เปิดแผน “กฤษณพร” อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์คนใหม่ พุ่งเป้าพัฒนาคนข่าวกรมประชาสัมพันธ์ วางตัวเป็นผู้ผลิตคอนเท้นท์โพรไวเดอร์ เน้นทำข่าวและผลิตรายการเอง ป้อนพันธมิตร ทั้งวิทยุชุมชนและเคเบิลทีวี รวมถึงฟรีทีวี หลังช่อง11 ถูกย้ายออกจากอก ไม่เกิน 3 เดือนคืบหน้า เผยเป้าหมายของกรมประชาสัมพันธ์ คือเป็นสื่อกลางให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด
นายกฤษณพร เสริมพานิช อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนเข้ามารับตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา เบื้องต้นของทิศทางการทำงานของกรมประชาสัมพันธ์หลังจากนี้ จะมีเป้าหมายในการนำกรมประชาสัมพันธ์ไปสู่การเป็นสื่อกลาง ในการทำกิจกรรมย่อย ประชาสัมพันธ์งานต่างๆของภาครัฐไปสู่ประชาชนมากยิ่งขึ้นโดยยึดเอาประชาชนเป็นที่ตั้งให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด
ขณะเดียวกัน จากแผนที่จะมีการนำสทท.11 หรือช่อง11 ไปสู่องค์การมหาชนในระยะอันใกล้นั้น แน่นอนว่าจะทำให้ช่อง11 ไม่ต้องขึ้นตรงกับกรมประชาสัมพันธ์อีกต่อไป รายได้ส่วนหนึ่งที่จะต้องได้จากกรมประชาสัมพันธ์ก็จะหายไป อีกทั้งในแง่ของการทำงานของบุคลากรด้านข่าวของกรมประชาสัมพันธ์ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง หลังจากที่เคยทำงานร่วมกับช่อง11
ทั้งนี้เบื้องต้นสำหรับแผนการดำเนินงานเร่งด่วน ที่ตนจะมุ่งทำให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด คือ เน้นเรื่องของการเป็นคอนเท้นท์โพรไวเดอร์ มุ่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านข่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้ผลิตข่าวเองมากขึ้น ทำรายการเอง ทั้งนี้เพื่อตอบสนองสถานการณ์ด้านสื่อ ที่ในอนาคตจะมีสถานีต่างๆเกิดขึ้นมากมาย
โดยในช่วงแรกนี้เรามีพันธมิตรอย่างวิทยุชุมชนทั่วประเทศกว่า 2,000 สถานี, สมาคมเคเบิลทีวี, สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม ซึ่งจะเป็นช่องทางใหม่ๆที่จะมีการตกลงร่วมกัน ในการรับข่าวจากทางสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ไปเผยแพร่ ส่วนในแง่บุคลากรกว่า 200 คน มองว่าจะต้องเพิ่มอีก 100 คนในการเข้ามาช่วยกันพัฒนาและยกระดับความเป็นสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น
นอกจากนี้ ทางกรมฯยังมีแผนการทำงานเกี่ยวกับ แผนการทำประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ช่วยภาครัฐและเอกชน ในราคาต้นทุนต่ำ เพราะมองว่ากรมฯมีเครื่องมือที่จะช่วยกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ สามารถทำประชาสัมพันธ์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ก็ได้เริ่มไปแล้วกับ ยูนิลีเวอร์ กับการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในต่างจังหวัด
นายกฤษณพร กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากรมประชาสัมพันธ์ได้งบพัฒนากรมฯต่อปี ราว 1,200 ล้านบาท แบ่งใช้เป็น จ่ายเงินเดือน 600 ล้านบาท, ค่าสาธารณูปโภค 200 ล้านบาท, รายจ่ายอื่นๆ 100 ล้านบาท และอีก 300 ล้านบาท เป็นงบที่ให้กับช่อง11 ดังนั้นหากไม่มีช่อง11 แล้ว ต่อปีกรมประชาสัมพันธ์จะมีงบเหลือเพียง 900 ล้านบาทเท่านั้น ถือว่าค่อนข้างน้อย แต่ก็ต้องจัดสรรให้ดี
นายกฤษณพร เสริมพานิช อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนเข้ามารับตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา เบื้องต้นของทิศทางการทำงานของกรมประชาสัมพันธ์หลังจากนี้ จะมีเป้าหมายในการนำกรมประชาสัมพันธ์ไปสู่การเป็นสื่อกลาง ในการทำกิจกรรมย่อย ประชาสัมพันธ์งานต่างๆของภาครัฐไปสู่ประชาชนมากยิ่งขึ้นโดยยึดเอาประชาชนเป็นที่ตั้งให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด
ขณะเดียวกัน จากแผนที่จะมีการนำสทท.11 หรือช่อง11 ไปสู่องค์การมหาชนในระยะอันใกล้นั้น แน่นอนว่าจะทำให้ช่อง11 ไม่ต้องขึ้นตรงกับกรมประชาสัมพันธ์อีกต่อไป รายได้ส่วนหนึ่งที่จะต้องได้จากกรมประชาสัมพันธ์ก็จะหายไป อีกทั้งในแง่ของการทำงานของบุคลากรด้านข่าวของกรมประชาสัมพันธ์ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง หลังจากที่เคยทำงานร่วมกับช่อง11
ทั้งนี้เบื้องต้นสำหรับแผนการดำเนินงานเร่งด่วน ที่ตนจะมุ่งทำให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด คือ เน้นเรื่องของการเป็นคอนเท้นท์โพรไวเดอร์ มุ่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านข่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้ผลิตข่าวเองมากขึ้น ทำรายการเอง ทั้งนี้เพื่อตอบสนองสถานการณ์ด้านสื่อ ที่ในอนาคตจะมีสถานีต่างๆเกิดขึ้นมากมาย
โดยในช่วงแรกนี้เรามีพันธมิตรอย่างวิทยุชุมชนทั่วประเทศกว่า 2,000 สถานี, สมาคมเคเบิลทีวี, สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม ซึ่งจะเป็นช่องทางใหม่ๆที่จะมีการตกลงร่วมกัน ในการรับข่าวจากทางสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ไปเผยแพร่ ส่วนในแง่บุคลากรกว่า 200 คน มองว่าจะต้องเพิ่มอีก 100 คนในการเข้ามาช่วยกันพัฒนาและยกระดับความเป็นสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น
นอกจากนี้ ทางกรมฯยังมีแผนการทำงานเกี่ยวกับ แผนการทำประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ช่วยภาครัฐและเอกชน ในราคาต้นทุนต่ำ เพราะมองว่ากรมฯมีเครื่องมือที่จะช่วยกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ สามารถทำประชาสัมพันธ์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ก็ได้เริ่มไปแล้วกับ ยูนิลีเวอร์ กับการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในต่างจังหวัด
นายกฤษณพร กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากรมประชาสัมพันธ์ได้งบพัฒนากรมฯต่อปี ราว 1,200 ล้านบาท แบ่งใช้เป็น จ่ายเงินเดือน 600 ล้านบาท, ค่าสาธารณูปโภค 200 ล้านบาท, รายจ่ายอื่นๆ 100 ล้านบาท และอีก 300 ล้านบาท เป็นงบที่ให้กับช่อง11 ดังนั้นหากไม่มีช่อง11 แล้ว ต่อปีกรมประชาสัมพันธ์จะมีงบเหลือเพียง 900 ล้านบาทเท่านั้น ถือว่าค่อนข้างน้อย แต่ก็ต้องจัดสรรให้ดี