บ.เหล้าหัวหมอ หลบเลี่ยงกฎหมาย แฝงรายการข่าว ละคร อวดโลโก้ เพิ่มขึ้น ช้าง-สิงห์-ไฮเนเก้น ไม่ทิ้งกัน สธ.ดำเนินคดีปรับร้านอาหาร โรงแรม ฝ่าฝืนกฎหมายแล้วกว่า 30 แห่ง จ่อจับทีวีตัวดีเผยแพร่โฆษณาเหล้าผิดกฎหมายโดนก่อน เอาจริงไม่เตือน ส่งสัญญาณพิจารณาจับเลย
ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ แก้วมุงคุณ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสื่อหนังสือพิมพ์ 9 ฉบับ และฟรีทีวีทุกช่อง เป็นประจำทุกเดือน โดยสำรวจตลอด 24 ชั่วโมง ใน 1 สัปดาห์ พบภาพรวมมีการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบช่วงก่อนที่จะมี พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งที่เป็นไปตามกฎหมายกำหนดและใช้ช่องโหว่ที่กฎกระทรวงยังไม่ออกมาบังคับใช้ เนื่องจากอยู่ระหว่างสำนักงานกฤษฎีกาตีความอยู่ โดยการโฆษณาเห็นขวดทั้งฟรีทีวี และหนังสือพิมพ์ลดลงแต่เป็นการเห็นเพียงครึ่งขวด หรือบางส่วนของขวด อีกทั้งการโฆษณาโลโก้บริษัทและโลโก้ผลิตภัณฑ์มีเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ พบว่า ส่วนใหญ่โฆษณาโดยที่เห็นภาพขวดเป็น 0% แต่เป็นการโฆษณาแฝงตามรายการข่าว ละคร มากขึ้น ทั้งนี้ ภาพรวมก่อนมี พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1,170 ครั้งต่อสัปดาห์ ขณะนี้พบเฉลี่ย 1,462.5 ครั้งต่อสัปดาห์ โฆษณาเห็นภาพโลโก้ หรือบริษัทแอลกอฮอล์จาก 581 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเฉลี่ย 948 ครั้งต่อสัปดาห์หรือเกือบ 2 เท่า ที่น่าสนใจคือ ช่วงเวลาที่กำหนดห้ามโฆษณาคือ 05.00-22.00 น.มีการโฆษณาเพิ่มมากขึ้น 10 เท่า
“พฤติกรรมของบริษัทเหล้าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่มีการเห็นภาพโฆษณาขวด แต่มีการโฆษณาในลักษณะโฆษณาแฝงมากขึ้น ซึ่งเด็ก 99.8% สามารถโยงได้ว่าเป็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีกประเด็นคือ ป้ายโฆษณากลางแจ้งที่มีการกระทำผิดพบเยอะมาก โดยเฉพาะร้านอาหาร ผับ บาร์ ที่เห็นภาพขวดและจูงใจให้บริโภคโดยการลดแลกแจกแถมมีมากกว่าทีวีและหนังสือพิมพ์ โดยบริษัทที่โฆษณามากเป็นอันดับ 1 ยังเป็นบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น บริษัทที่โฆษณาแฝงมากที่สุด คือ บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มตราไฮเนเก้น ส่วนเครื่องดื่มของช้างมีการโฆษณาเช่นกันแต่น้อยกว่าของสิงห์” ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ กล่าว
นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในหนังสือถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้ดำเนินการกวดขันเข้มงวด หลังจาก พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ 1 ปี 6 เดือน โดยมีการดำเนินการจับปรับไปแล้วในช่วงก่อนวันที่ 14 สิงหาคมจำนวน 30 กรณี ทั้งร้านอาหาร ผับ บาร์ที่พบมากที่สุด ส่วนสถานที่อื่นๆ พบมีการฝ่าฝืน เช่น วัด สถานที่ราชการ โรงแรม เป็นต้น
