ดีแทคเชื่อประชาพิจารณ์ 3G วันนี้ (12) เป็นนัดสุดท้าย ”ทอเร่”ยังมั่นใจกทช.เปิดประมูลไลเซนส์ได้ในไตรมาส 1 ปีหน้า ยอมรับหากล่าช้าดีแทคไม่มีแผนสำรองแต่จะก้มหน้าพัฒนาโครงข่าย 2.5 G เดิมต่อไป เผยประเมินเปิด 3G ช่วง 2-3 ปีแรกเพิ่มรายได้เพียง 10-15% ที่เหลือบริการเดิมยังเป็นตัวทำเงิน ล่าสุดควัก 850 ล้านบาทลงทุน dSmart Solution ดูแลเครือข่ายและบริการลูกค้าครบวงจร
นายทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า ดีแทคเชื่อว่าการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ก่อนจะนำไปร่างสรุปข้อสนเทศ (Draft Information Memorandum) การจัดสรรคลื่นความถี่ IMT หรือ 3G and beyond ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.จะเป็นการทำประชาพิจารณ์ครั้งสุดท้าย และยังมั่นใจว่าการประมูลใบอนุญาต 3G จะเกิดขึ้นในไตรมาส 1 ของปีหน้า อย่างที่คาดการณ์ตั้งแต่ต้น
“ผมเชื่อว่าการเปิดรับฟังความคิดเห็นเรื่อง 3G วันนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายและเรายังเชื่อมั่นเช่นเดิมว่ากทช.จะสามารถเปิดประมูลไลเซ่นส์ได้ภายในไตรมาส 1 ของปีหน้าแน่นอน อย่างที่รู้กันประเทศไทยเป็น1 ในไม่กี่ประเทศที่มีการลงทุน 3G ล่าช้า ส่งผลให้ประเทศสูญเสียโอกาสในหลายๆด้าน เพราะการเปิดให้บริการในหลายประเทศสามารถวัดผลได้ว่ามีประโยชน์ต่อจีดีพีของประเทศจริง” นายทอเร่กล่าว
ทั้งนี้หากการประมูลโครงการ 3G ของกทช.ล่าช้าออกไปกว่าที่ดีแทคคาดการณ์ไว้ขั้นต้น (เนื่องจากยังมีความไม่ชัดเจนเรื่องอำนาจหน้าที่ในการประมูลไลเซ่นส์ 3G) แม้ดีแทคจะยังไม่มีแผนสำรองไว้ แต่หากกทช.ล่าช้าก็จะเดินหน้าพัฒนาการให้บริการ 2.5G เดิมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุผลหลักคือดีแทคเชื่อว่ารายได้หลักของบริษัทยังจะมาจากบริการเดิม 2.5G โดยรายได้จากบริการ 3G ในช่วง 2-3 ปีแรกนั้นคาดว่าจะสามารถเพิ่มรายได้ให้บริษัทเพียง 10-15 % เท่านั้น
อย่างไรก็ดี คาดว่าในการประชาพิจารณ์วันนี้จะได้ความชัดเจนเรื่องอำนาจหน้าที่ของ กทช.ว่าจะสามารถเดินหน้าเปิดประมูล 3G ได้หรือไม่ เพราะเรื่องดังกล่าวกทช.ได้บรรจุไว้สำหรับขอความเห็นจากผู้เข้าร่วมการประชาพิจารณ์ โดยดีแทคจะเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในงานดังกล่าว แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะแสดงความเห็นในเรื่องอะไรบ้าง
นายทอเร่กล่าวต่อว่าการเปิดให้บริการ 3G ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เฟสแรกในวันที่ 3 ธ.ค.52 นั้นเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของทีโอที เนื่องจากได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่มาดำเนินการก่อน และดีแทคจะไม่ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ดี ดีแทคต้องการให้มีการเร่งออกไลเซ่นส์ใหม่เพื่อให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆในตลาดสามารถแข่งขันได้ เพราะการเปิดให้บริการโดยผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งก่อน จะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในตลาด
