รถจักรยานยนต์ “ซูซูกิ” เทหมดหน้าตัก หลังยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาดลดฮวบในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยทุ่มเงิน 1,700 ล้านบาท หวังกู้ภาพลักษณ์ เสริมศักยภาพการขาย และปรับโรงงานผลิต ลั่นปีหน้าส่วนแบ่งตลาดต้องมากกว่า 10% ขณะเดียวกันยังเริ่มทำตลาดบิ๊กไบค์อย่างเป็นทางการ พร้อมส่งรุ่นดัง “ฮายาบูซะ” ราคา 8.3 แสนบาทประเดิม
นายมาซาโนบุ ไซโต้ ประธานกรมการบริหาร บริษัท ไทยซูซูกิมอเตอร์ เปิดเผยว่า บริษัทมีเป้าหมายการลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้จะใช้งบประมาณกว่า 1,700 ล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็นงบการตลาด 1,000 ล้านบาท ในการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ และทำแคมเปญส่งเสริมการขายตลอดทั้งปี ขณะที่อีก 600-700 ล้านบาท จะเป็นงบเพื่อการพัฒนาศักยภาพในการผลิตรถจักรยานยนต์ในโรงงาน
สำหรับการลงทุนในโรงงานจะประกอบด้วย การลงทุนเพื่อผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ อาทิ การเคลือบลูกสูบ ระบบการฉีดพลาสติก รวมถึงการเปิดโรงงานสำหรับการปรับสภาพรถจักรยานยนต์ เพื่อป้อนเข้าสู่ธุรกิจรถจักรยานยนต์มือสองของซูซูกิ ซึ่งรถที่ได้รับการปรับสภาพจะมีสภาพและราคาขายต่อที่ดีกว่า ทั้งนี้รถที่นำมาปรับสภาพ จะมาจากตลาดรถเช่าซื้อที่มีการยึดมาเป็นหลัก
“กว่า 85% ของการซื้อรถจักรยานยนต์ในปัจจุบัน เป็นการผ่อนผ่านสถาบันการเงิน (เช่าซื้อ) ซึ่งในจำนวนนี้ก็หลุดมาเป็นรถยึดพอสมควร ดังนั้นการนำรถพวกนี้มาปรับสภาพ แล้วนำมาขายต่อในราคาสมเหตุสมผล จึงถือเป็นช่องทางที่น่าสนใจ และสามารถรองรับกับความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี”
นอกจากนี้บริษัทได้เปิดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์อย่างเป็นทางการที่ "ซูซูกิ เวิลด์" สาขาซูซูกิ อเวนิว รัชโยธิน โดยเชื่อว่าจะช่วยตอกย้ำภาพลักษณ์ของซูซูกิในฐานผู้นำตลาดบิ๊กไบค์ ทั้งนี้จะเริ่มจาการนำรุ่น “ฮายาบูซะ” เข้ามาจำหน่ายในราคา 830,000 บาท กับจุดเด่นเรื่องโครงสร้างตัวถังแบบทวิน-สปา อะลูมิเนียมอัลลอยด์ เฟรม เทคโนโลยี หัวฉีดดิจิตอล ที่นำมาใช้ร่วมกับระบบควบคุมเครื่องยนต์ด้วยกล่องสมองกลอัจฉริยะ พร้อมตั้งเป้าหมายการขาย 100 คันในปีนี้
"เราจะเน้นการทำตลาดให้เข้มข้นกว่าเดิม เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบันที่มีอยู่ 5% ส่วนตัวยังไม่พอใจ ดังนั้นหลังจากการลงทุนต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับโครงการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น เชื่อว่าจะทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ซูซูกิ มีความเข้มแข็ง และทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นด้วย”
นายไซโต้ กล่าวว่า มีลูกค้าบางกลุ่มมองว่าแบรนด์ซูซูกิ ยังเป็นรถระดับล่าง ซึ่งทำให้บริษัทต้องปรับแผนการตลาด รวมถึงการสื่อสารกับลูกค้าใหม่ทั้งหมด และเชื่อว่าหลังจากนี้ภาพลักษณ์จะเริ่มดีขึ้น อันจะส่งผลให้บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 6% ในปลายปีนี้ และมากกว่า 10% ในปี 2553
