การเมืองฉุดความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ “เกรียงไกร” นายกส.อีเวนต์คนใหม่ ชี้ทางเปิดม่านตลาดMICEกลับไทย เผยยุทธ์ศาสตร์ดันอุตสาหกรรมอีเวนต์ไทยให้เติบโตขึ้นเป็นฮับในอินโดจีนใน 2 ปี เตรียมจีบภาครัฐช่วยสนับสนุนธุรกิจอีเวนต์ มั่นใจสิ้นปีอุตสาหกรรมอีเวนต์รวมยังเติบโตแน่ 5%
นายเกรียงไกร กาญจนะโภคิน นายกสมาคม อีเวนต์ เมเนจเม้นท์ (EMA) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท อินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สมาคมอีเวนต์ได้ก่อตั้งขึ้นมาเข้าปีที่3ในปีนี้ โดยตนได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมฯเป็นคนที่ 2 ต่อจากนายเสริมคุณ คุณาวงศ์ ที่จะหมดวาระลงในปีนี้ โดยวาระการทำงานครั้งนี้จะเริ่มอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนมิ.ย.2552-มิ.ย.2554 รวม 2 ปี
การเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมฯครั้งนี้ ตนได้วางวิชั่นของสมาคมฯไว้ 5 ข้อ มุ่งเน้นจะยกระดับอุตสาหกรรมอีเวนต์ในไทยมีศักยภาพที่ได้มาตรฐาน โดยข้อ1.สร้างมาตรฐานอีเวนต์ไทยให้เทียบเท่าระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความรู้ สร้างมาตรฐานความปลอดภัยในการทำธุรกิจ นำประกันภัยเข้ามาใช้ รวมถึงสนับสนุนให้สถาบันการศึกษา เปิดสาขาวิชาอีเวนต์ 2.ขยายฐานสมาชิกเน้นเรื่องสิทธิประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับ จากปัจจุบันมีสมาชิก 24 บริษัท จากทั้งหมดที่มีออการ์ไนเซอร์ ที่จดทะเบียนกว่า 64 บริษัทในประเทศ 3. ให้ความสำคัญเรื่องการสื่อสารในสมาคม 4.เน้นผนึกกำลังกับภาครัฐบาลมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ททท., TCEB และBOI และ5.สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้สิ่งที่จะต้องเป็นอันดับแรก คือ เรื่องของการเพิ่มฐานสมาชิก เพื่อที่จะช่วยกันผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตให้ได้ ในการที่จะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศต่อไป โดยเฉพาะสิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งกำลังพยายามผลักดันในการเป็นผู้นำด้านอีเวนต์ในแถบอินโดจีน ดังนั้นส่วนหนึ่งของการทำงาน จะต้องผลักดันให้ภาครัฐช่วยอีกทางหนึ่งให้เห็นความสำคัญของงานอีเวนต์ ที่ไม่ได้เป็นแค่เพียงธุรกิจด้านเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ แต่หมายถึง ธุรกิจที่เสริมด้านการตลาดของประเทศ โดยสมาคมฯจะมีการเข้าไปเจรจากับทางBOI ในการช่วยลดหย่อนภาษีการนำเข้าอุปกรณ์เกี่ยวกับการจัดงานอีเวนต์เพื่อที่จะช่วยให้ต้นทุนการจัดงานลดลง และเพื่อเปิดทางให้ไทยได้ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการจัดงานในแถบอินโดจีนต่อไป เนื่องจากมีความพร้อมทั้งในเรื่องของอุปกรณ์ สถานที่การจัดงาน และสถานที่พัก คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปีหลังจากนี้
นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า สำหรับปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นนี้ แน่นอนว่าส่งผลต่อความเชื่อมั่นจากต่างชาติ งานอีเวนต์ที่ควรจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มMICE จากต่างประเทศที่จะเข้ามาจัดในไทยถือว่าลดลงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลควรทำที่สุด คือ หาวิธีการเรียกความเชื่อมั่นกลับคืน โดยควรที่จะนำเสนออีเวนต์ที่มุ่งสื่อสารออกไปยังต่างประเทศเกี่ยวกับความสงบสุขของคนไทยออกไป ให้เห็นถึงความสงบที่เกิดขึ้นในประเทศ หรืออาจจะจัดงานอีเว้นท์ระดับสากลในไทย เพื่อเรียกกระแสความเชื่อมั่นกลับคืน โดยภาครัฐจะต้องสนับสนุนค่าใช้จ่ายในราคาที่ลดลง เชื่อว่าจะช่วยให้งานอีเวนต์จากต่างประเทศที่จะจัดในประเทศดีขึ้น
อย่างไรก็ตามภาพรวมธุรกิจอีเวนต์มูลค่ากว่าหมื่นล้านบาทนั้น ปีนี้ยังเชื่อมั่นว่ายังน่าจะมีการเติบโตได้อีก 5% เพราะพบว่าลูกค้ายังเลือกใช้อีเวนต์ในการผลักดันยอดขายอยู่ ถึงแม้ว่างบการใช้เงินของลูกค้าจะลดลง แต่ก็เป็นการเลือกใช้อย่างระมัดระวัง โดยอีเวนต์ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่ลูกค้ายังมั่นใจในการใช้เงินอยู่
