ทางหลวงชนบทเผย ก.ค.เริ่มก่อสร้างอุโมงค์ ราชพฤกษ์-นครอินทร์ได้ ช่วยลดปัญหาจราจรติดขัด ก่อสร้าง 3 ปี พร้อมเตรียมต่อขยายโครงข่ายทาง รองรับการใช้งานสนามบินสุวรรณภูมิ
นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทช.อยู่ระหว่างการประกวดราคาคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างอุโมงค์ลอดบริเวณวงเวียนถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ และทางคู่ขนานถนนราชพฤกษ์ ช่วง กม.15+660 ถึง 17+800 สะพานคู่ขนานข้ามคลองบางกอกน้อย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งคาดว่าจะลงนามสัญญาและเริ่มงานก่อสร้างได้ในเดือนก.ค. 2552 โดยใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะแก้ปัญหาจราจรบริเวณ วงเวียนจุดตัดถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งมักจะเกิดอุบัติเหตุในบริเวณดังกล่าวค่อนข้างบ่อย ซึ่งโครงการจะทำให้ขีดความสามารถในการรองรับการจราจรเพิ่มมากขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพ ถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยรูปแบบจะเป็นการก่อสร้างอุโมงค์ขนาด 6 ช่องจราจร ความยาวประมาณ 650 เมตร บนถนนราชพฤกษ์ลอดใต้วงเวียนจุดตัดถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ในบริเวณทางแยกดังกล่าว จะมีลักษณะเป็นอุโมงค์ทางลอดในการเดินทางแนวเหนือ-ใต้ สะพานลอยข้ามแยกในการเดินทางแนวตะวันออก-ตะวันตกโดยวงเวียนยังคงสามารถใช้งานได้สำหรับรถที่จะเลี้ยวซ้ายและขวาในการเดินทาง
นอกจากนี้ ทช.ยังได้มอบหมายให้สำนักก่อสร้างทาง เร่งดำเนินการศึกษาออกแบบส่วนต่อขยายถนนสายแยก ทล.34 (กม.ที่ 26) เชื่อมกับทางหลวงชนบทสาย ฉช. 3001 พร้อมทางต่างระดับ เพื่อรองรับปริมาณการจราจรบริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ และรองรับการเจริญเติบโตในพื้นที่ และพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมให้สมบูรณ์มากขึ้น ตามนโยบายของนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
อย่างไรก็ตามการต่อขยายถนนสายแยกทางหลวงหมายเลข 34 (กม.ที่ 26) ถึงทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 โดยต่อขยายจาก กม.8+900 ข้ามทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ไปเชื่อมกับทางหลวงชนบทสาย ฉช.3001 (ถนนหลวงแพ่ง หรือ ถนนเทพราช-ลาดกระบัง) โดยมีเขตทางกว้างประมาณ 30 เมตร จำนวน 4 ช่องจราจร 2 ทิศทาง มีเกาะกลางแบ่งแยกทิศทางการจราจร ซึ่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินทาง ลดอุบัติเหตุทางด้านการจราจร รวมถึงลดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการขนส่งสินค้าให้น้อยลงด้วย นอกจากนี้กรมยังมีแผนที่จะปรับปรุงถนนช่วงระหว่าง กม.5+000 ถึง กม.8+900 ซึ่งมีปัญหาสภาพดินอ่อนใต้คันทางในบางบริเวณ ให้มีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของถนนและสร้างความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน
นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทช.อยู่ระหว่างการประกวดราคาคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างอุโมงค์ลอดบริเวณวงเวียนถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ และทางคู่ขนานถนนราชพฤกษ์ ช่วง กม.15+660 ถึง 17+800 สะพานคู่ขนานข้ามคลองบางกอกน้อย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งคาดว่าจะลงนามสัญญาและเริ่มงานก่อสร้างได้ในเดือนก.ค. 2552 โดยใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะแก้ปัญหาจราจรบริเวณ วงเวียนจุดตัดถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งมักจะเกิดอุบัติเหตุในบริเวณดังกล่าวค่อนข้างบ่อย ซึ่งโครงการจะทำให้ขีดความสามารถในการรองรับการจราจรเพิ่มมากขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพ ถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยรูปแบบจะเป็นการก่อสร้างอุโมงค์ขนาด 6 ช่องจราจร ความยาวประมาณ 650 เมตร บนถนนราชพฤกษ์ลอดใต้วงเวียนจุดตัดถนนราชพฤกษ์-ถนนนครอินทร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ในบริเวณทางแยกดังกล่าว จะมีลักษณะเป็นอุโมงค์ทางลอดในการเดินทางแนวเหนือ-ใต้ สะพานลอยข้ามแยกในการเดินทางแนวตะวันออก-ตะวันตกโดยวงเวียนยังคงสามารถใช้งานได้สำหรับรถที่จะเลี้ยวซ้ายและขวาในการเดินทาง
นอกจากนี้ ทช.ยังได้มอบหมายให้สำนักก่อสร้างทาง เร่งดำเนินการศึกษาออกแบบส่วนต่อขยายถนนสายแยก ทล.34 (กม.ที่ 26) เชื่อมกับทางหลวงชนบทสาย ฉช. 3001 พร้อมทางต่างระดับ เพื่อรองรับปริมาณการจราจรบริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ และรองรับการเจริญเติบโตในพื้นที่ และพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมให้สมบูรณ์มากขึ้น ตามนโยบายของนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
อย่างไรก็ตามการต่อขยายถนนสายแยกทางหลวงหมายเลข 34 (กม.ที่ 26) ถึงทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 โดยต่อขยายจาก กม.8+900 ข้ามทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ไปเชื่อมกับทางหลวงชนบทสาย ฉช.3001 (ถนนหลวงแพ่ง หรือ ถนนเทพราช-ลาดกระบัง) โดยมีเขตทางกว้างประมาณ 30 เมตร จำนวน 4 ช่องจราจร 2 ทิศทาง มีเกาะกลางแบ่งแยกทิศทางการจราจร ซึ่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินทาง ลดอุบัติเหตุทางด้านการจราจร รวมถึงลดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการขนส่งสินค้าให้น้อยลงด้วย นอกจากนี้กรมยังมีแผนที่จะปรับปรุงถนนช่วงระหว่าง กม.5+000 ถึง กม.8+900 ซึ่งมีปัญหาสภาพดินอ่อนใต้คันทางในบางบริเวณ ให้มีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของถนนและสร้างความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน