ส.โรงแรมโวย เงินกู้เอสเอ็มอีอืดสุดๆ 6 เดือนพิจารณาจ่ายแค่ 3 ราย จากที่ยื่นขอกว่า 336 ราย ชี้ ผิดที่ระบบการทำงานและการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐล่าช้า หวั่นโครงการเงินกู้ฟาสต์แทรกซ้ำรอยเดิม ไม่ได้ไวเหมือนชื่อ
นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า ได้สอบถามผู้ประกอบการโรงแรม ที่ยื่นขอรับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ในโครงการช่วยเหลือสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วงเงินกู้ 5,000 ล้านบาท พบว่า มีสมาชิกที่ได้รับการตอบกลับจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ว่า จะได้รับเงินกู้เป็นจำนวนรวม 35 ราย รวมวงเงิน 103 ล้านบาท จากที่ยื่นเอกสารขอกู้และผ่านการพิจารณาขั้นต้นแล้ว 336 ราย แต่ที่แย่ไปกว่านั้น คือ ใน 35 ราย ที่ได้รับการอนุมัตินั้น มีที่ได้รับเงินแล้วจริงๆ เพีบง 3 ราย เป็นวงเงินรวม 11 ล้านบาท ทั้งที่ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มโครงการถึงขณะนี้กว่า 6 เดือนแล้ว
สะท้อนให้เห็นว่า โครงการนี้มีการดำเนินงานที่แย่มากๆ ไม่สามารถช่วยเหลือเอกชนได้จริง และยังให้ข้อมูลไม่ตรงกับความจริง เพราะทุกครั้งที่ระดับรัฐมนตรีมีการเรียกถามเอสเอ็มอีแบงก์ก็จะตอบว่า อนุมัติไปเยอะแล้ว ล่าสุด ทีเอชเอ จึงส่งตัวแทนเข้าพบเพื่อหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่าทำไมโครงการนี้จึงล่าช้าเช่นนี้
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่า สาเหตุความล่าช้ามาจากระบบการทำงาน กระบวนการจัดการ และการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานราชการ เพราะการที่ ครม.มีมติรับรองหรือรับประกันความเสี่ยงให้แก่เอสเอ็มอีแบงก์ แต่ก็ไม่ได้มีการเซ็นเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้ ทางธนาคารก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ เพราหากปล่อยกู้ธุรกิจจะเกิดความเสี่ยง
“กรณีเงินกู้นี้ จะคล้ายกับกรณีโครงการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมวีซ่า ที่รัฐบาลมีมติขยายเวลาออกไปถึงปีหน้า แต่ กระทรวงการต่างประเทศ ยังไม่ได้รับหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร จึงปฏิบัติไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมานักท่องเที่ยวจากตลาดจีนก็ต้องเสียความรู้สึก เพราะ ต้องเสียวีซ่าเข้าประเทศไทย เพราะความล่าช้าและประสานงานของหน่วยราชการไทยนั่นเอง”
อย่างไรตาม กรณีโครงการเงินกู้ฟาสต์แทรก ที่กระทรวงการคลังจะเปิดตัวใหม่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล้องทั่วประเทศนี้ ทีเอชเอก็ยังไม่มั่นใจว่า สามารถดำเนินการได้รวดเร็วจริงตามชื่อของโครงการ ซึ่งโควตาของ ทีเอชเอ คาดว่าจะได้รับจัดสรรวงเงินกู้จากโครงการนี้ 10,000 ล้านบาท ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 200ล้านบาท ก็สามารถยื่นกู้ได้ ซึ่งทีเอชเอ คงต้องขอความชัดเจนเรื่องเงื่อนไขการกู้และพิจารณาปล่อยกู้อีกเช่นกัน ว่าจะคิดอัตราดอกเบี้ยเท่าใด เพื่อประกอบการตัดสินใจ
นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า ได้สอบถามผู้ประกอบการโรงแรม ที่ยื่นขอรับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ในโครงการช่วยเหลือสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วงเงินกู้ 5,000 ล้านบาท พบว่า มีสมาชิกที่ได้รับการตอบกลับจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ว่า จะได้รับเงินกู้เป็นจำนวนรวม 35 ราย รวมวงเงิน 103 ล้านบาท จากที่ยื่นเอกสารขอกู้และผ่านการพิจารณาขั้นต้นแล้ว 336 ราย แต่ที่แย่ไปกว่านั้น คือ ใน 35 ราย ที่ได้รับการอนุมัตินั้น มีที่ได้รับเงินแล้วจริงๆ เพีบง 3 ราย เป็นวงเงินรวม 11 ล้านบาท ทั้งที่ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มโครงการถึงขณะนี้กว่า 6 เดือนแล้ว
สะท้อนให้เห็นว่า โครงการนี้มีการดำเนินงานที่แย่มากๆ ไม่สามารถช่วยเหลือเอกชนได้จริง และยังให้ข้อมูลไม่ตรงกับความจริง เพราะทุกครั้งที่ระดับรัฐมนตรีมีการเรียกถามเอสเอ็มอีแบงก์ก็จะตอบว่า อนุมัติไปเยอะแล้ว ล่าสุด ทีเอชเอ จึงส่งตัวแทนเข้าพบเพื่อหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่าทำไมโครงการนี้จึงล่าช้าเช่นนี้
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่า สาเหตุความล่าช้ามาจากระบบการทำงาน กระบวนการจัดการ และการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานราชการ เพราะการที่ ครม.มีมติรับรองหรือรับประกันความเสี่ยงให้แก่เอสเอ็มอีแบงก์ แต่ก็ไม่ได้มีการเซ็นเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้ ทางธนาคารก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ เพราหากปล่อยกู้ธุรกิจจะเกิดความเสี่ยง
“กรณีเงินกู้นี้ จะคล้ายกับกรณีโครงการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมวีซ่า ที่รัฐบาลมีมติขยายเวลาออกไปถึงปีหน้า แต่ กระทรวงการต่างประเทศ ยังไม่ได้รับหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร จึงปฏิบัติไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมานักท่องเที่ยวจากตลาดจีนก็ต้องเสียความรู้สึก เพราะ ต้องเสียวีซ่าเข้าประเทศไทย เพราะความล่าช้าและประสานงานของหน่วยราชการไทยนั่นเอง”
อย่างไรตาม กรณีโครงการเงินกู้ฟาสต์แทรก ที่กระทรวงการคลังจะเปิดตัวใหม่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล้องทั่วประเทศนี้ ทีเอชเอก็ยังไม่มั่นใจว่า สามารถดำเนินการได้รวดเร็วจริงตามชื่อของโครงการ ซึ่งโควตาของ ทีเอชเอ คาดว่าจะได้รับจัดสรรวงเงินกู้จากโครงการนี้ 10,000 ล้านบาท ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 200ล้านบาท ก็สามารถยื่นกู้ได้ ซึ่งทีเอชเอ คงต้องขอความชัดเจนเรื่องเงื่อนไขการกู้และพิจารณาปล่อยกู้อีกเช่นกัน ว่าจะคิดอัตราดอกเบี้ยเท่าใด เพื่อประกอบการตัดสินใจ