เผยเม็ดเงินต่างชาติยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน 4 เดือนแรกปีนี้ ลดลงกว่า 6.9 หมื่นล้านบาท เหตุเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน เม.ย.ยังคงติดลบที่ระดับ 12.84% โดยติดลบน้อยลงต่อเนื่องถือเป็นสัญญาณที่เริ่มฟื้นตัว ส่วนศูนย์พยากรณ์หอการค้าฯ ชี้ นักธุรกิจกลัวปัญหาการเมืองในประเทศมากกว่าปัญหาเศรษฐกิจโลก เหตุทำให้ไม่กล้าลงทุนและขยายธุรกิจ
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แจ้งว่า 4 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-เม.ย.) การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ (FDI) มีทั้งสิ้น 186 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 21,672 ล้านบาท ลดลงทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุนจากช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยจำนวนโครงการลดลง 123 โครงการ หรือคิดเป็นการเปลี่ยนแปลงลดลง 39.8% ขณะที่เงินลงทุนลดลง 69,837 ล้านบาทหรือคิดเป็นสัดส่วนที่ลดลง 76.3%
ทั้งนี้ จำนวนโครงการจากต่างชาติที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนคิดเป็น 63.3% ของจำนวนโครงการทั้งสิ้นที่ยื่นขอส่งเสริม (294 โครงการ) ปริมาณเงินลงทุนคิดเป็น 15.8% ของปริมาณเงินลงทุนทั้งสิ้นที่ยื่นขอส่งเสริม (137,072 ล้านบาท) อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติยื่นขอส่งเสริมและมีปริมาณเงินลงทุนสูงสุด คือ กิจการบริการและสาธารณูปโภคในภาคอุตสาหกรรม รองลงมาคือ กิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง
สำหรับประเทศที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่ยื่นขอรับสูงสุด โดยยื่นขอ 71 โครงการลดลง 41.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าลงทุน 10,148 ล้านบาท ลดลง 47.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาเป็นการลงทุนจากยุโรปมีทั้งสิ้น 46 โครงการมูลค่า 5,660 ล้านบาท มูลค่าลดลงคิดเป็น 77.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนการลงทุนจากกลุ่มประเทศอาเซียนมีโครงการที่ยื่นขอส่งเสริมฯ 31 โครงการ ลดลง 15 โครงการมูลค่าเงินลงทุน 19,69 ล้านบาท ขณะที่จีนยื่นขอ 5 โครงการ เงินลงทุน 357 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1 โครงการ ส่วนสหรัฐอเมริกามีโครงการยื่นขอส่งเสริม 18 โครงการ เพิ่มขึ้น 4 โครงการ มูลค่าลงทุน 1,764 ล้านบาท หรือมูลค่าเพิ่มขึ้น 471ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แหล่งข่าวกล่าวว่า การลงทุนที่ลดลงเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวประกอบกับขนาดการลงทุนของต่างชาติส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดกลางและเล็ก มีมูลค่าการลงทุนเฉลี่ยไม่เกิน 100 ล้านบาท หรือคิดเป็น 78% ของโครงการที่ต่างชาติยื่นขอ เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่ได้มีการลงทุนไปแล้วค่อนข้างมาก ดังนั้น ทิศทางการลงทุนในปีนี้หากมีการยื่นขอลงทุนในระดับ 4 แสนล้านบาท ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าพอใจและหากเศรษฐกิจโลกถึงจุดต่ำสุดจริงคาดว่าการลงทุนใหม่จะทยอยเข้ามาในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปี 2553
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) เดือน เม.ย.52 ยังติดลบ -12.84% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี โดยอยู่ที่ระดับ 146.66 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 141.49 ลดลง -16.52% จากระดับ 169.49 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 140.69 ลดลง -16.69% จากระดับ 168.88 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 102.49 ลดลง -5% จากระดับ 107.88 ขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 207.98 เพิ่มขึ้น 18.51% จากระดับ 175.49 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 224.50 เพิ่มขึ้น 11.41% จากระดับ 201.50 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 146.54 เพิ่มขึ้น 0.63% จากระดับ 145.62 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 51.41%
“ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน คือติดลบน้อยลง โดยหลายอุตสาหกรรมเริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา” นายอาทิตย์ กล่าว
**** ธุรกิจผวาปัญหาขัดแย้งการเมือง
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจทัศนะของผู้ประกอบการ เรื่องปัจจัยสถานการณ์ทางการเมืองต่อธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจ 400 ตัวอย่าง ระหว่าง 22-25 พ.ค.2552 ว่า นักธุรกิจ 17.1% มองว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง คือ ปัจจัยลบสูงสุดที่กระทบต่อการทำธุรกิจรองลงมาเป็นภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว 16.3% ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ 15.6% ปัญหาการเงินและเศรษฐกิจโลก 12.3% ราคาวัตถุดิบสูง 12.2% ราคาน้ำมัน 11.3% ดอกเบี้ย 7.3% และอัตราแลกเปลี่ยน 7.3%
“นักธุรกิจไทยกลัวปัจจัยภายในประเทศมากกว่าปัจจัยภายนอก โดยความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงและเกิดขึ้นต่อเนื่องมาหลายปี ส่งผลกระทบต่อธุรกิจร้ายแรงกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง รวมถึงความผันผวนของราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน และดอกเบี้ย โดยเอกชนมองว่าเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และกำลังฟื้นตัวแบบตัว U ดังนั้น การขยายตัวเศรษฐกิจของไทยในระยะต่อไป จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับทิศทางภายในประเทศเป็นสิ่งสำคัญ” นายธนวรรธน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจส่วนใหญ่ 51.7% ยังไว้วางใจสถานการณ์การเมืองหลังเกิดเหตุรุนแรงเดือน เม.ย.ระดับปานกลางเท่านั้น และไว้ใจน้อย 23.6% น้อยที่สุด 1.1% ไม่ไว้ใจเลย 5.9% ขณะที่ไว้ใจมากมี 17.4% และมากที่สุด 0.3% อีกทั้งยังคาดว่า หากการเมืองไม่นิ่ง และยังมีการแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน จะทำให้การลงทุนชะลอตัวถึง 52.3% การขยายตลาดชะลอตัว 30% และการขอสินเชื่อเพื่อเพิ่มการลงทุนชะลอตัว 24.9% ทำให้ภาพรวมอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้มีโอกาสติดลบ 3-4% ส่วนปีหน้าจะเติบโตได้ 1-2% แต่ถ้าการเมืองคลี่คลายเร็วปีนี้จะติดลบแค่ 1-2% ส่วนปีหน้าจะโตถึง 3-4%
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ผลสำรวจยังระบุอีกว่าหากยังเกิดความขัดแย้งและมีการแบ่งฝ่ายชัดเจนต่อไป จะกระทบต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลมากสุด 65.2% รองลงมาเป็นภาพลักษณ์ประเทศต่อสายตาชาวต่างชาติ 64.6% ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ 59.8% ความรุนแรงทางความคิดเยาวชน 53.5% ผลประกอบการธุรกิจ 47.5% การลงทุน 44.2% ความเจริญก้าวหน้าของประเทศ 41.4% ภาวะเศรฐกิจโดยรวม 34.8% ความสามารถในการแข่งขันประเทศ 32.1% สภาพจิตใจประชาชน 28.7% และพฤติกรรมรุนแรงเลียนแบบ จากเด็กและเยาวชน 24%
ส่วนปัญหาความไม่ลงรอยในพรรคร่วมรัฐบาลและการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่กระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลและความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ เพราะเป็นเพียงการปรับเพียงตำแหน่งเดียวและไม่เกี่ยวข้องกับทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล จึงไม่กระทบต่อนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่สิ่งที่ต้องจับตาคือการตีความของศาลรัฐธรรมนูญต่อร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 400,000 ล้าบาท ที่จะนำเงินมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจและสำรองกองคลัง หากผ่านรัฐสภาในเดือนมิ.ย. และสามารถเบิกจ่ายได้ทันไตรมาส 3 จะทำให้เศรษฐกิจไตรมาส 4 ฟื้นตัวเป็นบวก 0-2% ได้
