กทม.เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมเครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย (ANMC21) ดึง 10 ประเทศ ร่วมประชุม ปลุกกระแสการท่องเที่ยวไทย หวังดึงรายได้ท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้าน เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ พร้อมหารือปัญหาโรคหวัดใหญ่ 2009 ที่ระบาดวางแผนรับมือให้นักท่องเที่ยว
นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน ศกนี้ กทม.ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย 21 (The Asian Network of Major Cities 21 หรือ ANMC21) ครั้งที่ 8 และเป็นครั้งแรกที่ กทม.รับเป็นเจ้าภาพในการต้อนรับคณะผู้บริหารระดับผู้ว่าการเมือง นายกเทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี จาก 10 เมืองสมาชิก ที่จะเดินทางมาร่วมงาน ประกอบด้วย กรุงเดลี กรุงฮานอย กรุงจาการ์ตา กรุงกัวลาลัมเปอร์ กรุงมะนิลา กรุงโซล กรุงโตเกียว ไทเป สิงคโปร์ และ กรุงเทพมหานคร
การประชุม ANMC21 จะจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง โดยเมืองสมาชิกจะร่วมกันหารือในประเด็นปัญหาที่เป็นเรื่องเร่งด่วนระดับภูมิภาค เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางปฏิบัติอันจะนาไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน สาหรับหัวข้อที่จะหารือในปีนี้ จะแบ่งเป็น 2 เรื่องหลัก คือ การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการร่วมมือกันป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 โดยการประชุมจะใช้เวลา 2 วันระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2552 ณ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ
รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ขณะนี้ กทม.อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน เพื่อให้การประชุมเป็นไปอย่างเรียบร้อยสมบูรณ์ ส่วนรายละเอียดของหัวข้อที่จะนำไปหารือด้านการท่องเที่ยว กทม.จะเสนอแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตลอดจนความร่วมมือในการโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวในลักษณะ Asia Package ที่สมาชิก ANMC21 จะสามารถร่วมมือกัน ทั้งในด้านการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การเดินทาง หรือการจัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อช่วยให้สมาชิกลดค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของแต่ละเมือง และยังสร้างความแข็งแกร่งด้านการท่องเที่ยว ทาให้การเข้าถึงกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะประเทศกลุ่มยุโรป ซึ่งถือเป็นตลาดท่องเที่ยวที่สำคัญของเอเชียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
“ในแต่ละปี กทม.มีรายได้จากการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะก่อให้เกิดการจ้างงาน ช่วยกระจายรายได้ไปสู่ส่วนต่างๆ ของสังคม โดย กทม.มีนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวภายใต้โครงการ “กรุงเทพเมืองยิ้ม” อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมในชุมชน เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน โดยในการประชุมจะมีการยกตัวอย่างชุมชนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ชุมชนคลองลัดมะยม สำนักงานเขตตลิ่งชัน ที่สามารถพัฒนาตลาดน้ำให้ประสบผลสำเร็จ และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้อย่างมั่นคง” นางทยา กล่าว
สำหรับประเด็นไข้หวัดใหญ่ 2009 นั้น กทม.เองได้เฝ้าระวังเพื่อควบคุมการระบาดอยู่ตลอดระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การหารือจะเน้นที่การแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหา และมาตรการการควบคุมการกลับมาของโรคต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบในวงกว้าง ขณะที่สถานการณ์ล่าสุดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.-12 ต.ค.2552 มีผู้ป่วยสะสม 4,732 ราย เสียชีวิตสะสม 22 ราย เป็นชาย 12 ราย และหญิง 10 ราย เฉลี่ยอายุระหว่าง 7-84 ปี ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา ร้อยละ 54.69 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดอยู่ระหว่าง 11-20 ปี ร้อยละ 35.89 ขณะนี้ได้มอบหมายให้ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จัดทำแผน ลงพื้นที่เร่งรัดมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในสถานที่เสี่ยง ได้แก่ ร้านเกม อินเทอร์เน็ต โรงเรียนกวดวิชา ศูนย์การค้า แหล่งชุมชน หรือการจัดกิจกรรมที่มีคนมารวมตัวกันจานวนมาก
