สสปน.จับมือ 5 พันธมิตร ยกระดับไทยชูความพร้อมด้านการจัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ระดับโลก หวังขยายฐานกลุ่มลูกค้าไมซ์ทั่วโลกเพิ่มยอดการใช้จ่ายในประเทศ 20%
นางมาลินี กิตะพาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการประชุมและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์วิกฤตโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจและไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009 ที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย กระทั่งมติล่าสุดจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณ 325 ล้านบาท เพื่อการฟื้นฟูภาพลักษณ์ และเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับประเทศ โดยเฉพาะด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ รวมถึงการท่องเที่ยว เพื่อเชิญชวนหน่วยงานประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ และร่วมโปรโมตด้านการลงทุนและการท่องเที่ยวของประเทศไทย
สสปน. จึงสานต่อนโยบายร่วมกับพันธมิตร 5 องค์กรด้านการจัดประชุมและท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศไทย ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (TCT) สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติไทย (TICA) สมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน (EMA) สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT) และองค์กรที่ปรึกษาโดยบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จัดตั้ง “คณะกรรมที่ปรึกษาสำหรับการจัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์” หรือ Creative Event Advisory Panel – CEAP” อย่างเป็นทางการร่วมกัน เพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์ยกระดับการจัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์สู่เวทีโลก โดยใช้งบประมาณ 8 ล้านบาท
เป้าหมายการสร้างประเทศไทยให้เป็นผู้จัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์สู่เวทีโลกในครั้งนี้ก็เพื่อดึงกลุ่มลูกค้าองค์กรจากทั่วโลกซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่กำลังซื้อสูงและต่อเนื่อง และมีสัดส่วนกว่า 50 % ของตลาดไมซ์ให้เข้ามาจัดงานธุรกิจ (Business Events) ในประเทศไทย เพราะขณะนี้ไทยมีจุดขายที่ชัดเจนในการเป็นผู้จัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Event) โดยตั้งเป้าหมายว่าในปี 2553 การจัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ของไทยจะสามารถดึงดูดให้นักเดินทางกลุ่มไมซ์ในตลาดท่องเที่ยวและการประชุมเพื่อเป็นรางวัล (Meeting & Incentive) เพิ่มยอดใช้จ่ายในประเทศไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 20% จากเดิมมีการใช้จ่าย 12,000 บาทต่อวัน เป็น 14,000 บาทต่อวัน
ในปี 2552 นี้ ได้มีการคาดการณ์ว่า จะมีชาวต่างประเทศจำนวน 500,000 คน เดินทางมาประเทศไทยเพื่อร่วมกิจกรรมการจัดประชุมและงานแสดงสินค้าในกลุ่มตลาดไมซ์มากกว่า 500 งาน สร้างรายได้เข้าประเทศประมาณ 41,000 ล้านบาท
โดยคณะกรรมการที่ปรึกษาชุดนี้จะกำหนดทิศทางและนโยบายเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาการตลาด และดำเนินกิจกรรมในเชิงการให้ข้อมูลความรู้ต่อผู้ประกอบการเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรมการตลาด หรือกิจกรรมส่งเสริมการขายต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และล่าสุดคณะกรรมการได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการจัดงานธุรกิจได้มีโอกาสส่งผลงาน “การจัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์” เข้ามาประกวดผลงานความคิดสร้างสรรค์ในการจัดงานธุรกิจ (Business Events) ขึ้นในประเทศ
จากการจัดตั้ง “คณะกรรมการที่ปรึกษาสำหรับการจัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์” ร่วมกันทั้ง 5 พันธมิตรในครั้งนี้ เชื่อมั่นว่าจะสามารถฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศ และมีส่วนผลักดันให้ยอดตัวเลขนักธุรกิจผู้เดินทางกลุ่มไมซ์ และรายได้จากการเดินทางของนักธุรกิจจากการเข้าประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลในประเทศไทย กลับสู่ภาวะปกติของอัตราเฉลี่ยการเติบโตอุตสาหกรรมไมซ์ปีละ 15-20 % ได้ในปี 2554 ตามเป้าหมาย
