโฟน ใช้งบ 72 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 70 ล้านบาท
ส่วน 3 อันดับแบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดช่วง 10 เดือนแรกปี 2552 เทียบ ปี 2551 พบว่า 1.โค้ก ใช้งบ 606 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 394 ล้านบาท 2.เอไอเอส ใช้งบ 532 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 239 ล้านบาท 3.แฮปปี้โมบายโฟน ใช้งบ 526 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 489 ล้านบาท
รายงานข่าวจาก บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า ตลาดโฆษณาโดยรวมเดือนตุลาคม 2552 มีมูลค่า 8,317 ล้านบาท เติบโต 7% จากเดือนดียวกันปี 2551 ที่มีมูลค่า 7,772 ล้านบาท โดยสื่อหลักอย่าง ทีวี มีมูลค่า 4,991 ล้านบาท เติบโต 11.53% จากเดิมที่มีมูลค่า 4,475 ล้านบาท สื่อวิทยุมีมูลค่า 567 ล้านบาท ตกลง 7% จากเดิมที่มีมูลค่า 611 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มีมูลค่า 1,287 ล้านบาท เติบโต 0.75% จากเดิมที่มี 1,277 ล้านบาท สื่อนิตยสาร มีมูลค่า 440 ล้านบาท ลดลง 22.54% จากเดิมที่มี 568 ล้านบาท
ส่วนช่วง 10 เดือนแรกปี 2552 เทียบกับปี 2551 พบว่า 10 เดือนแรกปีนี้ตลาดรวมโฆษณามีมูลค่ารวม 73,422 ล้านบาท ลดลง 1.46% จากช่วงเดียวกันปี 2551 ที่มีมูลค่า 74,512 ล้านบาท โดยสื่อทีวีมีมูลค่า 43,236 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.83% จากเดิมที่มี 42,458 ล้านบาท สื่อวิทยุมีมูลค่า 5,052 ล้านบาท ลดลง 12.18% จากเดิมที่มี 5,753 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มีมูลค่า 11,283 ล้าบาท ลดลง 10.10% จากเดิมที่มี 12,550 ล้านบาท สื่อนิตยสารมีมูลค่า 4,356 ล้านบาท ลดลง 11.93% จากเดิมที่มี 4,946 ล้านบาท
ขณะที่ 3 บริษัทแรกที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุด ในเดือนตุลาคม ปี 2552 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2551 คือ 1.ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 556 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 274 ล้านบาท 2.พีแอนด์จี ใช้งบ 233 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 185 ล้านบาท 3.ลอรีอัล ใช้งบ 151 ล้านบาท ใกล้เคียงกับของเดิม
สำหรับ 3 อันดับที่ใช้งบโฆษณาสูสุดในช่วง 10 เดือนแรกปี 2552 เทียบปี 2551 คือ 1.ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 4,271 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 3,729 ล้านบาท 2.พีแอนด์จี ใช้งบ 1,480 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 1,417 ล้านบาท 3.ไบเออร์สดร๊อฟ ใช้งบ 1,430 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 898 ล้านบาท
โดยแบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด 3 อันดับแรกในเดือนตุลาคมปี 2552 เทียบปี 2551 คือ 1.โค้ก ใช้งบ 93 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 68 ล้านบาท 2.ไทยประกันชีวิต ใช้งบ 88 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 6 ล้านบาท 3.แฮปปี้โมบายโฟน ใช้งบ 72 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 70 ล้านบาท
ส่วน 3 อันดับแบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดช่วง 10 เดือนแรกปี 2552 เทียบ ปี 2551 พบว่า 1.โค้ก ใช้งบ 606 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 394 ล้านบาท 2.เอไอเอส ใช้งบ 532 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 239 ล้านบาท 3.แฮปปี้โมบายโฟน ใช้งบ 526 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 489 ล้านบาท