แซมโซไนท์ เปิดทางดัน อเมริกันทัวริสเตอร์ รุกหนัก แย่งแชร์โลคอลแบรนด์และ อิมพอร์ตแบรนด์ รับเศรษฐกิจตกไม่ดี ส่วน แซมโซไนท์ เป็นตัวรอง เหตุขายยากกว่าเพราะราคาสูง ชูธงแฟรนไชส์บุกตลาดต่างจังหวัด
นายชัยโรจน์ ศรีเดชะรินทร์กุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แซมโซไนท์ (ประเทศไทย) ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายกระเป๋าเดินทางแซมโซไนท์, อเมริกัน ทัวริสเตอร์, ทิมเบอร์แลนด์ เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทจะเน้นทำตลาดแบรนด์อเมริกันทัวริสเตอร์เป็นหัวหอกหลัก เนื่องจากเหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยู่ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ไม่ค่อยดี กำลังซื้อลดลง คนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
ขณะที่แบรนด์อเมริกันนั้น มีคุณภาพเทียบเท่าแบรนด์แซมโซไนท์ แต่มีราคาต่ำกว่า เริ่มที่ 1,000-9,000 บาท ถูกกว่าเกือบ 100% เมื่อเทียบกับแซมโซไนท์ที่มีประมาณ 9,000 บาทขึ้นไป
“เราวิเคราะห์แล้ว พบว่า อเมริกันทัวริสเตอร์น่าจะขายได้ง่ายกว่า และจะเอามาแย่งแชร์แบรนด์ท้องถิ่นและแบรนด์ที่นำเข้าจากต่างประเทศในระดับราคาเดียวกัน ซึ่งปีนี้เรามีแผนบุกเต็มที่รวมทั้งการเปลี่ยนชื่อใหม่จากเดิมใช้ “American Tourister since 1933” มาเป็น “American Tourister by Samsonite” เพื่อตอกย้ำถึงคุณภาพสินค้าระดับบเดียวกับแซมโซไนท์
อย่างไรก็ตาม นายชัยโรจน์ ยอมรับว่า แบรนด์อเมริกันฯง่ายต่อการเจาะตลาดด้วยจุดเด่นเรื่องราคากับคุณภาพ แต่ก็ยากเช่นเดียวกันเพราะว่าชื่อแบรนด์ยังใหม่อยู่สำหรับในตลาดเมืองไทย แต่ต่างประเทศมีมานานกว่า 70 ปีแล้ว
ทั้งนี้ จะใช้กลยุทธ์แฟรนไชส์สำหรับผู้ที่สนใจจะเปิดร้านอเมริกันทัวริสเตอร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้สนใจในต่างจังหวัดประมาณ 5 ราย ซึ่งจับกลุ่มผู้ที่มีธุรกิจขายกระเป๋าอยู่แล้วแต่อยากจะเปลี่ยนแบรนด์ 2.มีธุรกิจอื่นแต่อยากเปลี่ยนมาเป็นจำหน่ายกระเป๋า 3.คนที่มีเงินแต่ยังไม่รู้จะทำอะไร คาดว่า เดือนพฤษภาคมนี้จะเปิดตัวแฟรนไชส์รายแรกได้ ซึ่งแฟรนไชส์ไม่ต้องจ่ายค่ารอยัลตี้ เพียงแต่รับสินค้าจากเราไปจำหน่ายและใช้ชื่อร้านอเมริกันทัวริสเตอร์เท่านั้น
นอกจากนั้น จะเพิ่มจุดจำหน่ายที่เป็นเคาน์เตอร์ด้วยโดยพุ่งเป้าหมายไปที่ห้างที่มีคู่แข่งของอเมริกัน ทัวริสเตอร์ จำหน่ายอยู่แล้ว จากปัจจุบันมี 13 จุด รวมทั้งการปรับโฉมใหม่ให้ดูทันสมัยขึ้น ซึ่งแยกต่างหากจากเคาน์เตอร์ของแซมโซไนท์ นอกจากนั้นยังมีร้านมัลติแบรนด์อีก 4 สาขา ชื่อว่า “แซมโซไนท์” ที่จำหน่ายทั้งสามแบรนด์ คือ แซมโซไนท์ อเมริกันทัวริสเตอร์ และ ทิมเบอร์แลนด์ คือ ที่ เซ็นทรัลลาดพร้าว เดอะมอลล์บางกะปิ เซ็นทรัลแอร์พอร์ตเชียงใหม่ และเซ็นทรัลเฟสติวัลพัทยา และมีแฟคตอรี่เอาต์เลตอีก 2 แห่งที่แฟชั่นไอส์แลนด์และเอาต์เลตมอลล์พัทยา
