ยอดภาษีนิติบุคคลต่อลมหายใจพ.ค.เดือนเดียวยอด 5 หมื่นล้านดันยอดเงินคงคลังรวมกว่า 1.14 แสนล้านบาท พร้อมเตรียมแผนรองรับหากพ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านไม่ผ่านสภา ส่งยอดเบิกจ่ายฉลุยเป็นไปตามเป้าคาดสิ้นปียอดแตะระดับ 94% และ 74% ของเป้าหมายเบิกจ่ายและงบลงทุน
นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในเดือนพ.ค.ที่จัดเก็บได้ดี ทำให้จากปลายเดือนเม.ย.52 จนถึงขณะนี้ เงินคงคลังเพิ่มขึ้นกว่า 5 หมื่นล้านบาท รวมปัจจุบันเงินคงคลังอยู่ที่ 114,700 ล้านบาท และคาดจนสิ้นเดือนก.ย.นี้เงินคงคลังจะเพิ่มมากขึ้นเพื่อเตรียมสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและเร่งด่วน ทั้งรายจ่ายด้านลงทุนและชำระหนี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้กรมบัญชีกลางยังได้รับนโยบายจากนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เพื่อเตรียมแผนรองรับหากพ.ร.ก.กู้เงินฉุกเฉิน 4 แสนล้านบาทไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา
"ถึงตอนนี้เราได้รับนโยบายให้หาทางออกหากเงินกู้ฉุกเฉิน 4 แสนล้านบาทไม่ผ่านสภา ซึ่งต้องคิดในกรณีเลวร้ายที่สุด มีหลายวิธีที่กรมบัญชีกลางจะทำ ส่วนจะต้องถึงขั้นดึงใบฎีกาเบิกเงินเพื่อให้เงินออกจากคลังล่าช้าที่สุดหรือไม่นั้น ต้องรอว่าถึงเวลาสิ้นปีงบประมาณแล้วฐานะการคลังจะเป็นอย่างไร"นายปิยพันธุ์กล่าว
สำหรับการเบิกจ่ายขณะนี้ทำได้ตามเป้าหมาย คาดสิ้นปีงบประมาณนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณรวมจะทำได้ตามเป้าที่ 94% และ 74%สำหรับงบลงทุน ส่วนการเบิกจ่ายงบค่ารักษาพยาบาลที่ได้ตั้งงบประมาณในปีนี้ไว้ที่ 4.8 หมื่นล้านบาทนั้น จนถึงขณะนี้เบิกจ่ายไปแล้ว 70% จากนี้เหลือเวลาอีก 4 เดือน ตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่กรมติดตามและส่งหนังสือเวียนไปยังหน่วยราชการทั้งหมดแล้วว่าให้ควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพื่อให้งบที่เหลืออยู่ 30% สามารถครอบคลุมรายจ่ายดังกล่าวได้ทั้งหมด
"ที่ผ่านมาการเบิกงบค่ารักษาพยาบาลสูงเกินงบที่กำหนดไว้เสมอ แต่ปีนี้เราได้ติดตามการเบิกจ่ายอย่างใกล้ชิด และพบว่าส่วนมากข้าราชการจะใช้วิธีเบิกจ่ายตรง ซึ่งการตรวจสอบจะล่าช้าเนื่องจากระบบจัดเก็บข้อมูลยังไม่ทั่วถึง และจนถึงขณะนี้เบิกไปแล้ว 70% ของ 4.8 หมื่นล้านบาท ดังนั้นเวลาที่เหลือจะต้องเบรกให้จ่ายเพียง 30% ของงบที่เหลือให้ได้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับงบรัฐ และสามารถนำงบประมาณไปสนับสนุนอย่างอื่นให้ครบถ้วน"นายปิยพันธุ์กล่าว
ทั้งนี้สำหรับเงินเหลือจากกรณีการขายหวยบนดิน 1.7 หมื่นล้านบาท จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องรอให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจพิจารณาเป็นหน่วยงานสุดท้ายเนื่องจากเงินดังกล่าวเป็นของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลที่เป็นรัฐวิสาหกิจ คงไม่สามารถนำมาเก็บหรือฝากไว้กับกรมบัญชีกลางก่อนได้ หรือหากจะทำเช่นนั้นก็ต้องเสนอออกเป็นกฎหมายระบุให้เงินดังกล่าวมาเป็นเงินคงคลังได้
นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในเดือนพ.ค.ที่จัดเก็บได้ดี ทำให้จากปลายเดือนเม.ย.52 จนถึงขณะนี้ เงินคงคลังเพิ่มขึ้นกว่า 5 หมื่นล้านบาท รวมปัจจุบันเงินคงคลังอยู่ที่ 114,700 ล้านบาท และคาดจนสิ้นเดือนก.ย.นี้เงินคงคลังจะเพิ่มมากขึ้นเพื่อเตรียมสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและเร่งด่วน ทั้งรายจ่ายด้านลงทุนและชำระหนี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้กรมบัญชีกลางยังได้รับนโยบายจากนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เพื่อเตรียมแผนรองรับหากพ.ร.ก.กู้เงินฉุกเฉิน 4 แสนล้านบาทไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา
"ถึงตอนนี้เราได้รับนโยบายให้หาทางออกหากเงินกู้ฉุกเฉิน 4 แสนล้านบาทไม่ผ่านสภา ซึ่งต้องคิดในกรณีเลวร้ายที่สุด มีหลายวิธีที่กรมบัญชีกลางจะทำ ส่วนจะต้องถึงขั้นดึงใบฎีกาเบิกเงินเพื่อให้เงินออกจากคลังล่าช้าที่สุดหรือไม่นั้น ต้องรอว่าถึงเวลาสิ้นปีงบประมาณแล้วฐานะการคลังจะเป็นอย่างไร"นายปิยพันธุ์กล่าว
สำหรับการเบิกจ่ายขณะนี้ทำได้ตามเป้าหมาย คาดสิ้นปีงบประมาณนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณรวมจะทำได้ตามเป้าที่ 94% และ 74%สำหรับงบลงทุน ส่วนการเบิกจ่ายงบค่ารักษาพยาบาลที่ได้ตั้งงบประมาณในปีนี้ไว้ที่ 4.8 หมื่นล้านบาทนั้น จนถึงขณะนี้เบิกจ่ายไปแล้ว 70% จากนี้เหลือเวลาอีก 4 เดือน ตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่กรมติดตามและส่งหนังสือเวียนไปยังหน่วยราชการทั้งหมดแล้วว่าให้ควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพื่อให้งบที่เหลืออยู่ 30% สามารถครอบคลุมรายจ่ายดังกล่าวได้ทั้งหมด
"ที่ผ่านมาการเบิกงบค่ารักษาพยาบาลสูงเกินงบที่กำหนดไว้เสมอ แต่ปีนี้เราได้ติดตามการเบิกจ่ายอย่างใกล้ชิด และพบว่าส่วนมากข้าราชการจะใช้วิธีเบิกจ่ายตรง ซึ่งการตรวจสอบจะล่าช้าเนื่องจากระบบจัดเก็บข้อมูลยังไม่ทั่วถึง และจนถึงขณะนี้เบิกไปแล้ว 70% ของ 4.8 หมื่นล้านบาท ดังนั้นเวลาที่เหลือจะต้องเบรกให้จ่ายเพียง 30% ของงบที่เหลือให้ได้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับงบรัฐ และสามารถนำงบประมาณไปสนับสนุนอย่างอื่นให้ครบถ้วน"นายปิยพันธุ์กล่าว
ทั้งนี้สำหรับเงินเหลือจากกรณีการขายหวยบนดิน 1.7 หมื่นล้านบาท จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องรอให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจพิจารณาเป็นหน่วยงานสุดท้ายเนื่องจากเงินดังกล่าวเป็นของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลที่เป็นรัฐวิสาหกิจ คงไม่สามารถนำมาเก็บหรือฝากไว้กับกรมบัญชีกลางก่อนได้ หรือหากจะทำเช่นนั้นก็ต้องเสนอออกเป็นกฎหมายระบุให้เงินดังกล่าวมาเป็นเงินคงคลังได้