เฟสต้าเตรียมยื่นขอคณะกรรมการสรรหา เชิญผู้สมัครผู้ว่าการ ททท.แสดงวิสัยทัศน์ต่อเอกชน หวังได้คนรู้จริงเข้ามาทำงานด้านท่องเที่ยว พร้อมตีกันไม่ให้การเมืองส่งคนของตัวเองมารับตำแหน่ง ชี้ “วีระศักดิ์” คิดถูกแล้วที่ลาออกจากประธานบอร์ด ททท.ฉายภาพการทำงานที่โดยล้วงลูกได้ชัดเจน ฉะประธาน สทท.นั่งบื้อไม่แสดงบทบาทเอกชนอย่างแท้จริง
นายอภิชาติ สังฆอารี กรรมการสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือ เฟสต้า เปิดเผยว่า เตรียมหารือกับสมาชิกเฟสต้า เพื่อทำจดหมายส่งถึง น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อขอให้ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ได้แสดงวิสัยทัศน์ให้แก่ภาคเอกชนได้รับฟังด้วย
“หลังจากวันที่ 29 ก.ย.2552 ที่จะมีการเปิดซองรายชื่อผู้สมัครเข้ารับการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.เราในฐานะภาคเอกชนก็ต้องการทราบวิสัยทัศน์ของผู้ที่จะเข้ามารับตำแหน่งสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในครั้งนี้ด้วย จึงต้องการขอเชิญผู้สมัครทั้งหมดร่วมแสดงวิสัยทัศน์ที่มีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เราได้รับรู้ด้วยเพื่อในอนาคตหากทำงานไม่ได้อย่างที่พูดไว้จะได้ต่อว่าได้ถูก อีกทั้งไม่ต้องการให้การเมืองเข้ามาครอบงำคนในวงการนี้ไปเสียทั้งหมด ซึ่งตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ก็ต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชนด้วยเช่นกัน”
***ฉะการเมืองแทรกแซง***
ส่วนกรณีการลาออกจากตำแหน่งประธานบอร์ด ททท.ของ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ภาคเอกชนเห็นด้วย เพราะถ้าอยู่แล้วไม่มีอิสระกับการทำงานก็ควรจะลาออกเสียดีกว่าอยู่ไปก็เปลืองตัวไม่สามารถทำงานได้อย่างอิสระ เพราะก่อนหน้านี้ น.ส.เพ็ญสุดา ไพร่อร่าม รักษาการผู้ว่าการ ททท.เคยให้สัมภาษณ์สื่อไปแล้วว่า จะไม่มีการแต่งตั้งโยกย้ายใดๆ เกิดขึ้น
เพราะจะรอให้ผู้ว่าการ ททท.ที่จะรับตำแหน่งเป็นผู้เลือกทีมงานเอง แต่ 2 วันต่อมา มีการประชุมบอร์ด ททท.โดย นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้ขอประชุมลับ แล้วผลก็ออกมาว่ามีการแต่งตั้งโยกย้ายระดับผู้บริหาร สะท้อนให้เห็นว่าการบริหารงานของ ททท.มีการเมืองเข้ามาแทรกแซง ทั้งที่ พ.ร.บ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฉบับปัจจุบัน ซึ่งมีการแก้ไขจากฉบับเก่า ว่า ตำแหน่งประธานบอร์ด ททท.จะมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว เพื่อป้องกันไม่ให้การทำงานมีการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยว จากก่อนหน้านี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวจะเป็นประธานบอร์ด ททท.โดยตำแหน่ง
ดังนั้น การเข้ามาร่วมประชุมบอร์ดของ ททท.ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ก็สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ได้ปล่อยให้หน่วยงานนี้มีอิสระต่อการทำงานอย่างแท้จริง
****ชี้ประธาน สทท.ไม่เป็นตัวแทนเอกชนจริง****
นอกจากนั้น โครงการบอร์ด ททท.ภายใต้ พ.ร.บ.การท่องเที่ยวฯฉบับใหม่นี้ ได้วางตำแหน่งให้เอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร ด้วยถึง 3 เก้าอี้ โดยประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เป็นตัวแทนภาคเอกชนที่เข้าไปนั่งเป็นกรรมโดยตำแหน่ง แต่กลับนั่งเฉยไม่มีการตอบโตหรือคัดค้านการแต่งตั้งที่ไม่ถูกต้องเช่นนี้ หรือเมื่อเห็นการถูกแทรกแซงทางการเมือง และเมื่อเสร็จการประชุม ก็ไม่มีแถลงการณ์ของ สทท.ที่จะออกมาแสดงความเป็นไม่เห็นด้วยต่อการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งรองผู้ว่าการ ททท.ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า การทำงานของผู้นำสทท.ก็ไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน
***ยื่นใบสมัครแล้ว 2 คน *****
ด้าน น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.กล่าวว่า หากเฟสต้าต้องการขอเชิญผู้สมัครรับคัดสรรตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ไปแสดงวิสัยทัศน์ให้ได้รับฟัง คงต้องนำเรื่องเข้าหารือกับคณะกรรมการสรรหาทั้งหมดก่อนที่จะตัดสินใจว่าสามารถทำได้หรือไม่อย่างไร เพราะเราทำงานกันเป็นทีม จึงยังไม่สามารถตัดสินใจคนเดียวได้
แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยว ระบุว่า ถึงวันนี้ มีผู้สนใจยื่นใบสมัครเข้ารับการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.แล้ว 2 คน คือ น.ส.ประกายดาว เขมะจันตรี กรรมการ กรีนวัลเล่ย์ คันทรี คลับ และ ม.ล.หทัยชนก กฤษดากร กรรมการบริหาร แอคคอร์ กรุ๊ป ดำเนินธุรกิจโรงแรมที่พัก โดยยังเหลือเวลาเปิดรับสมัครอีก 4 วัน คือถึงวันที่ 28 ก.ย.52 คาดว่าจะมีผู้สนใจยื่นใบสมัครในช่วงใกล้วันปิดรับสมัคร
ขณะที่ คนในหน่วยงาน ททท.ก็มีมาขอรับใบสมัครไป 2 คน คือ นายสุรพล เศวตเศรนี รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน และ นายอักกพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการด้านสินค้าท่องเที่ยว แต่ก็ยังไม่ได้มายื่นใบสมัครอย่างเป็นทางการ ส่วนการสอบถามจากคนภายนอก ก็มีอยู่ราว 2-3 ราย
นายประเสริฐ วรพิทักษ์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สรทท.) กล่าวว่า สรทท.กังวลว่า นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะตั้งผู้ที่มาจากพรรคการเมืองเข้ามานั่งตำแหน่งประธานบอร์ดทททงแทนนายวีระศักดิ์ ที่ลาออกไป ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับว่า การทำงานของ ททท.ก็จะถูกการเมืองเข้ามาแทรกแซงอยู่ร่ำไป
นายอภิชาติ สังฆอารี กรรมการสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือ เฟสต้า เปิดเผยว่า เตรียมหารือกับสมาชิกเฟสต้า เพื่อทำจดหมายส่งถึง น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อขอให้ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ได้แสดงวิสัยทัศน์ให้แก่ภาคเอกชนได้รับฟังด้วย
“หลังจากวันที่ 29 ก.ย.2552 ที่จะมีการเปิดซองรายชื่อผู้สมัครเข้ารับการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.เราในฐานะภาคเอกชนก็ต้องการทราบวิสัยทัศน์ของผู้ที่จะเข้ามารับตำแหน่งสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในครั้งนี้ด้วย จึงต้องการขอเชิญผู้สมัครทั้งหมดร่วมแสดงวิสัยทัศน์ที่มีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เราได้รับรู้ด้วยเพื่อในอนาคตหากทำงานไม่ได้อย่างที่พูดไว้จะได้ต่อว่าได้ถูก อีกทั้งไม่ต้องการให้การเมืองเข้ามาครอบงำคนในวงการนี้ไปเสียทั้งหมด ซึ่งตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ก็ต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชนด้วยเช่นกัน”
***ฉะการเมืองแทรกแซง***
ส่วนกรณีการลาออกจากตำแหน่งประธานบอร์ด ททท.ของ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ภาคเอกชนเห็นด้วย เพราะถ้าอยู่แล้วไม่มีอิสระกับการทำงานก็ควรจะลาออกเสียดีกว่าอยู่ไปก็เปลืองตัวไม่สามารถทำงานได้อย่างอิสระ เพราะก่อนหน้านี้ น.ส.เพ็ญสุดา ไพร่อร่าม รักษาการผู้ว่าการ ททท.เคยให้สัมภาษณ์สื่อไปแล้วว่า จะไม่มีการแต่งตั้งโยกย้ายใดๆ เกิดขึ้น