สำหรับภาพรวมของตลาดรถจักรยานยนต์ในปีนี้ นายไซโต้คาดว่ายอดขายจะอยู่ประมาณ 1.45 ล้านคัน ลดลง 15% เมื่อเทียบกับปี 2551 หลังจากครึ่งปีแรกหดตัวไปแล้ว 16% ส่วนยอดขาย 6 เดือนแรกของซูซูกิทำได้ 33,000 คัน ขณะที่เป้ายอดขายทั้งปี 90,000 คัน น่าจะทำได้ใกล้เคียงที่คาดการณ์ไว้
นายมาซาโนบุ ไซโต้ ประธานกรมการบริหาร บริษัท ไทยซูซูกิมอเตอร์ เปิดเผยว่า บริษัทมีเป้าหมายการลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้จะใช้งบประมาณกว่า 1,700 ล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็นงบการตลาด 1,000 ล้านบาท ในการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ และทำแคมเปญส่งเสริมการขายตลอดทั้งปี ขณะที่อีก 600-700 ล้านบาท จะเป็นงบเพื่อการพัฒนาศักยภาพในการผลิตรถจักรยานยนต์ในโรงงาน
สำหรับการลงทุนในโรงงานจะประกอบด้วย การลงทุนเพื่อผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ อาทิ การเคลือบลูกสูบ ระบบการฉีดพลาสติก รวมถึงการเปิดโรงงานสำหรับการปรับสภาพรถจักรยานยนต์ เพื่อป้อนเข้าสู่ธุรกิจรถจักรยานยนต์มือสองของซูซูกิ ซึ่งรถที่ได้รับการปรับสภาพจะมีสภาพและราคาขายต่อที่ดีกว่า ทั้งนี้รถที่นำมาปรับสภาพ จะมาจากตลาดรถเช่าซื้อที่มีการยึดมาเป็นหลัก
“กว่า 85% ของการซื้อรถจักรยานยนต์ในปัจจุบัน เป็นการผ่อนผ่านสถาบันการเงิน (เช่าซื้อ) ซึ่งในจำนวนนี้ก็หลุดมาเป็นรถยึดพอสมควร ดังนั้นการนำรถพวกนี้มาปรับสภาพ แล้วนำมาขายต่อในราคาสมเหตุสมผล จึงถือเป็นช่องทางที่น่าสนใจ และสามารถรองรับกับความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี”
นอกจากนี้บริษัทได้เปิดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์อย่างเป็นทางการที่ "ซูซูกิ เวิลด์" สาขาซูซูกิ อเวนิว รัชโยธิน โดยเชื่อว่าจะช่วยตอกย้ำภาพลักษณ์ของซูซูกิในฐานผู้นำตลาดบิ๊กไบค์ ทั้งนี้จะเริ่มจาการนำรุ่น “ฮายาบูซะ” เข้ามาจำหน่ายในราคา 830,000 บาท กับจุดเด่นเรื่องโครงสร้างตัวถังแบบทวิน-สปา อะลูมิเนียมอัลลอยด์ เฟรม เทคโนโลยี หัวฉีดดิจิตอล ที่นำมาใช้ร่วมกับระบบควบคุมเครื่องยนต์ด้วยกล่องสมองกลอัจฉริยะ พร้อมตั้งเป้าหมายการขาย 100 คันในปีนี้
"เราจะเน้นการทำตลาดให้เข้มข้นกว่าเดิม เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดปัจจุบันที่มีอยู่ 5% ส่วนตัวยังไม่พอใจ ดังนั้นหลังจากการลงทุนต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับโครงการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น เชื่อว่าจะทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ซูซูกิ มีความเข้มแข็ง และทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นด้วย”
นายไซโต้ กล่าวว่า มีลูกค้าบางกลุ่มมองว่าแบรนด์ซูซูกิ ยังเป็นรถระดับล่าง ซึ่งทำให้บริษัทต้องปรับแผนการตลาด รวมถึงการสื่อสารกับลูกค้าใหม่ทั้งหมด และเชื่อว่าหลังจากนี้ภาพลักษณ์จะเริ่มดีขึ้น อันจะส่งผลให้บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 6% ในปลายปีนี้ และมากกว่า 10% ในปี 2553
สำหรับภาพรวมของตลาดรถจักรยานยนต์ในปีนี้ นายไซโต้คาดว่ายอดขายจะอยู่ประมาณ 1.45 ล้านคัน ลดลง 15% เมื่อเทียบกับปี 2551 หลังจากครึ่งปีแรกหดตัวไปแล้ว 16% ส่วนยอดขาย 6 เดือนแรกของซูซูกิทำได้ 33,000 คัน ขณะที่เป้ายอดขายทั้งปี 90,000 คัน น่าจะทำได้ใกล้เคียงที่คาดการณ์ไว้