การตัดสินใจประเภทใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ไม่ได้ข้อสรุป เหตุคณะกรรมการเสียงแตกเป็น 2 ฝ่าย ทั้งให้มี 4 ประเภท และยุบรวมเหลือ 3 ประเภท เตรียมเสนอข้อความเห็นจากสมาคมท่องเที่ยวทั่วประเทศ โหวตคะแนนเสียงเป็นตัวชี้ขาด ด้านสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ ยันต้องมีให้ครบ 4 ประเภท เพื่อสร้างงานให้ชุมชนแต่ต้องมีวิธีจัดการผู้กระทำธุรกิจผิดประเภทใบอนุญาตขั้นเด็ดขาด
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ยังไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องประเภทใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ ว่า จะคงไว้ 4 ประเภทเช่นเดิม หรือลดเหลือแค่ 3 ประเภท เพราะในที่ประชุมความเห็นของคณะกรรมการไม่ตรงกัน โดยบางคนได้เสนอให้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากสมาคมท่องเที่ยวทั่วประเทศในเรื่องของใบอนุญาติว่ามีความเห็นเช่นใด ก่อนการตัดสินใจปรับเปลี่ยน
ทั้งนี้ ปัจจุบันใบอนุญาติ 4 ประเภท ได้แก่ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่, ใบอนุญาตฯในประเทศ, ใบอนุญาตฯนำนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาประเทศไทย (อินบาวนด์) และ ใบอนุญาตินำนักท่องเที่ยวไทยไปต่างประเทศ (เอาต์บาวนด์) ซึ่งข้อเสนอที่ให้ลดเหลือ 3 ประเภท คือ ต้องการให้รวมใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ กับ ใบอนุญาตในประเทศ เข้าไว้ด้วยกัน และเก็บหลักประกันเท่ากัน
“ที่ประชุมมีการโต้แย้งกันว่า หากยุบรวมกันแล้วจะส่งผลให้คนในชุมชน ซึ่งมีเงินลงทุนที่น้อยกว่า ต้องจ่ายค่าหลักประกันเพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาไม่มีเงินจ่าย ซึ่งเรื่องนี้ต้องมาคุยในรายละเอียดให้ดีและเลือกแนวทางที่ดีที่สุด โดยต้องไม่กระทบกับคนที่มีใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ที่ดำเนินการมาอย่างถูกต้อง”
ขณะที่ นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ ในฐานะคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กล่าวว่า โดยส่วนตัวขอค้านการรวมใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่กับใบอนุญาติในประเทศ เพราะเหตุว่า ถ้ารวมกันแล้วต้องเก็บค่าประกันในอัตรา 10,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราเก็บใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ ก็ถือว่าเป็นเงินจำนวนน้อยไปถ้าจะเก็บเงินนี้เข้ากองทุนไว้สำหรับชดเชยค่าเสียหายให้แก่นักท่องเที่ยว แต่ถ้าใช้อัตรา 50,000 บาท เท่ากับใบอนุญาตในประเทศ ก็เป็นตัวเลขที่สูงสำหรับผู้ที่เคยถือใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนภายในชุมชน ทำให้คนในชุมชนต้องเสียโอกาสทำโปรแกรมนำเที่ยวในพื้นที่ของตัวเอง เพราะไม่มีเงินทุนพอ
อย่างไรก็ตาม น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เคยมอบหมายให้ตนเองนำประเด็นเรื่องค่าธรรมเนียมดังกล่าวนี้ไปสำรวจความคิดเห็นจากภาคเอกชนในสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งได้ข้อสรุปว่าควรคงไว้ 4 ประเภทเท่าเดิม
แต่คณะกรรมการในที่ประชุมครั้งนี้กลับยืนยันที่จะปรับลดเหลือ 3 ประเภท โดยอ้างว่าปัจจุบันผู้ที่ขอใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ ก็มีการรุกล้ำจัดทัวร์นอกเขตพื้นที่เช่นกัน ซึ่งเกิดความไม่ยุติธรรมกับผู้ที่ขอใบอนุญาตในประเทศ ซึ่งเสียค่าหลักประกันในอัตราที่สูงกว่า
อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมองว่าปัญหานี้เกิดจากผลของการไม่ปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง ทำให้มีการกระทำผิดในวงที่กว้างขึ้น ถ้าถามความคิดเห็นส่วนตัว ก็จะขอยืนยันว่าควรปล่อยให้มี 4 ประเภทดังเดิมแล้วปราบปรามผู้ละเมิดอย่างจริงจังและเด็ดขาด เพราะใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างงานสร้างรายได้ในชุมชน ในพื้นที่ของตัวเอง
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ยังไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องประเภทใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ ว่า จะคงไว้ 4 ประเภทเช่นเดิม หรือลดเหลือแค่ 3 ประเภท เพราะในที่ประชุมความเห็นของคณะกรรมการไม่ตรงกัน โดยบางคนได้เสนอให้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากสมาคมท่องเที่ยวทั่วประเทศในเรื่องของใบอนุญาติว่ามีความเห็นเช่นใด ก่อนการตัดสินใจปรับเปลี่ยน
ทั้งนี้ ปัจจุบันใบอนุญาติ 4 ประเภท ได้แก่ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่, ใบอนุญาตฯในประเทศ, ใบอนุญาตฯนำนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาประเทศไทย (อินบาวนด์) และ ใบอนุญาตินำนักท่องเที่ยวไทยไปต่างประเทศ (เอาต์บาวนด์) ซึ่งข้อเสนอที่ให้ลดเหลือ 3 ประเภท คือ ต้องการให้รวมใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ กับ ใบอนุญาตในประเทศ เข้าไว้ด้วยกัน และเก็บหลักประกันเท่ากัน
“ที่ประชุมมีการโต้แย้งกันว่า หากยุบรวมกันแล้วจะส่งผลให้คนในชุมชน ซึ่งมีเงินลงทุนที่น้อยกว่า ต้องจ่ายค่าหลักประกันเพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาไม่มีเงินจ่าย ซึ่งเรื่องนี้ต้องมาคุยในรายละเอียดให้ดีและเลือกแนวทางที่ดีที่สุด โดยต้องไม่กระทบกับคนที่มีใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ที่ดำเนินการมาอย่างถูกต้อง”
ขณะที่ นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ ในฐานะคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กล่าวว่า โดยส่วนตัวขอค้านการรวมใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่กับใบอนุญาติในประเทศ เพราะเหตุว่า ถ้ารวมกันแล้วต้องเก็บค่าประกันในอัตรา 10,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราเก็บใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ ก็ถือว่าเป็นเงินจำนวนน้อยไปถ้าจะเก็บเงินนี้เข้ากองทุนไว้สำหรับชดเชยค่าเสียหายให้แก่นักท่องเที่ยว แต่ถ้าใช้อัตรา 50,000 บาท เท่ากับใบอนุญาตในประเทศ ก็เป็นตัวเลขที่สูงสำหรับผู้ที่เคยถือใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนภายในชุมชน ทำให้คนในชุมชนต้องเสียโอกาสทำโปรแกรมนำเที่ยวในพื้นที่ของตัวเอง เพราะไม่มีเงินทุนพอ
อย่างไรก็ตาม น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เคยมอบหมายให้ตนเองนำประเด็นเรื่องค่าธรรมเนียมดังกล่าวนี้ไปสำรวจความคิดเห็นจากภาคเอกชนในสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งได้ข้อสรุปว่าควรคงไว้ 4 ประเภทเท่าเดิม
แต่คณะกรรมการในที่ประชุมครั้งนี้กลับยืนยันที่จะปรับลดเหลือ 3 ประเภท โดยอ้างว่าปัจจุบันผู้ที่ขอใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ ก็มีการรุกล้ำจัดทัวร์นอกเขตพื้นที่เช่นกัน ซึ่งเกิดความไม่ยุติธรรมกับผู้ที่ขอใบอนุญาตในประเทศ ซึ่งเสียค่าหลักประกันในอัตราที่สูงกว่า
อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมองว่าปัญหานี้เกิดจากผลของการไม่ปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง ทำให้มีการกระทำผิดในวงที่กว้างขึ้น ถ้าถามความคิดเห็นส่วนตัว ก็จะขอยืนยันว่าควรปล่อยให้มี 4 ประเภทดังเดิมแล้วปราบปรามผู้ละเมิดอย่างจริงจังและเด็ดขาด เพราะใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างงานสร้างรายได้ในชุมชน ในพื้นที่ของตัวเอง