เอสเอ็มอีแบงก์ จับมือพันธมิตรปัดฝุ่นแพกเกจสินเชื่อชุบชีวิตผู้ประกอบการรายย่อยอัดฉีดสินเชื่อ 2.6 หมื่นล้านเข้าระบบ ระบุ หลังเปิดโครงการ smePower ลูกค้าให้ความสนใจยื่นขอสินเชื่อแต่ละภาคกว่าพันล้าน พร้อมลุยโครงการ Machine fund ฟื้นฟูเครื่องจักร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ในต้นเดือนเมษายนเอสเอ็มอีแบงก์จะออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม โดยจะประสานความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) เป็นต้น
โดยในเบื้องต้นหน่วยงานต่างๆ เหล่านี้ จะร่วมมือกันสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อ เช่น สภาอุตฯ และสภาหอฯ จะร่วมกันคัดเลือกเอสเอ็มอีที่มีคุณภาพและมีแนวโน้มการดำเนินการที่ดีเข้ามาสู่กระบวนการสินเชื่อ ในขณะที่ สสว.และกระทรวงอุตสาหกรรมจะมีส่วนช่วยในเรื่องการพัฒนาทักษะ ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด
“โครงการที่จะออกมาในเดือนเมษายนนี้ หน่วยงานทั้ง 6 จะร่วมมือกันตั้งแต่การสกรีนลูกค้าและพัฒนาความรู้ ทักษะและเทคโนโลยีให้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะขอความร่วมมือจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมเข้ามารับประกันสินเชื่อของผู้ประกอบการที่ยื่นขอสินเชื่อในครั้งนี้ด้วย ซึ่งความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้จะเป็นส่วนช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจขิงประเทศเดินหน้าต่อไปได้” นายโสฬส กล่าว
แผนการดำเนินงานของเอสเอ็มอีแบงก์ในปีนี้ จะปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งสิ้น 2.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือซอฟท์โลนที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการแล้วอีก 5 หมื่นล้านบาท ที่จะมาช่วยเหลือผู้ประกอบการทางอ้อมร่วมกันกับการปล่อยสินเชื่อปกติของเอสเอ็มอีแบงก์
แม้รัฐบาลจะยังไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องที่มาของวงเงินซอฟต์โลน 5 หมื่นล้านบาทนั้น แต่เอสเอ็มอีแบงก์ก็ยังสามารถดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการได้อย่างต่อเนื่องระหว่างที่รอข้อสรุปในการจัดหาเม็ดเงินก้อนนี้ ซึ่งหากรัฐบาลสามารถจัดหาเงินได้เอสเอ็มอีแบงก์ก็มีความพร้อมในการปล่อยสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องของผู้ประกอบการได้ทันที
“เงิน 2.6 หมื่นล้านที่เราจะปล่อยตามเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นจะสามารถช่วยเหลือเอสเอ็มอีรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องได้มากทั้งในส่วนของคู่ค้าของเอสเอ็มอีรวมทั้งลูกจ้าง พนักงานที่มีอยู่หลายแสนหลายล้านรายในระบบทำให้เม็ดเงินที่ลงไปหมุดได้หลายรอบเป็นผลดีที่เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และหากซอฟต์โลนอีก 5 หมื่นบาท อนุมัติแล้วก็จะช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศได้มากขึ้น” นายโสฬส กล่าว
สำหรับโครงการ smePOWER ที่ให้บริการ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ บริการร่วมลงทุน บริการค้ำประกันสินเชื่อ และการให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ความสนใจติดต่อเข้ามาผ่านทางสาขาเป็นจำนวนมาก โดยเท่าที่ตรวจสอบไปตามภาคต่างๆ พบว่า มียอดการขอสินเชื่อไม่ต่ำกว่าภาคละ 1 พันล้านบาท ซึ่งหากโครงการดังกล่าวสามารถเปิดตัวได้อย่างเป็นทางการคาดว่าจะทำให้ยอดการขอสินเชื่อมีเข้ามามากขึ้น
เดินหน้าลุยโครงการ Machine fund
นายโสฬส ยังเปิดเผยด้วยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการจัดการธนาคารมีมติเห็นชอบให้ธนาคารเข้าร่วมโครงการสนับสนุนการปรับปรุง-ฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรแก่ SMEs (Machine Fund) ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเอสเอ็มอี แบงก์-สสว.-สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)-สมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน และสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีระยะเวลาสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม 2552 โดยปีนี้ได้มีการปรับหลักเกณฑ์และอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน โดยผู้ประกอบการจะได้รับการสนับสนุนดอกเบี้ยจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รายละ 3% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปีนับจากวันที่ทำนิติกรรมสัญญาเงินกู้ ซึ่งเป็นมาตรการพิเศษให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการ และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs หันมาปรับปรุงฟื้นฟูหรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัยมากขึ้น ก่อให้เกิดกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนและแข่งขันได้ในอนาคต
นอกจากการให้ความช่วยเหลือด้านดอกเบี้ยแล้ว ยังเพิ่มการสนับสนุนทางด้านการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง Hardware และ Soft ware มาใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งได้มีการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่ทำรายได้เข้าประเทศได้อย่างมหาศาล ประกอบด้วยอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรแปรรูป เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ, เซรามิค/เครื่องเคลือบดินเผา, ชิ้นส่วนยานยนต์, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, อะไหล่และเครื่องจักรกล, ท่องเที่ยวและบริการ, อุตสาหกรรมเกี่ยวกับ Life Style เช่น แฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งภายใน เครื่องประดับ
“ผู้ประกอบการ SMEs จงมองภาวะวิกฤตเศรษฐกิจขณะนี้ให้เป็นโอกาสเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้งานมานานอาจชำรุดหรือประสิทธิภาพการผลิตลดลง ดังนั้น การปรับปรุงฟื้นฟูหรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักรจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยลดต้นทุนและรองรับการผลิตที่มากขึ้นได้ในอนาคต” นายโสฬส กล่าว
นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ในต้นเดือนเมษายนเอสเอ็มอีแบงก์จะออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม โดยจะประสานความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) เป็นต้น
โดยในเบื้องต้นหน่วยงานต่างๆ เหล่านี้ จะร่วมมือกันสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อ เช่น สภาอุตฯ และสภาหอฯ จะร่วมกันคัดเลือกเอสเอ็มอีที่มีคุณภาพและมีแนวโน้มการดำเนินการที่ดีเข้ามาสู่กระบวนการสินเชื่อ ในขณะที่ สสว.และกระทรวงอุตสาหกรรมจะมีส่วนช่วยในเรื่องการพัฒนาทักษะ ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด
“โครงการที่จะออกมาในเดือนเมษายนนี้ หน่วยงานทั้ง 6 จะร่วมมือกันตั้งแต่การสกรีนลูกค้าและพัฒนาความรู้ ทักษะและเทคโนโลยีให้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะขอความร่วมมือจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมเข้ามารับประกันสินเชื่อของผู้ประกอบการที่ยื่นขอสินเชื่อในครั้งนี้ด้วย ซึ่งความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้จะเป็นส่วนช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจขิงประเทศเดินหน้าต่อไปได้” นายโสฬส กล่าว
แผนการดำเนินงานของเอสเอ็มอีแบงก์ในปีนี้ จะปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งสิ้น 2.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือซอฟท์โลนที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการแล้วอีก 5 หมื่นล้านบาท ที่จะมาช่วยเหลือผู้ประกอบการทางอ้อมร่วมกันกับการปล่อยสินเชื่อปกติของเอสเอ็มอีแบงก์
แม้รัฐบาลจะยังไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องที่มาของวงเงินซอฟต์โลน 5 หมื่นล้านบาทนั้น แต่เอสเอ็มอีแบงก์ก็ยังสามารถดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการได้อย่างต่อเนื่องระหว่างที่รอข้อสรุปในการจัดหาเม็ดเงินก้อนนี้ ซึ่งหากรัฐบาลสามารถจัดหาเงินได้เอสเอ็มอีแบงก์ก็มีความพร้อมในการปล่อยสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องของผู้ประกอบการได้ทันที
“เงิน 2.6 หมื่นล้านที่เราจะปล่อยตามเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นจะสามารถช่วยเหลือเอสเอ็มอีรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องได้มากทั้งในส่วนของคู่ค้าของเอสเอ็มอีรวมทั้งลูกจ้าง พนักงานที่มีอยู่หลายแสนหลายล้านรายในระบบทำให้เม็ดเงินที่ลงไปหมุดได้หลายรอบเป็นผลดีที่เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และหากซอฟต์โลนอีก 5 หมื่นบาท อนุมัติแล้วก็จะช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศได้มากขึ้น” นายโสฬส กล่าว
สำหรับโครงการ smePOWER ที่ให้บริการ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ บริการร่วมลงทุน บริการค้ำประกันสินเชื่อ และการให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ความสนใจติดต่อเข้ามาผ่านทางสาขาเป็นจำนวนมาก โดยเท่าที่ตรวจสอบไปตามภาคต่างๆ พบว่า มียอดการขอสินเชื่อไม่ต่ำกว่าภาคละ 1 พันล้านบาท ซึ่งหากโครงการดังกล่าวสามารถเปิดตัวได้อย่างเป็นทางการคาดว่าจะทำให้ยอดการขอสินเชื่อมีเข้ามามากขึ้น
เดินหน้าลุยโครงการ Machine fund
นายโสฬส ยังเปิดเผยด้วยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการจัดการธนาคารมีมติเห็นชอบให้ธนาคารเข้าร่วมโครงการสนับสนุนการปรับปรุง-ฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรแก่ SMEs (Machine Fund) ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเอสเอ็มอี แบงก์-สสว.-สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)-สมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน และสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีระยะเวลาสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม 2552 โดยปีนี้ได้มีการปรับหลักเกณฑ์และอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน โดยผู้ประกอบการจะได้รับการสนับสนุนดอกเบี้ยจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รายละ 3% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปีนับจากวันที่ทำนิติกรรมสัญญาเงินกู้ ซึ่งเป็นมาตรการพิเศษให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการ และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs หันมาปรับปรุงฟื้นฟูหรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัยมากขึ้น ก่อให้เกิดกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนและแข่งขันได้ในอนาคต
นอกจากการให้ความช่วยเหลือด้านดอกเบี้ยแล้ว ยังเพิ่มการสนับสนุนทางด้านการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง Hardware และ Soft ware มาใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งได้มีการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่ทำรายได้เข้าประเทศได้อย่างมหาศาล ประกอบด้วยอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรแปรรูป เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ, เซรามิค/เครื่องเคลือบดินเผา, ชิ้นส่วนยานยนต์, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, อะไหล่และเครื่องจักรกล, ท่องเที่ยวและบริการ, อุตสาหกรรมเกี่ยวกับ Life Style เช่น แฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งภายใน เครื่องประดับ
“ผู้ประกอบการ SMEs จงมองภาวะวิกฤตเศรษฐกิจขณะนี้ให้เป็นโอกาสเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้งานมานานอาจชำรุดหรือประสิทธิภาพการผลิตลดลง ดังนั้น การปรับปรุงฟื้นฟูหรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักรจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยลดต้นทุนและรองรับการผลิตที่มากขึ้นได้ในอนาคต” นายโสฬส กล่าว