“ตัน” เจ้าพ่อชาเขียว ปรับตัวรับมือภาครัฐรีดภาษีสรรพสามิตชา-กาแฟ พร้อมดื่ม ลั่นโยกงบ 1,400 ล้านบาท โฟกัสธุรกิจอาหารแทนชาเขียวซบ ระบุ ต้องใช้เวลา 5 ปีเข็นตลาดสู่ภาวะปกติ หากโดนโขกภาษี 20% ต้องปรับราคาเพิ่ม 4-5 บาท มูลค่าตลาดชาคาดหดตัว 2,400 ล้านบาท อุตสาหกรรมต่อเนื่องกระทบ 6,000 ล้านบาท วอนรัฐทบทวนให้รอบคอบ
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ กล่าวว่า หากภาครัฐมีแนวทางจัดเก็บภาษีสรรพสามิตชาและกาแฟพร้อมดื่ม โดยจัดเก็บในอัตรา 20% แน่นอนแล้วจะส่งผลให้ราคาชาเขียวปรับเพิ่มขึ้น 4-5 บาท ขณะที่ตลาดชาพร้อมดื่มมูลค่า 6,000 ล้านบาท คาดว่า จะต้องหดตัว 40% หรือมูลค่า 2,400 ล้านบาท และหากจัดเก็บ 10% ราคาเพิ่มขึ้น 2 บาท ตลาดหดตัว 20% หรือมูลค่า 1,200 ล้านบาท โดยประมาณการณ์ว่าบริษัทต้องดำเนินการตลาดเชิงรุกอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อสร้างตลาดชาพร้อมดื่มกลับมามีมูลค่า 6,000 ล้านบาท ส่วนตลาดกาแฟพร้อมดื่ม คาดว่า จะได้รับผลกระทบไม่แตกต่างจากชาเขียวพร้อมดื่ม
ดังนั้น บริษัทจึงได้ปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจ โดยหันมาโฟกัสธุรกิจอาหารมากขึ้น ล่าสุด ได้เตรียมโยกงบลงทุน 1,400 ล้านบาท จากเดิมที่เตรียมไว้เพื่อขยายกำลังผลิตชาเขียวพร้อมดื่ม ซึ่งบริษัทมีแผนดำเนินการในเดือนเมษายนปีนี้ มาสู่การลงทุนขยายธุรกิจอาหารแทน และในอนาคตวางเป้าหมายให้ธุรกิจอาหารมีสัดส่วนรายได้เพิ่มจาก 40% เป็น 60% ส่วนเครื่องดื่มเหลือจาก 60% เหลือเป็น 40% โดยบริษัทคงพลาดเป้าหมายการผลักดันตลาดชาพร้อมดื่มมูลค่าเพิ่มเป็น 1 หมื่นล้านบาท ในอีก 3 ปี
นายตัน กล่าวว่า การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตกลุ่มชา-กาแฟพร้อมดื่ม ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ บรรจุภัณฑ์ขวด ฉลาก ฝา ประมาณการณ์มูลค่า 5,000-6,000 ล้านบาท ล่าสุด โรงงาน 2 แห่ง ที่ผลิตขวดให้กับโออิชิลงทุนขยายกำลังผลิต 1,000-2,000 ล้านบาท มีโอกาสเป็นหนี้เอ็นพีแอลสูงมาก ส่วนผู้ผลิตฝาโออิชิจากประเทศไต้หวัน คงได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งยังไม่รวมถึงผู้ผลิตชาหรือกาแฟ ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันจากแนวทางดังกล่าว โอกาสที่กำลังผลิตล้นตลาดมีความเป็นไปได้เช่นเดียวกับน้ำนมดิบ จากปัจจุบันโออิชิใช้ชาที่ผลิตขึ้นจาก จ.เชียงใหม่ 30-40%
ขณะนี้คงต้องรอความชัดเจนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตชา-กาแฟพร้อมดื่ม ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้านี้จากทางภาครัฐ แต่ในฐานะผู้ประกอบการชาเขียวพร้อมดื่ม อยากให้ภาครัฐทบทวนแนวทางดังกล่าวด้วยความรอบคอบ ทั้งผลดีที่จะได้รับว่าคุ้มค่ากับผลกระทบที่จะตามมาด้วยหรือไม่
