กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เล็งพัฒนา 2 ท่าเรือฝั่งอันดามัน กันตัง และ ปากบารา รับกลุ่มนักท่องเที่ยวเรือครุยส์ โตต่อเนื่อง สวนกระแสเศรษฐกิจโลก เผย มติการประชุมความร่วมมือโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ไฟเขียวขยายเวลาความร่วมมือด้านท่องเที่ยว ไทยเตรียมบูมโรงแรม 3 ดาว และ โฮมสเตย์ รองรับดีมานด์
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า กระทรวงการท่องเที่ยวอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาท่าจอดเรือในฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อรองรับการเติบโตของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยเรือสำราญ (ครุยส์) และเรือส่วนตัว ที่จะเดินทางมาจากประเทศสิงคโปร์ โดยจะใช้งบประมาณในปี 2553 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะต้องใช้เงินจำนวนเท่าใด
เบื้องต้นคาดว่า จะพัฒนาใน 2 ท่าเรือหลัก ได้แก่ ท่าเรือ กันตัง จ.ตรัง และ ท่าเรือ ปากบารา จ.สตูล โดยทั้ง 2 ท่าเรือดังกล่าว ปัจจุบันเป็นท่าสำหรับเรือขนส่งสินค้า และท่าเรือท่องเที่ยวขนาดเล็ก แต่จากศักยภาพ และความลึกของน้ำ สามารถพัฒนาให้เป็นท่าจอดเรือสำราญขนาดใหญ่ และเรือยอชต์ได้ เช่นกัน
ที่ผ่านมา กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เริ่มจากการพัฒนาท่าเรือท่องเที่ยวในฝั่งอ่าวไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ของโครงการรอยัลโคสต์ ได้แก่ ท่าเทียบเรือสะพานหิน จ.เพชรบุรี, ท่าเทียบเรือหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ ท่าเทียบเรือคลองวาฬ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งใน 2 ท่าเรือฝั่งทะเลอันดามัน ที่กำลังศึกษาอยู่นี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเดินทางของนักท่องเที่ยวกลุ่มเรือสำราญ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของไทย ที่มีพื้นดินติดชายทะเลจำนวนมาก ทำให้มีศักยภาพรองรับการเติบโตของการท่องเที่ยวทางน้ำได้มากกว่า มาเลเซีย หรือ สิงคโปร์
“แนวคิดของกระทรวงการท่องเที่ยวที่เตรียมพัฒนาท่าเรือเพื่อรองรับการเติบโตของท่องเที่ยวทางน้ำนี้ สอดคล้องกับผลสำรวจขององค์การการท่องเที่ยวโลก หรือ WTO ที่ พบว่า ธุรกิจเรือครุยส์มีการเติบโตที่สวนกระแส จากธุรกิจท่องเที่ยวในเซกเมนต์อื่นๆ เพราะเรือครุยส์เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับบนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก”
ต่อเวลาความร่วมมือ IMT-GT อีก 5 ปี
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ยังเผยถึงผลการประชุมโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย หรือ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : IMT-GT) ว่า ล่าสุด ได้ขยายความร่วมมือด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกันออกไปอีก 5 ปี ถึงปี พ.ศ.2558 จากข้อตกลงเดิมที่จะร่วมมือกันถึงปี 2553 ทั้งนี้ เพราะต้องการให้โครงการนี้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจนต่อเนื่องยาวนาน
โดยมีจุดประสงค์ ที่จะก่อให้เกิดการเพิ่มรายได้ประชากรในพื้นที่, เพิ่มการจับจ่ายด้านการท่องเที่ยว ,และการเพิ่มอัตราเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมในพื้นที่ ซึ่งในส่วนของประเทศไทย จะครอบคลุม 14 จังหวัดภาคใต้
ในส่วนโรงแรมที่พัก จะเน้นที่โรงแรมระดับ 3 ดาว เพราะเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวในพื้นที่ของทั้ง 3 ประเทศมากที่สุด รวมถึงการขยายสู่การเข้าพักโฮมสเตย์ เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของกันและกัน ขณะที่การอำนวยความสะดวก จะต้องเพิ่มช่องทางการเดินทางให้คล่องตัวขึ้น จัดให้มีสายการบินต้นทุนต่ำ บินระหว่าง 3 ประเทศเพิ่มขึ้น การอำนวยความสะดวกและลดความแออัดที่ด่านชายแดน อ.สะเดา สำหรับผู้ที่เดินทางโดยรถยนต์และรถทัวร์
ด้าน นายจุมพล ชฎาวัฒน์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า ในปี 2552 คาดว่า การเดินทางท่องเที่ยวทางเรือจะเติบโตกว่า 150% หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 2 แสนคน เฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งนี้เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มที่นิยมท่องเที่ยวทางเรือในแถบยุโรปเริ่มอิ่มตัว จึงมองหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่สามารถใช้เรือในการเดินทางได้
ดังนั้น ประเทศไทยในฐานะที่มีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ จึงต้องเตรียมรับมือการเติบโตของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ เนื่องจากตรงกับนโยบายของรัฐบาลและททท.ที่ต้องการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวคุณภาพ เพราะนักท่องเที่ยวทางเรือจะมีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันที่ 8,000-10,000 บาท วันพักเฉลี่ย 7 วัน