“ขณะนี้คณะทำงานที่มีทั้งภาคประชาสังคม ตำรวจ สสจ.ร่วมกันเดินสายในจังหวัดพิษณุโลกและเชียงใหม่ ล่าสุด จับปรับเพิ่ม จังหวัดละ 2 แห่ง เนื่องจากมีการลดแลกแจกแถมรวมถึงขายให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เพื่อให้รู้ว่ารัฐเอาจริงจับจริง ส่วนใหญ่ร้านที่จับจะกระทำผิดซ้ำ ซึ่งทำให้การทำผิดกฎหมายลดลงเป็นอย่างมาก และต่อจากนี้เจ้าหน้าที่จะไม่มีการเตือนก่อนอีกต่อไปเพราะใช้ไม่ได้ผล ซึ่งการเน้นจับปรับจริงเป็นมาตรการที่ร้านค้าต่างรอดูว่าเจ้าหน้าที่จะเอาจริงหรือไม่ และหากยังทำผิดอีกก็อาจถึงขั้นจำคุกได้” นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน กล่าวอีกว่า ขณะนี้กำลังพิจารณาเตรียมที่จะดำเนินคดีกับโทรทัศน์ทั้งฟรีทีวี และเคเบิลทีวี หากพบว่ามีการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ฝ่าฝืนหรือผิดกฎหมาย เช่น เห็นภาพขวด โฆษณาแฝง เป็นต้น ที่สำคัญ คงไม่จำเป็นต้องเตือนอีกแล้ว เพราะเตือนแล้วหลายครั้งเกือบจะทุกช่อง ซึ่งขณะนี้กรมควบคุมโรคดำเนินการให้ศูนย์วิจัยปัญหาสุราเป็นผู้สำรวจและเก็บข้อมูล เพื่อดำเนินคดีเป็นตัวอย่าง ทั้งนี้ จะดูเจตนารมณ์เป็นหลัก หากโฆษณาเชิงสร้างสรรค์ได้ไม่มีปัญหาอะไร แต่หากมีภาพขวด หรือพูดชื่อถือว่าผิดทันที
“จำเป็นต้องจัดการดำเนินคดีกับผู้ที่เผยแพร่โฆษณา คือ สื่อก่อนเป็นอันดับแรกก่อนที่จะดำเนินการกับเจ้าของ หรือบริษัทผู้ผลิตโฆษณา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” นพ.สมาน กล่าว
ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ แก้วมุงคุณ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสื่อหนังสือพิมพ์ 9 ฉบับ และฟรีทีวีทุกช่อง เป็นประจำทุกเดือน โดยสำรวจตลอด 24 ชั่วโมง ใน 1 สัปดาห์ พบภาพรวมมีการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบช่วงก่อนที่จะมี พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งที่เป็นไปตามกฎหมายกำหนดและใช้ช่องโหว่ที่กฎกระทรวงยังไม่ออกมาบังคับใช้ เนื่องจากอยู่ระหว่างสำนักงานกฤษฎีกาตีความอยู่ โดยการโฆษณาเห็นขวดทั้งฟรีทีวี และหนังสือพิมพ์ลดลงแต่เป็นการเห็นเพียงครึ่งขวด หรือบางส่วนของขวด อีกทั้งการโฆษณาโลโก้บริษัทและโลโก้ผลิตภัณฑ์มีเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ พบว่า ส่วนใหญ่โฆษณาโดยที่เห็นภาพขวดเป็น 0% แต่เป็นการโฆษณาแฝงตามรายการข่าว ละคร มากขึ้น ทั้งนี้ ภาพรวมก่อนมี พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1,170 ครั้งต่อสัปดาห์ ขณะนี้พบเฉลี่ย 1,462.5 ครั้งต่อสัปดาห์ โฆษณาเห็นภาพโลโก้ หรือบริษัทแอลกอฮอล์จาก 581 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเฉลี่ย 948 ครั้งต่อสัปดาห์หรือเกือบ 2 เท่า ที่น่าสนใจคือ ช่วงเวลาที่กำหนดห้ามโฆษณาคือ 05.00-22.00 น.มีการโฆษณาเพิ่มมากขึ้น 10 เท่า
