ศศิธารา สบช่อง CEO ท่องเที่ยวสิงคโปร์มาไทยเดือนหน้า เตรียมขายฝันโครงการรอยัลโคสต์ต่อนักลงทุนสิงคโปร์ ชูท่าเทียบเรือ 3 แห่งในโครงการหวังกล่อมดึงเม็ดเงินลงทุนเข้าพื้นที่ ปั้นนักท่องเที่ยวจากตลาดเรือสำราญเป็น 5 แสนคน ในอีก 2 ปีหน้า
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยภายหลังการประชุมเตรียมการรับรอง Ms.Aw Kah Peng CEO of Singapore Tourism Board และคณะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ว่า กระทรวงการท่องเที่ยวฯจะนำเสนอแผนพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย หรือรอยัลโคสต์ (The Royal Coast) ซึ่งเป็น 1 ใน 14คลัสเตอร์ของการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวที่ทางรัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ
ทั้งนี้ Ms.Aw Kah Peng และคณะจะเดินทางมาประเทศไทยระหว่างวันที่ 9-10 มิ.ย.2552 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวฯจะพาชมพื้นที่ในโครงการรอยัลโคสต์ โดยเฉพาะในส่วนของท่าเทียบเรือ 3 แห่งที่เตรียมจะพัฒนา ได้แก่ 1.ท่าเทียบเรือสะพานหิน จ.เพชรบุรี สำหรับรองรับเรือสปีดโบ้ต เรือเร็วและเรือขนาดเล็ก ที่จะวิ่งตรงระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรืออู่ตะเภา จ.ชลบุรี 2.ท่าเทียบเรือหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นท่าเรือลอย และ 3.ท่าเทียบเรือคลองวาฬ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นท่าเรือขนาดใหญ่สำหรับจอดเรือครุยซ์และเรือสำราญขนาดใหญ่
ทั้ง 3 ท่าเทียบเรือดังกล่าว จะถูกพัฒนาและปรับปรุงให้เป็นระดับที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ ที่เดินทางโดยเรือครุยซ์ ที่เดินทางออกจากท่าเรือมารีน่า เบย์ ประเทศสิงคโปร์ ที่จะเริ่มให้บริการในปี 2553 โดยในปีงบประมาณ 2553 กระทรวงการท่องเที่ยวฯได้รับจัดสรรงบประมาณเฉพาะโครงการนี้ วงเงิน 30 ล้านบาท เป็นงบประเดิมเบื้องต้นสำหรับใช้ศึกษาและบางส่วนจะใช้ขุดร่องน้ำที่ท่าเรือคลองวาฬให้ลึกเพียงพอรับเรือขนาดใหญ่ ขณะที่กรมทางหลวงชนบทก็ได้รับจัดสรรงบ 22 ล้านบาท สำหรับทำถนน ซีนิท รูท เลียบชายฝั่งทะเลตั้งแต่ จ.สมุทรสงคราม ลงมาถึงเพชรบุรี และประจวบฯ และ ป้ายบอกทาง นอกจากนั้นในแผนของโครงการยังมีเรื่องของการจัดทำศูนย์ดำน้ำ และ สนามบินปะทิว จ.ชุมพร ด้วย
“การเดินทางมาของคณะจากสิงคโปร์ในครั้งนี้ เขาจะนักธุรกิจด้านเรือสำราญ และผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจเรือครุยซ์ร่วมลงพื้นที่ดูความพร้อมและศักยภาพของประเทศไทยด้วย หากเขาสนใจลงทุนประเทศไทยก็เปิดกว้าง โดยจะต้องมาคุยในรายละเอียดร่วมกันอีกครั้ง”
อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯยังได้จัดเวลาให้คณะจากสิงคโปร์ได้พบปะกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ เช่น สมาคมท่องเที่ยว และสมาคมโรงแรมใน จ.เพชรบุรี และประจวบฯ นำเสนอสินค้าและบริการที่ประเทศไทยมีและโปรเจคต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อให้คณะจากสิงคโปร์ได้เห็นภาพชัดเจนและเกิดความมั่นใจในโครงการรอยัลโคสต์ของประเทศไทย
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเดินทางมาของคณะจากประเทศสิงคโปร์ในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีของการร่วมมือส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน ซึ่งประเทศสิงคโปร์มีความเชียวชาญด้านธุรกิจเรือสำราญและการทำตลาด ขณะที่ประเทศไทยก็มีศักยภาพทางพื้นที่เช่นกัน ดังนั้น หากร่วมมือกันส่งเสริมให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือจะได้ประโยชน์ทั้งสองประเทศ นักท่องเที่ยวก็ได้รับความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
โดยโครงการนี้ สามารถจัดเส้นทางให้เดินทางไปได้ถึงกัมพูชาและเวียดนาม ในพื้นที่ติดชายทะเล ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวทางเรือสำราญ (ครุยซ์) ต่อปีประมาณ 2 แสนคน หากโครงการนี้สำเร็จเบื้องต้นน่าจะเพิ่มเป็น 5 แสนคนภายใน 2 ปีนับจากนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพใช้จ่ายสูงโดยแนวโน้มลาดเรือครุยซ์จะเริ่มหันมาเที่ยวในแถบเอเชียมากขึ้นจากในอดีตจะเที่ยวกันแถบยุโรป