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า กระทรวงการท่องเที่ยวอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาท่าจอดเรือในฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อรองรับการเติบโตของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยเรือสำราญ (ครุยส์) และเรือส่วนตัว ที่จะเดินทางมาจากประเทศสิงคโปร์ โดยจะใช้งบประมาณในปี 2553 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะต้องใช้เงินจำนวนเท่าใด
เบื้องต้นคาดว่า จะพัฒนาใน 2 ท่าเรือหลัก ได้แก่ ท่าเรือ กันตัง จ.ตรัง และ ท่าเรือ ปากบารา จ.สตูล โดยทั้ง 2 ท่าเรือดังกล่าว ปัจจุบันเป็นท่าสำหรับเรือขนส่งสินค้า และท่าเรือท่องเที่ยวขนาดเล็ก แต่จากศักยภาพ และความลึกของน้ำ สามารถพัฒนาให้เป็นท่าจอดเรือสำราญขนาดใหญ่ และเรือยอชต์ได้ เช่นกัน
ที่ผ่านมา กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เริ่มจากการพัฒนาท่าเรือท่องเที่ยวในฝั่งอ่าวไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ของโครงการรอยัลโคสต์ ได้แก่ ท่าเทียบเรือสะพานหิน จ.เพชรบุรี, ท่าเทียบเรือหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ ท่าเทียบเรือคลองวาฬ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งใน 2 ท่าเรือฝั่งทะเลอันดามัน ที่กำลังศึกษาอยู่นี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเดินทางของนักท่องเที่ยวกลุ่มเรือสำราญ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของไทย ที่มีพื้นดินติดชายทะเลจำนวนมาก ทำให้มีศักยภาพรองรับการเติบโตของการท่องเที่ยวทางน้ำได้มากกว่า มาเลเซีย หรือ สิงคโปร์
“แนวคิดของกระทรวงการท่องเที่ยวที่เตรียมพัฒนาท่าเรือเพื่อรองรับการเติบโตของท่องเที่ยวทางน้ำนี้ สอดคล้องกับผลสำรวจขององค์การการท่องเที่ยวโลก หรือ WTO ที่ พบว่า ธุรกิจเรือครุยส์มีการเติบโตที่สวนกระแส จากธุรกิจท่องเที่ยวในเซกเมนต์อื่นๆ เพราะเรือครุยส์เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับบนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก”
ต่อเวลาความร่วมมือ IMT-GT อีก 5 ปี
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ยังเผยถึงผลการประชุมโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย หรือ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : IMT-GT) ว่า ล่าสุด ได้ขยายความร่วมมือด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกันออกไปอีก 5 ปี ถึงปี พ.ศ.2558 จากข้อตกลงเดิมที่จะร่วมมือกันถึงปี 2553 ทั้งนี้ เพราะต้องการให้โครงการนี้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจนต่อเนื่องยาวนาน
โดยมีจุดประสงค์ ที่จะก่อให้เกิดการเพิ่มรายได้ประชากรในพื้นที่, เพิ่มการจับจ่ายด้านการท่องเที่ยว ,และการเพิ่มอัตราเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมในพื้นที่ ซึ่งในส่วนของประเทศไทย จะครอบคลุม 14 จังหวัดภาคใต้
ในส่วนโรงแรมที่พัก จะเน้นที่โรงแรมระดับ 3 ดาว เพราะเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวในพื้นที่ของทั้ง 3 ประเทศมากที่สุด รวมถึงการขยายสู่การเข้าพักโฮมสเตย์ เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของกันและกัน ขณะที่การอำนวยความสะดวก จะต้องเพิ่มช่องทางการเดินทางให้คล่องตัวขึ้น จัดให้มีสายการบินต้นทุนต่ำ บินระหว่าง 3 ประเทศเพิ่มขึ้น การอำนวยความสะดวกและลดความแออัดที่ด่านชายแดน อ.สะเดา สำหรับผู้ที่เดินทางโดยรถยนต์และรถทัวร์
ด้าน นายจุมพล ชฎาวัฒน์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า ในปี 2552 คาดว่า การเดินทางท่องเที่ยวทางเรือจะเติบโตกว่า 150% หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 2 แสนคน เฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งนี้เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มที่นิยมท่องเที่ยวทางเรือในแถบยุโรปเริ่มอิ่มตัว จึงมองหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่สามารถใช้เรือในการเดินทางได้
ดังนั้น ประเทศไทยในฐานะที่มีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ จึงต้องเตรียมรับมือการเติบโตของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ เนื่องจากตรงกับนโยบายของรัฐบาลและททท.ที่ต้องการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวคุณภาพ เพราะนักท่องเที่ยวทางเรือจะมีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันที่ 8,000-10,000 บาท วันพักเฉลี่ย 7 วัน