เพราะจะรอให้ผู้ว่าการ ททท.ที่จะรับตำแหน่งเป็นผู้เลือกทีมงานเอง แต่ 2 วันต่อมา มีการประชุมบอร์ด ททท.โดย นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้ขอประชุมลับ แล้วผลก็ออกมาว่ามีการแต่งตั้งโยกย้ายระดับผู้บริหาร สะท้อนให้เห็นว่าการบริหารงานของ ททท.มีการเมืองเข้ามาแทรกแซง ทั้งที่ พ.ร.บ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฉบับปัจจุบัน ซึ่งมีการแก้ไขจากฉบับเก่า ว่า ตำแหน่งประธานบอร์ด ททท.จะมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว เพื่อป้องกันไม่ให้การทำงานมีการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยว จากก่อนหน้านี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวจะเป็นประธานบอร์ด ททท.โดยตำแหน่ง
ดังนั้น การเข้ามาร่วมประชุมบอร์ดของ ททท.ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ก็สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ได้ปล่อยให้หน่วยงานนี้มีอิสระต่อการทำงานอย่างแท้จริง
****ชี้ประธาน สทท.ไม่เป็นตัวแทนเอกชนจริง****
นอกจากนั้น โครงการบอร์ด ททท.ภายใต้ พ.ร.บ.การท่องเที่ยวฯฉบับใหม่นี้ ได้วางตำแหน่งให้เอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร ด้วยถึง 3 เก้าอี้ โดยประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เป็นตัวแทนภาคเอกชนที่เข้าไปนั่งเป็นกรรมโดยตำแหน่ง แต่กลับนั่งเฉยไม่มีการตอบโตหรือคัดค้านการแต่งตั้งที่ไม่ถูกต้องเช่นนี้ หรือเมื่อเห็นการถูกแทรกแซงทางการเมือง และเมื่อเสร็จการประชุม ก็ไม่มีแถลงการณ์ของ สทท.ที่จะออกมาแสดงความเป็นไม่เห็นด้วยต่อการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งรองผู้ว่าการ ททท.ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า การทำงานของผู้นำสทท.ก็ไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน
***ยื่นใบสมัครแล้ว 2 คน *****
ด้าน น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.กล่าวว่า หากเฟสต้าต้องการขอเชิญผู้สมัครรับคัดสรรตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ไปแสดงวิสัยทัศน์ให้ได้รับฟัง คงต้องนำเรื่องเข้าหารือกับคณะกรรมการสรรหาทั้งหมดก่อนที่จะตัดสินใจว่าสามารถทำได้หรือไม่อย่างไร เพราะเราทำงานกันเป็นทีม จึงยังไม่สามารถตัดสินใจคนเดียวได้
แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยว ระบุว่า ถึงวันนี้ มีผู้สนใจยื่นใบสมัครเข้ารับการสรรหาตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.แล้ว 2 คน คือ น.ส.ประกายดาว เขมะจันตรี กรรมการ กรีนวัลเล่ย์ คันทรี คลับ และ ม.ล.หทัยชนก กฤษดากร กรรมการบริหาร แอคคอร์ กรุ๊ป ดำเนินธุรกิจโรงแรมที่พัก โดยยังเหลือเวลาเปิดรับสมัครอีก 4 วัน คือถึงวันที่ 28 ก.ย.52 คาดว่าจะมีผู้สนใจยื่นใบสมัครในช่วงใกล้วันปิดรับสมัคร
ขณะที่ คนในหน่วยงาน ททท.ก็มีมาขอรับใบสมัครไป 2 คน คือ นายสุรพล เศวตเศรนี รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน และ นายอักกพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการด้านสินค้าท่องเที่ยว แต่ก็ยังไม่ได้มายื่นใบสมัครอย่างเป็นทางการ ส่วนการสอบถามจากคนภายนอก ก็มีอยู่ราว 2-3 ราย
นายประเสริฐ วรพิทักษ์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สรทท.) กล่าวว่า สรทท.กังวลว่า นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะตั้งผู้ที่มาจากพรรคการเมืองเข้ามานั่งตำแหน่งประธานบอร์ดทททงแทนนายวีระศักดิ์ ที่ลาออกไป ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับว่า การทำงานของ ททท.ก็จะถูกการเมืองเข้ามาแทรกแซงอยู่ร่ำไป