บริษัทยังมีแผนที่จะขยายช่องทางจำหน่ายไปยังร้านไอทีด้วย เพราะในอนาคตเตรียมที่จะออกผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก เพื่อจำหน่ายตามร้านไอทีด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งก่อนนี้เคยทำกับแบรนด์แซมโซไนท์แล้ว แต่ช่วงหลังได้ยกเลิกดิสทริบิวเตอร์รายดังเก่าไปแล้ว
การบุกหนักในปีนี้ของอเมริกันทัวริสเตอร์ คาดว่า จะทำให้ปีนี้แบรนด์อเมริกันทัวริสเตอร์มียอดขายประมาณ 80 ล้านบาท เติบโต 25% เนื่องจากาฐานรายได้ยังต่ำอยู่ และจะเพิ่มสัดส่วนรายได้เป็น 20% จากเดิมมี 10% โดยที่สัดส่วนรายได้หลัก คือ แซมโซไนท์จะรักษาระดับ 70% เท่าเดิม โดยภาพรวมบริษัทปีนี้ คาดว่า จะเติบโตรวม 20% โดยตัวหลักที่เติบโตมากมาจาก อเมริกันทัวริสเตอร์ จากปีที่แล้วที่โตเพียง 2% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของตลาดกระเป๋าเดินทางในเมืองไทยมีประมาณ 1,380 ล้านบาท เมื่อคิดในแง่ของกระเป๋าที่นำเข้ามาโดยผ่านทางศุลกากรเท่านั้น ซึ่งถ้าหากรวมกับกระเป๋าที่ไม่ผ่านศุลกากรและกระเป๋าโลคอลแบรนด์จะมีประมาณ 4,140 ล้านบาท โดยช่องทางจำหน่ายที่ผ่านห้างค้าปลีกอย่างเดียวมีแบรนด์แซมโซไนท์เป็นผู้นำตลาดด้วยแชร์ 60%
นายชัยโรจน์ ศรีเดชะรินทร์กุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แซมโซไนท์ (ประเทศไทย) ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายกระเป๋าเดินทางแซมโซไนท์, อเมริกัน ทัวริสเตอร์, ทิมเบอร์แลนด์ เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทจะเน้นทำตลาดแบรนด์อเมริกันทัวริสเตอร์เป็นหัวหอกหลัก เนื่องจากเหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยู่ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ไม่ค่อยดี กำลังซื้อลดลง คนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
ขณะที่แบรนด์อเมริกันนั้น มีคุณภาพเทียบเท่าแบรนด์แซมโซไนท์ แต่มีราคาต่ำกว่า เริ่มที่ 1,000-9,000 บาท ถูกกว่าเกือบ 100% เมื่อเทียบกับแซมโซไนท์ที่มีประมาณ 9,000 บาทขึ้นไป
“เราวิเคราะห์แล้ว พบว่า อเมริกันทัวริสเตอร์น่าจะขายได้ง่ายกว่า และจะเอามาแย่งแชร์แบรนด์ท้องถิ่นและแบรนด์ที่นำเข้าจากต่างประเทศในระดับราคาเดียวกัน ซึ่งปีนี้เรามีแผนบุกเต็มที่รวมทั้งการเปลี่ยนชื่อใหม่จากเดิมใช้ “American Tourister since 1933” มาเป็น “American Tourister by Samsonite” เพื่อตอกย้ำถึงคุณภาพสินค้าระดับบเดียวกับแซมโซไนท์