สำหรับทางแก้ไขต่อปัญหานี้นักธุรกิจส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการให้ทุกฝ่ายยกเว้นการโต้แย้งและวิวาทะทางการเมือง 53.8% รองลงมาให้สื่อหยุดนำเสนอข่าวความขัดแย้ง 27.9% และต้องการให้หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องการเมือง 16.1% และสุดท้ายเลิกรับฟังข่าวความขัดแย้ง 2.3%
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แจ้งว่า 4 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-เม.ย.) การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ (FDI) มีทั้งสิ้น 186 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 21,672 ล้านบาท ลดลงทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุนจากช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยจำนวนโครงการลดลง 123 โครงการ หรือคิดเป็นการเปลี่ยนแปลงลดลง 39.8% ขณะที่เงินลงทุนลดลง 69,837 ล้านบาทหรือคิดเป็นสัดส่วนที่ลดลง 76.3%
ทั้งนี้ จำนวนโครงการจากต่างชาติที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนคิดเป็น 63.3% ของจำนวนโครงการทั้งสิ้นที่ยื่นขอส่งเสริม (294 โครงการ) ปริมาณเงินลงทุนคิดเป็น 15.8% ของปริมาณเงินลงทุนทั้งสิ้นที่ยื่นขอส่งเสริม (137,072 ล้านบาท) อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติยื่นขอส่งเสริมและมีปริมาณเงินลงทุนสูงสุด คือ กิจการบริการและสาธารณูปโภคในภาคอุตสาหกรรม รองลงมาคือ กิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง
สำหรับประเทศที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่ยื่นขอรับสูงสุด โดยยื่นขอ 71 โครงการลดลง 41.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าลงทุน 10,148 ล้านบาท ลดลง 47.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาเป็นการลงทุนจากยุโรปมีทั้งสิ้น 46 โครงการมูลค่า 5,660 ล้านบาท มูลค่าลดลงคิดเป็น 77.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนการลงทุนจากกลุ่มประเทศอาเซียนมีโครงการที่ยื่นขอส่งเสริมฯ 31 โครงการ ลดลง 15 โครงการมูลค่าเงินลงทุน 19,69 ล้านบาท ขณะที่จีนยื่นขอ 5 โครงการ เงินลงทุน 357 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1 โครงการ ส่วนสหรัฐอเมริกามีโครงการยื่นขอส่งเสริม 18 โครงการ เพิ่มขึ้น 4 โครงการ มูลค่าลงทุน 1,764 ล้านบาท หรือมูลค่าเพิ่มขึ้น 471ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แหล่งข่าวกล่าวว่า การลงทุนที่ลดลงเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวประกอบกับขนาดการลงทุนของต่างชาติส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดกลางและเล็ก มีมูลค่าการลงทุนเฉลี่ยไม่เกิน 100 ล้านบาท หรือคิดเป็น 78% ของโครงการที่ต่างชาติยื่นขอ เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่ได้มีการลงทุนไปแล้วค่อนข้างมาก ดังนั้น ทิศทางการลงทุนในปีนี้หากมีการยื่นขอลงทุนในระดับ 4 แสนล้านบาท ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าพอใจและหากเศรษฐกิจโลกถึงจุดต่ำสุดจริงคาดว่าการลงทุนใหม่จะทยอยเข้ามาในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปี 2553
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) เดือน เม.ย.52 ยังติดลบ -12.84% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี โดยอยู่ที่ระดับ 146.66 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 141.49 ลดลง -16.52% จากระดับ 169.49 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 140.69 ลดลง -16.69% จากระดับ 168.88 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 102.49 ลดลง -5% จากระดับ 107.88 ขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 207.98 เพิ่มขึ้น 18.51% จากระดับ 175.49 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 224.50 เพิ่มขึ้น 11.41% จากระดับ 201.50 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 146.54 เพิ่มขึ้น 0.63% จากระดับ 145.62 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 51.41%
“ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน คือติดลบน้อยลง โดยหลายอุตสาหกรรมเริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา” นายอาทิตย์ กล่าว