“ในการประชุมระหว่างกลุ่ม ANMC21 ไม่ได้มุ่งเน้นที่โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งแสวงหาความร่วมมือในการแก้ปัญหาโรคติดต่ออื่นๆ ที่ระบาดในภูมิภาคด้วย เช่น โรคซาร์ โรคไข้หวัดนก โรคไข้เลือดออก เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์แล้วยังจะก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมืองให้ดียิ่งขึ้น และยังเป็นโอกาสอันดีในการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาด้วยความเชื่อมั่นในมาตรการการควบคุมระดับสากล” รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าว
ทั้งนี้ ควบคู่กับการประชุม สมาชิก ANMC21 ยังมีการแลกเปลี่ยนด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีประจำชาติ โดยจะมีนิทรรศการและการแสดงวัฒนธรรม จากเครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย โดยในงานจะมีนิทรรศการเพื่อประชาสัมพันธ์เมืองสมาชิก และข้อมูลด้านการท่องเที่ยว มีการส่งเสริมการขายสินค้าพื้นเมือง และการแสดงที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชาติ เช่น ศิลปะการชงชาของญี่ปุ่น และการแสดงของสิงคโปร์ กรุงโซล และไทเป เป็นต้น โดยจะเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป เข้าชมระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม-3 พฤศจิกายน 2552 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ในขณะเดียวกัน กทม.จะมีการประชุม Cool ASEAN, Green Capitals Initiative เพื่อความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2552 นี้อีกด้วย
“ในโอกาสนี้ เราอยากจะขอเชิญชวนคนไทยทุกคน โดยเฉพาะชาวกรุงเทพมหานคร ร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดีในการต้อนรับแขกคนสำคัญจากเมืองต่างๆ ที่จะเข้าร่วมประชุมในช่วงดังกล่าว และสามารถดูรายละเอียดของกิจกรรมการประชุมครั้งนี้ ทางเว็บไซต์ www.anmc21bangkok.com ซึ่งนอกจากจะนำมาซึ่งความร่วมมือในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับภูมิภาคเอเชียแล้ว ยังถือเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ร่วมสร้างความประทับใจให้สมกับที่กรุงเทพมหานครได้รับรางวัล “เมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก” (The World’s Best Tourist Destination Award) จาก นิตยสาร Travel and Leisure ซึ่งเป็นนิตยสารเพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อนของสหรัฐอเมริกาถึง 3 ปีซ้อน ระหว่างปี 2007-2009” นางทยา กล่าว
นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน ศกนี้ กทม.ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย 21 (The Asian Network of Major Cities 21 หรือ ANMC21) ครั้งที่ 8 และเป็นครั้งแรกที่ กทม.รับเป็นเจ้าภาพในการต้อนรับคณะผู้บริหารระดับผู้ว่าการเมือง นายกเทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี จาก 10 เมืองสมาชิก ที่จะเดินทางมาร่วมงาน ประกอบด้วย กรุงเดลี กรุงฮานอย กรุงจาการ์ตา กรุงกัวลาลัมเปอร์ กรุงมะนิลา กรุงโซล กรุงโตเกียว ไทเป สิงคโปร์ และ กรุงเทพมหานคร
การประชุม ANMC21 จะจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง โดยเมืองสมาชิกจะร่วมกันหารือในประเด็นปัญหาที่เป็นเรื่องเร่งด่วนระดับภูมิภาค เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางปฏิบัติอันจะนาไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน สาหรับหัวข้อที่จะหารือในปีนี้ จะแบ่งเป็น 2 เรื่องหลัก คือ การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการร่วมมือกันป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 โดยการประชุมจะใช้เวลา 2 วันระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2552 ณ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ
รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ขณะนี้ กทม.อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน เพื่อให้การประชุมเป็นไปอย่างเรียบร้อยสมบูรณ์ ส่วนรายละเอียดของหัวข้อที่จะนำไปหารือด้านการท่องเที่ยว กทม.จะเสนอแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตลอดจนความร่วมมือในการโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวในลักษณะ Asia Package ที่สมาชิก ANMC21 จะสามารถร่วมมือกัน ทั้งในด้านการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การเดินทาง หรือการจัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อช่วยให้สมาชิกลดค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของแต่ละเมือง และยังสร้างความแข็งแกร่งด้านการท่องเที่ยว ทาให้การเข้าถึงกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะประเทศกลุ่มยุโรป ซึ่งถือเป็นตลาดท่องเที่ยวที่สำคัญของเอเชียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