นายเกรียงไกร กาญจนะโภคิน นายกสมาคม อีเวนต์ เมเนจเม้นท์ (EMA) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท อินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สมาคมอีเวนต์ได้ก่อตั้งขึ้นมาเข้าปีที่3ในปีนี้ โดยตนได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมฯเป็นคนที่ 2 ต่อจากนายเสริมคุณ คุณาวงศ์ ที่จะหมดวาระลงในปีนี้ โดยวาระการทำงานครั้งนี้จะเริ่มอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนมิ.ย.2552-มิ.ย.2554 รวม 2 ปี
การเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมฯครั้งนี้ ตนได้วางวิชั่นของสมาคมฯไว้ 5 ข้อ มุ่งเน้นจะยกระดับอุตสาหกรรมอีเวนต์ในไทยมีศักยภาพที่ได้มาตรฐาน โดยข้อ1.สร้างมาตรฐานอีเวนต์ไทยให้เทียบเท่าระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความรู้ สร้างมาตรฐานความปลอดภัยในการทำธุรกิจ นำประกันภัยเข้ามาใช้ รวมถึงสนับสนุนให้สถาบันการศึกษา เปิดสาขาวิชาอีเวนต์ 2.ขยายฐานสมาชิกเน้นเรื่องสิทธิประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับ จากปัจจุบันมีสมาชิก 24 บริษัท จากทั้งหมดที่มีออการ์ไนเซอร์ ที่จดทะเบียนกว่า 64 บริษัทในประเทศ 3. ให้ความสำคัญเรื่องการสื่อสารในสมาคม 4.เน้นผนึกกำลังกับภาครัฐบาลมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ททท., TCEB และBOI และ5.สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้สิ่งที่จะต้องเป็นอันดับแรก คือ เรื่องของการเพิ่มฐานสมาชิก เพื่อที่จะช่วยกันผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตให้ได้ ในการที่จะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศต่อไป โดยเฉพาะสิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งกำลังพยายามผลักดันในการเป็นผู้นำด้านอีเวนต์ในแถบอินโดจีน ดังนั้นส่วนหนึ่งของการทำงาน จะต้องผลักดันให้ภาครัฐช่วยอีกทางหนึ่งให้เห็นความสำคัญของงานอีเวนต์ ที่ไม่ได้เป็นแค่เพียงธุรกิจด้านเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ แต่หมายถึง ธุรกิจที่เสริมด้านการตลาดของประเทศ โดยสมาคมฯจะมีการเข้าไปเจรจากับทางBOI ในการช่วยลดหย่อนภาษีการนำเข้าอุปกรณ์เกี่ยวกับการจัดงานอีเวนต์เพื่อที่จะช่วยให้ต้นทุนการจัดงานลดลง และเพื่อเปิดทางให้ไทยได้ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการจัดงานในแถบอินโดจีนต่อไป เนื่องจากมีความพร้อมทั้งในเรื่องของอุปกรณ์ สถานที่การจัดงาน และสถานที่พัก คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปีหลังจากนี้
นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า สำหรับปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นนี้ แน่นอนว่าส่งผลต่อความเชื่อมั่นจากต่างชาติ งานอีเวนต์ที่ควรจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มMICE จากต่างประเทศที่จะเข้ามาจัดในไทยถือว่าลดลงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลควรทำที่สุด คือ หาวิธีการเรียกความเชื่อมั่นกลับคืน โดยควรที่จะนำเสนออีเวนต์ที่มุ่งสื่อสารออกไปยังต่างประเทศเกี่ยวกับความสงบสุขของคนไทยออกไป ให้เห็นถึงความสงบที่เกิดขึ้นในประเทศ หรืออาจจะจัดงานอีเว้นท์ระดับสากลในไทย เพื่อเรียกกระแสความเชื่อมั่นกลับคืน โดยภาครัฐจะต้องสนับสนุนค่าใช้จ่ายในราคาที่ลดลง เชื่อว่าจะช่วยให้งานอีเวนต์จากต่างประเทศที่จะจัดในประเทศดีขึ้น
อย่างไรก็ตามภาพรวมธุรกิจอีเวนต์มูลค่ากว่าหมื่นล้านบาทนั้น ปีนี้ยังเชื่อมั่นว่ายังน่าจะมีการเติบโตได้อีก 5% เพราะพบว่าลูกค้ายังเลือกใช้อีเวนต์ในการผลักดันยอดขายอยู่ ถึงแม้ว่างบการใช้เงินของลูกค้าจะลดลง แต่ก็เป็นการเลือกใช้อย่างระมัดระวัง โดยอีเวนต์ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่ลูกค้ายังมั่นใจในการใช้เงินอยู่