**** ธุรกิจผวาปัญหาขัดแย้งการเมือง
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจทัศนะของผู้ประกอบการ เรื่องปัจจัยสถานการณ์ทางการเมืองต่อธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจ 400 ตัวอย่าง ระหว่าง 22-25 พ.ค.2552 ว่า นักธุรกิจ 17.1% มองว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง คือ ปัจจัยลบสูงสุดที่กระทบต่อการทำธุรกิจรองลงมาเป็นภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว 16.3% ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ 15.6% ปัญหาการเงินและเศรษฐกิจโลก 12.3% ราคาวัตถุดิบสูง 12.2% ราคาน้ำมัน 11.3% ดอกเบี้ย 7.3% และอัตราแลกเปลี่ยน 7.3%
“นักธุรกิจไทยกลัวปัจจัยภายในประเทศมากกว่าปัจจัยภายนอก โดยความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงและเกิดขึ้นต่อเนื่องมาหลายปี ส่งผลกระทบต่อธุรกิจร้ายแรงกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง รวมถึงความผันผวนของราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน และดอกเบี้ย โดยเอกชนมองว่าเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และกำลังฟื้นตัวแบบตัว U ดังนั้น การขยายตัวเศรษฐกิจของไทยในระยะต่อไป จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับทิศทางภายในประเทศเป็นสิ่งสำคัญ” นายธนวรรธน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจส่วนใหญ่ 51.7% ยังไว้วางใจสถานการณ์การเมืองหลังเกิดเหตุรุนแรงเดือน เม.ย.ระดับปานกลางเท่านั้น และไว้ใจน้อย 23.6% น้อยที่สุด 1.1% ไม่ไว้ใจเลย 5.9% ขณะที่ไว้ใจมากมี 17.4% และมากที่สุด 0.3% อีกทั้งยังคาดว่า หากการเมืองไม่นิ่ง และยังมีการแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน จะทำให้การลงทุนชะลอตัวถึง 52.3% การขยายตลาดชะลอตัว 30% และการขอสินเชื่อเพื่อเพิ่มการลงทุนชะลอตัว 24.9% ทำให้ภาพรวมอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้มีโอกาสติดลบ 3-4% ส่วนปีหน้าจะเติบโตได้ 1-2% แต่ถ้าการเมืองคลี่คลายเร็วปีนี้จะติดลบแค่ 1-2% ส่วนปีหน้าจะโตถึง 3-4%
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ผลสำรวจยังระบุอีกว่าหากยังเกิดความขัดแย้งและมีการแบ่งฝ่ายชัดเจนต่อไป จะกระทบต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลมากสุด 65.2% รองลงมาเป็นภาพลักษณ์ประเทศต่อสายตาชาวต่างชาติ 64.6% ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ 59.8% ความรุนแรงทางความคิดเยาวชน 53.5% ผลประกอบการธุรกิจ 47.5% การลงทุน 44.2% ความเจริญก้าวหน้าของประเทศ 41.4% ภาวะเศรฐกิจโดยรวม 34.8% ความสามารถในการแข่งขันประเทศ 32.1% สภาพจิตใจประชาชน 28.7% และพฤติกรรมรุนแรงเลียนแบบ จากเด็กและเยาวชน 24%
ส่วนปัญหาความไม่ลงรอยในพรรคร่วมรัฐบาลและการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่กระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลและความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ เพราะเป็นเพียงการปรับเพียงตำแหน่งเดียวและไม่เกี่ยวข้องกับทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล จึงไม่กระทบต่อนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่สิ่งที่ต้องจับตาคือการตีความของศาลรัฐธรรมนูญต่อร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 400,000 ล้าบาท ที่จะนำเงินมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจและสำรองกองคลัง หากผ่านรัฐสภาในเดือนมิ.ย. และสามารถเบิกจ่ายได้ทันไตรมาส 3 จะทำให้เศรษฐกิจไตรมาส 4 ฟื้นตัวเป็นบวก 0-2% ได้
สำหรับทางแก้ไขต่อปัญหานี้นักธุรกิจส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการให้ทุกฝ่ายยกเว้นการโต้แย้งและวิวาทะทางการเมือง 53.8% รองลงมาให้สื่อหยุดนำเสนอข่าวความขัดแย้ง 27.9% และต้องการให้หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องการเมือง 16.1% และสุดท้ายเลิกรับฟังข่าวความขัดแย้ง 2.3%