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ กล่าวว่า หากภาครัฐมีแนวทางจัดเก็บภาษีสรรพสามิตชาและกาแฟพร้อมดื่ม โดยจัดเก็บในอัตรา 20% แน่นอนแล้วจะส่งผลให้ราคาชาเขียวปรับเพิ่มขึ้น 4-5 บาท ขณะที่ตลาดชาพร้อมดื่มมูลค่า 6,000 ล้านบาท คาดว่า จะต้องหดตัว 40% หรือมูลค่า 2,400 ล้านบาท และหากจัดเก็บ 10% ราคาเพิ่มขึ้น 2 บาท ตลาดหดตัว 20% หรือมูลค่า 1,200 ล้านบาท โดยประมาณการณ์ว่าบริษัทต้องดำเนินการตลาดเชิงรุกอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อสร้างตลาดชาพร้อมดื่มกลับมามีมูลค่า 6,000 ล้านบาท ส่วนตลาดกาแฟพร้อมดื่ม คาดว่า จะได้รับผลกระทบไม่แตกต่างจากชาเขียวพร้อมดื่ม
ดังนั้น บริษัทจึงได้ปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจ โดยหันมาโฟกัสธุรกิจอาหารมากขึ้น ล่าสุด ได้เตรียมโยกงบลงทุน 1,400 ล้านบาท จากเดิมที่เตรียมไว้เพื่อขยายกำลังผลิตชาเขียวพร้อมดื่ม ซึ่งบริษัทมีแผนดำเนินการในเดือนเมษายนปีนี้ มาสู่การลงทุนขยายธุรกิจอาหารแทน และในอนาคตวางเป้าหมายให้ธุรกิจอาหารมีสัดส่วนรายได้เพิ่มจาก 40% เป็น 60% ส่วนเครื่องดื่มเหลือจาก 60% เหลือเป็น 40% โดยบริษัทคงพลาดเป้าหมายการผลักดันตลาดชาพร้อมดื่มมูลค่าเพิ่มเป็น 1 หมื่นล้านบาท ในอีก 3 ปี
นายตัน กล่าวว่า การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตกลุ่มชา-กาแฟพร้อมดื่ม ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ บรรจุภัณฑ์ขวด ฉลาก ฝา ประมาณการณ์มูลค่า 5,000-6,000 ล้านบาท ล่าสุด โรงงาน 2 แห่ง ที่ผลิตขวดให้กับโออิชิลงทุนขยายกำลังผลิต 1,000-2,000 ล้านบาท มีโอกาสเป็นหนี้เอ็นพีแอลสูงมาก ส่วนผู้ผลิตฝาโออิชิจากประเทศไต้หวัน คงได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งยังไม่รวมถึงผู้ผลิตชาหรือกาแฟ ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันจากแนวทางดังกล่าว โอกาสที่กำลังผลิตล้นตลาดมีความเป็นไปได้เช่นเดียวกับน้ำนมดิบ จากปัจจุบันโออิชิใช้ชาที่ผลิตขึ้นจาก จ.เชียงใหม่ 30-40%
ขณะนี้คงต้องรอความชัดเจนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตชา-กาแฟพร้อมดื่ม ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้านี้จากทางภาครัฐ แต่ในฐานะผู้ประกอบการชาเขียวพร้อมดื่ม อยากให้ภาครัฐทบทวนแนวทางดังกล่าวด้วยความรอบคอบ ทั้งผลดีที่จะได้รับว่าคุ้มค่ากับผลกระทบที่จะตามมาด้วยหรือไม่