กทม.ประกาศจับมือเมืองพันธมิตรแห่งเอเชีย 21 ผลักดันด้านท่องเที่ยว-หยุดแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 พร้อมเตรียมปรับปรุงห้องน้ำใหม่ในแหล่งท่องเที่ยวท็อปเท็นในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ หวังสร้างความประทับให้นักท่องเที่ยว พร้อมเสนอที่ประชุมทำ ANMC วีซ่าเล่มเดียวเข้าได้ทุกเมือง
วันนี้ (2 พฤศจิกายน 2552) ที่โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย 21 (The Asian Network of Major Cities 21 หรือ ANMC21) ครั้งที่ 8 ซึ่งจัดโดย กรุงเทพมหานครในฐานะเมืองเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 2-3 พ.ย.นี้ โดยมีคณะผู้บริหารระดับผู้ว่าการเมือง นายกเทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี 8 เมือง จาก 11 เมืองสมาชิกเข้าร่วมประชุม อาทิ กรุงฮานอย กรุงจาการ์ตา กรุงมะนิลา กรุงโซล กรุงโตเกียว ไทเป สิงคโปร์ และกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมประชุม ยกเว้นเมืองย่างกุ้ง กรุงเดลี กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมี นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าฯ กทม. ในฐานะเมืองเจ้าภาพ ให้การต้อนรับ
โดยนายชวรัตน์กล่าวในพิธีเปิดมีใจความว่า เป็นครั้งแรกที่ กทม.ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย 21 โดยมีผู้แทนจาก 8 เมืองใหญ่ในเอเชียเข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนและสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคีสมาชิก โดยกทม.เป็นเมืองที่มีคุณลักษณะที่โดดเด่นเฉพาะตัวซึ่งได้รับการยอบรับไปทั่วโลก ทั้งนี้เราได้ตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวที่กำลังเจริญเติบโตในภูมิภาคของเราอันเป็นพลังขับเคลื่อนในภูมิภาคดังนั้นหากมีการนำเสนอโปรโมชั่นท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสมก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งกับเมืองของเรา
ขณะเดียวกัน ที่เศรษฐกิจกำลังมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อป้องกันมลภาวะและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการประชุมที่กรุงโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ก
ดังนั้น ในการประชุมครั้งนี้จึงอยากให้ทุกเมืองได้มีการหารือกันในประเด็นนี้ด้วย ในส่วนของภาครัฐบาลก็มีความพยายามที่จะพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืนโดยประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างมากจากการประชุมอาเซียนซัมมิทครั้งที่ 15 ในหัวข้อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะที่กทม.เองก็ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการจัดโครงการกรุงเทพฯ เมืองยิ้มให้กับนักท่องเที่ยวซึ่งทุกเมืองสามารถที่จะร่วมโครงการสามารถทำได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ตนหวังว่า ในการประชุมครั้งนี้ซึ่งประเด็นสำคัญที่เราจะหารือกันในครั้งนี้ก็คือ การท่องเที่ยวโดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทุกเมืองจะได้แลกเปลี่ยนความรู้ การท่องเที่ยว และวัฒนธรรมเพื่อร่วมกันวางแผนแม่บทการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องจากการประชุมอาเซียนซัมมิทครั้งที่ 15 ทั้งนี้เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวของเราอย่างยั่งยืน
ด้าน นางทยากล่าวว่า ในปีนี้ หัวข้อการประชุมจะแลกเปลี่ยนในประเด็น การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการแสวงหาความร่วมมือด้านการแพร่ระบาดของโรคต่างๆในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 สำหรับการหารือด้านการท่องเที่ยว กทม.จะเสนอแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตลอดจนความร่วมมือในการโปรโมทสถานที่ท่องเที่ยวในลักษณะ Asia Package ที่สมาชิก ANMC21 จะสามารถร่วมมือกัน ทั้งในด้านการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การเดินทาง หรือการจัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อช่วยให้สมาชิกลดค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของแต่ละเมือง และยังสร้างความแข็งแกร่งด้านการท่องเที่ยว ทำให้การเข้าถึงกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะประเทศกลุ่มยุโรป ซึ่งถือเป็นตลาดท่องเที่ยวที่สำคัญของเอเชียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งในส่วนของ กทม.จะมีการนำเสนอการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางสายน้ำที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ตลาดน้ำคลองลัดมะยม และคลองรุกตั๊ตวา ทั้งนี้ในปีงบประมาณนี้กทม.ได้งบสนับสนุนจากรัฐบาลจำนวน 300 ล้านบาทซึ่ง 50% จะนำมาใช้การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และนิเวศวิทยา การปรับปรุงสภาพห้องน้ำในแหล่งท่องเที่ยวที่ติดอันดับท็อปเท็นโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์
สำหรับประเด็นการควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 นั้น พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าฯ กทม. คาดว่าจะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างบุคลากร และ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ด้วยมาตรการการควบคุมระดับสากล เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามา อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดต่ออื่นๆ ที่อาจกลับมาระบาดในอนาคต เช่น โรคซาร์ส โรคไข้หวัดนก โรคไข้เลือดออก เป็นต้น
ทั้งนี้ ควบคู่กับการประชุม ANMC21 กทม. ยังได้ร่วมกับสำนักเลขาธิการอาเซียน โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ในฐานะเลขาธิการอาเซียน จัดให้มีการประชุม Cool ASEAN, Green Capitals Initiative เพื่อหาแนวทางในการลดภาวะโลกร้อนในระดับภูมิภาค โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน รวมถึงสนับสุนน และผลักดันให้เกิดมาตรการในการลดภาวะเรือนกระจก และมลพิษทางอากาศร่วมกันอีกด้วย
นางทยาให้สัมภาษณ์ภายหลังด้วยว่า ในส่วนการโปรโมทสถานที่ท่องเที่ยวในลักษณะ Asia Package ซึ่งอาจจะมี 3-4 เมืองเข้าร่วม รวมถึงจะมีการหารือถึงการทำวีซ่าประเทศเดียวแต่สามารถเข้าได้ 10 ประเทศในกลุ่มภาคีสมาชิกเหมือนที่ยุโรปทำแล้ว เช่น ANMC วีซ่า ซึ่งจะต้องมีหารหารือกับสถานทูตและกระทรวงการต่างประเทศด้วย ตลอดจนการหารือกับสายการบินต่างๆ ด้วย
วันนี้ (2 พฤศจิกายน 2552) ที่โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย 21 (The Asian Network of Major Cities 21 หรือ ANMC21) ครั้งที่ 8 ซึ่งจัดโดย กรุงเทพมหานครในฐานะเมืองเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 2-3 พ.ย.นี้ โดยมีคณะผู้บริหารระดับผู้ว่าการเมือง นายกเทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี 8 เมือง จาก 11 เมืองสมาชิกเข้าร่วมประชุม อาทิ กรุงฮานอย กรุงจาการ์ตา กรุงมะนิลา กรุงโซล กรุงโตเกียว ไทเป สิงคโปร์ และกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมประชุม ยกเว้นเมืองย่างกุ้ง กรุงเดลี กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมี นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าฯ กทม. ในฐานะเมืองเจ้าภาพ ให้การต้อนรับ
โดยนายชวรัตน์กล่าวในพิธีเปิดมีใจความว่า เป็นครั้งแรกที่ กทม.ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย 21 โดยมีผู้แทนจาก 8 เมืองใหญ่ในเอเชียเข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนและสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคีสมาชิก โดยกทม.เป็นเมืองที่มีคุณลักษณะที่โดดเด่นเฉพาะตัวซึ่งได้รับการยอบรับไปทั่วโลก ทั้งนี้เราได้ตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวที่กำลังเจริญเติบโตในภูมิภาคของเราอันเป็นพลังขับเคลื่อนในภูมิภาคดังนั้นหากมีการนำเสนอโปรโมชั่นท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสมก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งกับเมืองของเรา
ขณะเดียวกัน ที่เศรษฐกิจกำลังมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อป้องกันมลภาวะและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการประชุมที่กรุงโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ก