“พฤติกรรมของบริษัทเหล้าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่มีการเห็นภาพโฆษณาขวด แต่มีการโฆษณาในลักษณะโฆษณาแฝงมากขึ้น ซึ่งเด็ก 99.8% สามารถโยงได้ว่าเป็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีกประเด็นคือ ป้ายโฆษณากลางแจ้งที่มีการกระทำผิดพบเยอะมาก โดยเฉพาะร้านอาหาร ผับ บาร์ ที่เห็นภาพขวดและจูงใจให้บริโภคโดยการลดแลกแจกแถมมีมากกว่าทีวีและหนังสือพิมพ์ โดยบริษัทที่โฆษณามากเป็นอันดับ 1 ยังเป็นบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น บริษัทที่โฆษณาแฝงมากที่สุด คือ บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มตราไฮเนเก้น ส่วนเครื่องดื่มของช้างมีการโฆษณาเช่นกันแต่น้อยกว่าของสิงห์” ร.ท.หญิง จุฑาภรณ์ กล่าว
นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในหนังสือถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้ดำเนินการกวดขันเข้มงวด หลังจาก พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ 1 ปี 6 เดือน โดยมีการดำเนินการจับปรับไปแล้วในช่วงก่อนวันที่ 14 สิงหาคมจำนวน 30 กรณี ทั้งร้านอาหาร ผับ บาร์ที่พบมากที่สุด ส่วนสถานที่อื่นๆ พบมีการฝ่าฝืน เช่น วัด สถานที่ราชการ โรงแรม เป็นต้น
“ขณะนี้คณะทำงานที่มีทั้งภาคประชาสังคม ตำรวจ สสจ.ร่วมกันเดินสายในจังหวัดพิษณุโลกและเชียงใหม่ ล่าสุด จับปรับเพิ่ม จังหวัดละ 2 แห่ง เนื่องจากมีการลดแลกแจกแถมรวมถึงขายให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เพื่อให้รู้ว่ารัฐเอาจริงจับจริง ส่วนใหญ่ร้านที่จับจะกระทำผิดซ้ำ ซึ่งทำให้การทำผิดกฎหมายลดลงเป็นอย่างมาก และต่อจากนี้เจ้าหน้าที่จะไม่มีการเตือนก่อนอีกต่อไปเพราะใช้ไม่ได้ผล ซึ่งการเน้นจับปรับจริงเป็นมาตรการที่ร้านค้าต่างรอดูว่าเจ้าหน้าที่จะเอาจริงหรือไม่ และหากยังทำผิดอีกก็อาจถึงขั้นจำคุกได้” นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน กล่าวอีกว่า ขณะนี้กำลังพิจารณาเตรียมที่จะดำเนินคดีกับโทรทัศน์ทั้งฟรีทีวี และเคเบิลทีวี หากพบว่ามีการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ฝ่าฝืนหรือผิดกฎหมาย เช่น เห็นภาพขวด โฆษณาแฝง เป็นต้น ที่สำคัญ คงไม่จำเป็นต้องเตือนอีกแล้ว เพราะเตือนแล้วหลายครั้งเกือบจะทุกช่อง ซึ่งขณะนี้กรมควบคุมโรคดำเนินการให้ศูนย์วิจัยปัญหาสุราเป็นผู้สำรวจและเก็บข้อมูล เพื่อดำเนินคดีเป็นตัวอย่าง ทั้งนี้ จะดูเจตนารมณ์เป็นหลัก หากโฆษณาเชิงสร้างสรรค์ได้ไม่มีปัญหาอะไร แต่หากมีภาพขวด หรือพูดชื่อถือว่าผิดทันที
“จำเป็นต้องจัดการดำเนินคดีกับผู้ที่เผยแพร่โฆษณา คือ สื่อก่อนเป็นอันดับแรกก่อนที่จะดำเนินการกับเจ้าของ หรือบริษัทผู้ผลิตโฆษณา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” นพ.สมาน กล่าว