อย่างไรก็ตาม นายชัยโรจน์ ยอมรับว่า แบรนด์อเมริกันฯง่ายต่อการเจาะตลาดด้วยจุดเด่นเรื่องราคากับคุณภาพ แต่ก็ยากเช่นเดียวกันเพราะว่าชื่อแบรนด์ยังใหม่อยู่สำหรับในตลาดเมืองไทย แต่ต่างประเทศมีมานานกว่า 70 ปีแล้ว
ทั้งนี้ จะใช้กลยุทธ์แฟรนไชส์สำหรับผู้ที่สนใจจะเปิดร้านอเมริกันทัวริสเตอร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้สนใจในต่างจังหวัดประมาณ 5 ราย ซึ่งจับกลุ่มผู้ที่มีธุรกิจขายกระเป๋าอยู่แล้วแต่อยากจะเปลี่ยนแบรนด์ 2.มีธุรกิจอื่นแต่อยากเปลี่ยนมาเป็นจำหน่ายกระเป๋า 3.คนที่มีเงินแต่ยังไม่รู้จะทำอะไร คาดว่า เดือนพฤษภาคมนี้จะเปิดตัวแฟรนไชส์รายแรกได้ ซึ่งแฟรนไชส์ไม่ต้องจ่ายค่ารอยัลตี้ เพียงแต่รับสินค้าจากเราไปจำหน่ายและใช้ชื่อร้านอเมริกันทัวริสเตอร์เท่านั้น
นอกจากนั้น จะเพิ่มจุดจำหน่ายที่เป็นเคาน์เตอร์ด้วยโดยพุ่งเป้าหมายไปที่ห้างที่มีคู่แข่งของอเมริกัน ทัวริสเตอร์ จำหน่ายอยู่แล้ว จากปัจจุบันมี 13 จุด รวมทั้งการปรับโฉมใหม่ให้ดูทันสมัยขึ้น ซึ่งแยกต่างหากจากเคาน์เตอร์ของแซมโซไนท์ นอกจากนั้นยังมีร้านมัลติแบรนด์อีก 4 สาขา ชื่อว่า “แซมโซไนท์” ที่จำหน่ายทั้งสามแบรนด์ คือ แซมโซไนท์ อเมริกันทัวริสเตอร์ และ ทิมเบอร์แลนด์ คือ ที่ เซ็นทรัลลาดพร้าว เดอะมอลล์บางกะปิ เซ็นทรัลแอร์พอร์ตเชียงใหม่ และเซ็นทรัลเฟสติวัลพัทยา และมีแฟคตอรี่เอาต์เลตอีก 2 แห่งที่แฟชั่นไอส์แลนด์และเอาต์เลตมอลล์พัทยา
บริษัทยังมีแผนที่จะขยายช่องทางจำหน่ายไปยังร้านไอทีด้วย เพราะในอนาคตเตรียมที่จะออกผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก เพื่อจำหน่ายตามร้านไอทีด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งก่อนนี้เคยทำกับแบรนด์แซมโซไนท์แล้ว แต่ช่วงหลังได้ยกเลิกดิสทริบิวเตอร์รายดังเก่าไปแล้ว
การบุกหนักในปีนี้ของอเมริกันทัวริสเตอร์ คาดว่า จะทำให้ปีนี้แบรนด์อเมริกันทัวริสเตอร์มียอดขายประมาณ 80 ล้านบาท เติบโต 25% เนื่องจากาฐานรายได้ยังต่ำอยู่ และจะเพิ่มสัดส่วนรายได้เป็น 20% จากเดิมมี 10% โดยที่สัดส่วนรายได้หลัก คือ แซมโซไนท์จะรักษาระดับ 70% เท่าเดิม โดยภาพรวมบริษัทปีนี้ คาดว่า จะเติบโตรวม 20% โดยตัวหลักที่เติบโตมากมาจาก อเมริกันทัวริสเตอร์ จากปีที่แล้วที่โตเพียง 2% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของตลาดกระเป๋าเดินทางในเมืองไทยมีประมาณ 1,380 ล้านบาท เมื่อคิดในแง่ของกระเป๋าที่นำเข้ามาโดยผ่านทางศุลกากรเท่านั้น ซึ่งถ้าหากรวมกับกระเป๋าที่ไม่ผ่านศุลกากรและกระเป๋าโลคอลแบรนด์จะมีประมาณ 4,140 ล้านบาท โดยช่องทางจำหน่ายที่ผ่านห้างค้าปลีกอย่างเดียวมีแบรนด์แซมโซไนท์เป็นผู้นำตลาดด้วยแชร์ 60%