นางมาลินี กิตะพาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการประชุมและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์วิกฤตโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจและไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009 ที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย กระทั่งมติล่าสุดจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณ 325 ล้านบาท เพื่อการฟื้นฟูภาพลักษณ์ และเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับประเทศ โดยเฉพาะด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ รวมถึงการท่องเที่ยว เพื่อเชิญชวนหน่วยงานประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ และร่วมโปรโมตด้านการลงทุนและการท่องเที่ยวของประเทศไทย
สสปน. จึงสานต่อนโยบายร่วมกับพันธมิตร 5 องค์กรด้านการจัดประชุมและท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศไทย ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (TCT) สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติไทย (TICA) สมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน (EMA) สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (MAT) และองค์กรที่ปรึกษาโดยบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จัดตั้ง “คณะกรรมที่ปรึกษาสำหรับการจัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์” หรือ Creative Event Advisory Panel – CEAP” อย่างเป็นทางการร่วมกัน เพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์ยกระดับการจัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์สู่เวทีโลก โดยใช้งบประมาณ 8 ล้านบาท
เป้าหมายการสร้างประเทศไทยให้เป็นผู้จัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์สู่เวทีโลกในครั้งนี้ก็เพื่อดึงกลุ่มลูกค้าองค์กรจากทั่วโลกซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่กำลังซื้อสูงและต่อเนื่อง และมีสัดส่วนกว่า 50 % ของตลาดไมซ์ให้เข้ามาจัดงานธุรกิจ (Business Events) ในประเทศไทย เพราะขณะนี้ไทยมีจุดขายที่ชัดเจนในการเป็นผู้จัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Event) โดยตั้งเป้าหมายว่าในปี 2553 การจัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ของไทยจะสามารถดึงดูดให้นักเดินทางกลุ่มไมซ์ในตลาดท่องเที่ยวและการประชุมเพื่อเป็นรางวัล (Meeting & Incentive) เพิ่มยอดใช้จ่ายในประเทศไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 20% จากเดิมมีการใช้จ่าย 12,000 บาทต่อวัน เป็น 14,000 บาทต่อวัน
ในปี 2552 นี้ ได้มีการคาดการณ์ว่า จะมีชาวต่างประเทศจำนวน 500,000 คน เดินทางมาประเทศไทยเพื่อร่วมกิจกรรมการจัดประชุมและงานแสดงสินค้าในกลุ่มตลาดไมซ์มากกว่า 500 งาน สร้างรายได้เข้าประเทศประมาณ 41,000 ล้านบาท
โดยคณะกรรมการที่ปรึกษาชุดนี้จะกำหนดทิศทางและนโยบายเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาการตลาด และดำเนินกิจกรรมในเชิงการให้ข้อมูลความรู้ต่อผู้ประกอบการเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรมการตลาด หรือกิจกรรมส่งเสริมการขายต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และล่าสุดคณะกรรมการได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการจัดงานธุรกิจได้มีโอกาสส่งผลงาน “การจัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์” เข้ามาประกวดผลงานความคิดสร้างสรรค์ในการจัดงานธุรกิจ (Business Events) ขึ้นในประเทศ
จากการจัดตั้ง “คณะกรรมการที่ปรึกษาสำหรับการจัดงานธุรกิจเชิงสร้างสรรค์” ร่วมกันทั้ง 5 พันธมิตรในครั้งนี้ เชื่อมั่นว่าจะสามารถฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศ และมีส่วนผลักดันให้ยอดตัวเลขนักธุรกิจผู้เดินทางกลุ่มไมซ์ และรายได้จากการเดินทางของนักธุรกิจจากการเข้าประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลในประเทศไทย กลับสู่ภาวะปกติของอัตราเฉลี่ยการเติบโตอุตสาหกรรมไมซ์ปีละ 15-20 % ได้ในปี 2554 ตามเป้าหมาย