ดังนั้น ในการประชุมครั้งนี้จึงอยากให้ทุกเมืองได้มีการหารือกันในประเด็นนี้ด้วย ในส่วนของภาครัฐบาลก็มีความพยายามที่จะพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืนโดยประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างมากจากการประชุมอาเซียนซัมมิทครั้งที่ 15 ในหัวข้อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะที่กทม.เองก็ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการจัดโครงการกรุงเทพฯ เมืองยิ้มให้กับนักท่องเที่ยวซึ่งทุกเมืองสามารถที่จะร่วมโครงการสามารถทำได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ตนหวังว่า ในการประชุมครั้งนี้ซึ่งประเด็นสำคัญที่เราจะหารือกันในครั้งนี้ก็คือ การท่องเที่ยวโดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทุกเมืองจะได้แลกเปลี่ยนความรู้ การท่องเที่ยว และวัฒนธรรมเพื่อร่วมกันวางแผนแม่บทการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องจากการประชุมอาเซียนซัมมิทครั้งที่ 15 ทั้งนี้เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวของเราอย่างยั่งยืน
ด้าน นางทยากล่าวว่า ในปีนี้ หัวข้อการประชุมจะแลกเปลี่ยนในประเด็น การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการแสวงหาความร่วมมือด้านการแพร่ระบาดของโรคต่างๆในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 สำหรับการหารือด้านการท่องเที่ยว กทม.จะเสนอแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตลอดจนความร่วมมือในการโปรโมทสถานที่ท่องเที่ยวในลักษณะ Asia Package ที่สมาชิก ANMC21 จะสามารถร่วมมือกัน ทั้งในด้านการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การเดินทาง หรือการจัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อช่วยให้สมาชิกลดค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของแต่ละเมือง และยังสร้างความแข็งแกร่งด้านการท่องเที่ยว ทำให้การเข้าถึงกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะประเทศกลุ่มยุโรป ซึ่งถือเป็นตลาดท่องเที่ยวที่สำคัญของเอเชียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งในส่วนของ กทม.จะมีการนำเสนอการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางสายน้ำที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ตลาดน้ำคลองลัดมะยม และคลองรุกตั๊ตวา ทั้งนี้ในปีงบประมาณนี้กทม.ได้งบสนับสนุนจากรัฐบาลจำนวน 300 ล้านบาทซึ่ง 50% จะนำมาใช้การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และนิเวศวิทยา การปรับปรุงสภาพห้องน้ำในแหล่งท่องเที่ยวที่ติดอันดับท็อปเท็นโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์
สำหรับประเด็นการควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 นั้น พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าฯ กทม. คาดว่าจะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างบุคลากร และ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ด้วยมาตรการการควบคุมระดับสากล เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามา อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดต่ออื่นๆ ที่อาจกลับมาระบาดในอนาคต เช่น โรคซาร์ส โรคไข้หวัดนก โรคไข้เลือดออก เป็นต้น
ทั้งนี้ ควบคู่กับการประชุม ANMC21 กทม. ยังได้ร่วมกับสำนักเลขาธิการอาเซียน โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ในฐานะเลขาธิการอาเซียน จัดให้มีการประชุม Cool ASEAN, Green Capitals Initiative เพื่อหาแนวทางในการลดภาวะโลกร้อนในระดับภูมิภาค โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน รวมถึงสนับสุนน และผลักดันให้เกิดมาตรการในการลดภาวะเรือนกระจก และมลพิษทางอากาศร่วมกันอีกด้วย
นางทยาให้สัมภาษณ์ภายหลังด้วยว่า ในส่วนการโปรโมทสถานที่ท่องเที่ยวในลักษณะ Asia Package ซึ่งอาจจะมี 3-4 เมืองเข้าร่วม รวมถึงจะมีการหารือถึงการทำวีซ่าประเทศเดียวแต่สามารถเข้าได้ 10 ประเทศในกลุ่มภาคีสมาชิกเหมือนที่ยุโรปทำแล้ว เช่น ANMC วีซ่า ซึ่งจะต้องมีหารหารือกับสถานทูตและกระทรวงการต่างประเทศด้วย ตลอดจนการหารือกับสายการบินต่างๆ ด้วย