“ส่วนกรณีที่มีข่าวออกมาว่าทีโอทีจะให้บริการถูกกว่าผู้ให้บริการปัจจุบัน นั้นเป็นเรื่องที่ไม่อยากแสดงความเห็น แต่อยากให้ กทช.เข้ามาดูเลย ให้ทีโอทีเข้าใช้อินเตอร์คอนเน็คชั่นชาร์จเหมือนผู้ประกอบการรายอื่น และหากทีโอทีมีต้นทุนดังกล่าวจะทำให้ราคาค่าบริการสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง” นายทอเร่กล่าว
สำหรับการลงทุนในคลื่นความถี่ 850 MHz นั้นดีแทคยืนยันมาตลอดว่าการพัฒนาและการทดลองให้บริการที่ผ่านมานั้นประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี แต่เนื่องด้วยติดภาครัฐยังไม่มีข้อสรุปของคณะกรรมการมาตรา 22 ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ดังนั้นดีแทคจึงทำได้เพียงรอความชัดเจน
นายท่อเร่กล่าวต่อว่า ล่าสุด ดีแทค ใช้งบประมาณกว่า 850 ล้านบาทในการนำระบบ dSmart Solution ของเอชพีเข้ามาใช้งานเพื่อบริหารจัดการ ดูแล และเฝ้าระวังการทำงานของโครงข่ายอย่างครบวงจร โดยโซลูชั่นดังกล่าวประกอบไปด้วย เซ็ทของแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยดูแล และพัฒนาคุณภาพของการให้บริการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น เพื่อดูแลด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัตถุประสงค์คือเพื่อต้องการเพิ่มรายได้ในระยะยาว ร่วมกับพยายามรักษาให้ลูกค้าอยู่ในระบบนานที่สุด
ทั้งนี้บริการดังกล่าว แบ่งเป็นการลงทุนใน 2 เฟส โดยเฟสแรกเปิดให้บริการแล้ว และเฟสที่ 2 จะสามารถให้บริการได้ในไตรมาส 3 ปีหน้า ทั้งนี้การลงทุนดังกล่าวเป็น 1 ในโครงการที่เตรียมไว้สำหรับการเปิดให้บริการ 3G ในอนาคตด้วย
นายทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า ดีแทคเชื่อว่าการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ก่อนจะนำไปร่างสรุปข้อสนเทศ (Draft Information Memorandum) การจัดสรรคลื่นความถี่ IMT หรือ 3G and beyond ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.จะเป็นการทำประชาพิจารณ์ครั้งสุดท้าย และยังมั่นใจว่าการประมูลใบอนุญาต 3G จะเกิดขึ้นในไตรมาส 1 ของปีหน้า อย่างที่คาดการณ์ตั้งแต่ต้น
“ผมเชื่อว่าการเปิดรับฟังความคิดเห็นเรื่อง 3G วันนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายและเรายังเชื่อมั่นเช่นเดิมว่ากทช.จะสามารถเปิดประมูลไลเซ่นส์ได้ภายในไตรมาส 1 ของปีหน้าแน่นอน อย่างที่รู้กันประเทศไทยเป็น1 ในไม่กี่ประเทศที่มีการลงทุน 3G ล่าช้า ส่งผลให้ประเทศสูญเสียโอกาสในหลายๆด้าน เพราะการเปิดให้บริการในหลายประเทศสามารถวัดผลได้ว่ามีประโยชน์ต่อจีดีพีของประเทศจริง” นายทอเร่กล่าว
ทั้งนี้หากการประมูลโครงการ 3G ของกทช.ล่าช้าออกไปกว่าที่ดีแทคคาดการณ์ไว้ขั้นต้น (เนื่องจากยังมีความไม่ชัดเจนเรื่องอำนาจหน้าที่ในการประมูลไลเซ่นส์ 3G) แม้ดีแทคจะยังไม่มีแผนสำรองไว้ แต่หากกทช.ล่าช้าก็จะเดินหน้าพัฒนาการให้บริการ 2.5G เดิมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุผลหลักคือดีแทคเชื่อว่ารายได้หลักของบริษัทยังจะมาจากบริการเดิม 2.5G โดยรายได้จากบริการ 3G ในช่วง 2-3 ปีแรกนั้นคาดว่าจะสามารถเพิ่มรายได้ให้บริษัทเพียง 10-15 % เท่านั้น