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยภายหลังการประชุมเตรียมการรับรอง Ms.Aw Kah Peng CEO of Singapore Tourism Board และคณะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ว่า กระทรวงการท่องเที่ยวฯจะนำเสนอแผนพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย หรือรอยัลโคสต์ (The Royal Coast) ซึ่งเป็น 1 ใน 14คลัสเตอร์ของการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวที่ทางรัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ
ทั้งนี้ Ms.Aw Kah Peng และคณะจะเดินทางมาประเทศไทยระหว่างวันที่ 9-10 มิ.ย.2552 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวฯจะพาชมพื้นที่ในโครงการรอยัลโคสต์ โดยเฉพาะในส่วนของท่าเทียบเรือ 3 แห่งที่เตรียมจะพัฒนา ได้แก่ 1.ท่าเทียบเรือสะพานหิน จ.เพชรบุรี สำหรับรองรับเรือสปีดโบ้ต เรือเร็วและเรือขนาดเล็ก ที่จะวิ่งตรงระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรืออู่ตะเภา จ.ชลบุรี 2.ท่าเทียบเรือหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นท่าเรือลอย และ 3.ท่าเทียบเรือคลองวาฬ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นท่าเรือขนาดใหญ่สำหรับจอดเรือครุยซ์และเรือสำราญขนาดใหญ่
ทั้ง 3 ท่าเทียบเรือดังกล่าว จะถูกพัฒนาและปรับปรุงให้เป็นระดับที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ ที่เดินทางโดยเรือครุยซ์ ที่เดินทางออกจากท่าเรือมารีน่า เบย์ ประเทศสิงคโปร์ ที่จะเริ่มให้บริการในปี 2553 โดยในปีงบประมาณ 2553 กระทรวงการท่องเที่ยวฯได้รับจัดสรรงบประมาณเฉพาะโครงการนี้ วงเงิน 30 ล้านบาท เป็นงบประเดิมเบื้องต้นสำหรับใช้ศึกษาและบางส่วนจะใช้ขุดร่องน้ำที่ท่าเรือคลองวาฬให้ลึกเพียงพอรับเรือขนาดใหญ่ ขณะที่กรมทางหลวงชนบทก็ได้รับจัดสรรงบ 22 ล้านบาท สำหรับทำถนน ซีนิท รูท เลียบชายฝั่งทะเลตั้งแต่ จ.สมุทรสงคราม ลงมาถึงเพชรบุรี และประจวบฯ และ ป้ายบอกทาง นอกจากนั้นในแผนของโครงการยังมีเรื่องของการจัดทำศูนย์ดำน้ำ และ สนามบินปะทิว จ.ชุมพร ด้วย
“การเดินทางมาของคณะจากสิงคโปร์ในครั้งนี้ เขาจะนักธุรกิจด้านเรือสำราญ และผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจเรือครุยซ์ร่วมลงพื้นที่ดูความพร้อมและศักยภาพของประเทศไทยด้วย หากเขาสนใจลงทุนประเทศไทยก็เปิดกว้าง โดยจะต้องมาคุยในรายละเอียดร่วมกันอีกครั้ง”
อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯยังได้จัดเวลาให้คณะจากสิงคโปร์ได้พบปะกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ เช่น สมาคมท่องเที่ยว และสมาคมโรงแรมใน จ.เพชรบุรี และประจวบฯ นำเสนอสินค้าและบริการที่ประเทศไทยมีและโปรเจคต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อให้คณะจากสิงคโปร์ได้เห็นภาพชัดเจนและเกิดความมั่นใจในโครงการรอยัลโคสต์ของประเทศไทย
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเดินทางมาของคณะจากประเทศสิงคโปร์ในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีของการร่วมมือส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน ซึ่งประเทศสิงคโปร์มีความเชียวชาญด้านธุรกิจเรือสำราญและการทำตลาด ขณะที่ประเทศไทยก็มีศักยภาพทางพื้นที่เช่นกัน ดังนั้น หากร่วมมือกันส่งเสริมให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือจะได้ประโยชน์ทั้งสองประเทศ นักท่องเที่ยวก็ได้รับความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
โดยโครงการนี้ สามารถจัดเส้นทางให้เดินทางไปได้ถึงกัมพูชาและเวียดนาม ในพื้นที่ติดชายทะเล ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวทางเรือสำราญ (ครุยซ์) ต่อปีประมาณ 2 แสนคน หากโครงการนี้สำเร็จเบื้องต้นน่าจะเพิ่มเป็น 5 แสนคนภายใน 2 ปีนับจากนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพใช้จ่ายสูงโดยแนวโน้มลาดเรือครุยซ์จะเริ่มหันมาเที่ยวในแถบเอเชียมากขึ้นจากในอดีตจะเที่ยวกันแถบยุโรป