“ในแต่ละปี กทม.มีรายได้จากการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะก่อให้เกิดการจ้างงาน ช่วยกระจายรายได้ไปสู่ส่วนต่างๆ ของสังคม โดย กทม.มีนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวภายใต้โครงการ “กรุงเทพเมืองยิ้ม” อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมในชุมชน เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน โดยในการประชุมจะมีการยกตัวอย่างชุมชนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ชุมชนคลองลัดมะยม สำนักงานเขตตลิ่งชัน ที่สามารถพัฒนาตลาดน้ำให้ประสบผลสำเร็จ และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้อย่างมั่นคง” นางทยา กล่าว
สำหรับประเด็นไข้หวัดใหญ่ 2009 นั้น กทม.เองได้เฝ้าระวังเพื่อควบคุมการระบาดอยู่ตลอดระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การหารือจะเน้นที่การแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหา และมาตรการการควบคุมการกลับมาของโรคต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบในวงกว้าง ขณะที่สถานการณ์ล่าสุดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.-12 ต.ค.2552 มีผู้ป่วยสะสม 4,732 ราย เสียชีวิตสะสม 22 ราย เป็นชาย 12 ราย และหญิง 10 ราย เฉลี่ยอายุระหว่าง 7-84 ปี ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา ร้อยละ 54.69 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดอยู่ระหว่าง 11-20 ปี ร้อยละ 35.89 ขณะนี้ได้มอบหมายให้ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จัดทำแผน ลงพื้นที่เร่งรัดมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในสถานที่เสี่ยง ได้แก่ ร้านเกม อินเทอร์เน็ต โรงเรียนกวดวิชา ศูนย์การค้า แหล่งชุมชน หรือการจัดกิจกรรมที่มีคนมารวมตัวกันจานวนมาก
“ในการประชุมระหว่างกลุ่ม ANMC21 ไม่ได้มุ่งเน้นที่โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งแสวงหาความร่วมมือในการแก้ปัญหาโรคติดต่ออื่นๆ ที่ระบาดในภูมิภาคด้วย เช่น โรคซาร์ โรคไข้หวัดนก โรคไข้เลือดออก เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์แล้วยังจะก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมืองให้ดียิ่งขึ้น และยังเป็นโอกาสอันดีในการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาด้วยความเชื่อมั่นในมาตรการการควบคุมระดับสากล” รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าว
ทั้งนี้ ควบคู่กับการประชุม สมาชิก ANMC21 ยังมีการแลกเปลี่ยนด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีประจำชาติ โดยจะมีนิทรรศการและการแสดงวัฒนธรรม จากเครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย โดยในงานจะมีนิทรรศการเพื่อประชาสัมพันธ์เมืองสมาชิก และข้อมูลด้านการท่องเที่ยว มีการส่งเสริมการขายสินค้าพื้นเมือง และการแสดงที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชาติ เช่น ศิลปะการชงชาของญี่ปุ่น และการแสดงของสิงคโปร์ กรุงโซล และไทเป เป็นต้น โดยจะเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป เข้าชมระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม-3 พฤศจิกายน 2552 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ในขณะเดียวกัน กทม.จะมีการประชุม Cool ASEAN, Green Capitals Initiative เพื่อความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2552 นี้อีกด้วย
“ในโอกาสนี้ เราอยากจะขอเชิญชวนคนไทยทุกคน โดยเฉพาะชาวกรุงเทพมหานคร ร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดีในการต้อนรับแขกคนสำคัญจากเมืองต่างๆ ที่จะเข้าร่วมประชุมในช่วงดังกล่าว และสามารถดูรายละเอียดของกิจกรรมการประชุมครั้งนี้ ทางเว็บไซต์ www.anmc21bangkok.com ซึ่งนอกจากจะนำมาซึ่งความร่วมมือในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับภูมิภาคเอเชียแล้ว ยังถือเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ร่วมสร้างความประทับใจให้สมกับที่กรุงเทพมหานครได้รับรางวัล “เมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก” (The World’s Best Tourist Destination Award) จาก นิตยสาร Travel and Leisure ซึ่งเป็นนิตยสารเพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อนของสหรัฐอเมริกาถึง 3 ปีซ้อน ระหว่างปี 2007-2009” นางทยา กล่าว