อย่างไรก็ดี คาดว่าในการประชาพิจารณ์วันนี้จะได้ความชัดเจนเรื่องอำนาจหน้าที่ของ กทช.ว่าจะสามารถเดินหน้าเปิดประมูล 3G ได้หรือไม่ เพราะเรื่องดังกล่าวกทช.ได้บรรจุไว้สำหรับขอความเห็นจากผู้เข้าร่วมการประชาพิจารณ์ โดยดีแทคจะเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในงานดังกล่าว แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะแสดงความเห็นในเรื่องอะไรบ้าง
นายทอเร่กล่าวต่อว่าการเปิดให้บริการ 3G ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เฟสแรกในวันที่ 3 ธ.ค.52 นั้นเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของทีโอที เนื่องจากได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่มาดำเนินการก่อน และดีแทคจะไม่ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ดี ดีแทคต้องการให้มีการเร่งออกไลเซ่นส์ใหม่เพื่อให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆในตลาดสามารถแข่งขันได้ เพราะการเปิดให้บริการโดยผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งก่อน จะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในตลาด
“ส่วนกรณีที่มีข่าวออกมาว่าทีโอทีจะให้บริการถูกกว่าผู้ให้บริการปัจจุบัน นั้นเป็นเรื่องที่ไม่อยากแสดงความเห็น แต่อยากให้ กทช.เข้ามาดูเลย ให้ทีโอทีเข้าใช้อินเตอร์คอนเน็คชั่นชาร์จเหมือนผู้ประกอบการรายอื่น และหากทีโอทีมีต้นทุนดังกล่าวจะทำให้ราคาค่าบริการสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง” นายทอเร่กล่าว
สำหรับการลงทุนในคลื่นความถี่ 850 MHz นั้นดีแทคยืนยันมาตลอดว่าการพัฒนาและการทดลองให้บริการที่ผ่านมานั้นประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี แต่เนื่องด้วยติดภาครัฐยังไม่มีข้อสรุปของคณะกรรมการมาตรา 22 ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ดังนั้นดีแทคจึงทำได้เพียงรอความชัดเจน
นายท่อเร่กล่าวต่อว่า ล่าสุด ดีแทค ใช้งบประมาณกว่า 850 ล้านบาทในการนำระบบ dSmart Solution ของเอชพีเข้ามาใช้งานเพื่อบริหารจัดการ ดูแล และเฝ้าระวังการทำงานของโครงข่ายอย่างครบวงจร โดยโซลูชั่นดังกล่าวประกอบไปด้วย เซ็ทของแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยดูแล และพัฒนาคุณภาพของการให้บริการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น เพื่อดูแลด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัตถุประสงค์คือเพื่อต้องการเพิ่มรายได้ในระยะยาว ร่วมกับพยายามรักษาให้ลูกค้าอยู่ในระบบนานที่สุด
ทั้งนี้บริการดังกล่าว แบ่งเป็นการลงทุนใน 2 เฟส โดยเฟสแรกเปิดให้บริการแล้ว และเฟสที่ 2 จะสามารถให้บริการได้ในไตรมาส 3 ปีหน้า ทั้งนี้การลงทุนดังกล่าวเป็น 1 ในโครงการที่เตรียมไว้สำหรับการเปิดให้บริการ 3G ในอนาคตด้วย