เปิดฉากประชุมสุดยอดอาเซียนวันนี้ ถกกรอบความร่วมมือผลักดันอาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจ (AEC) ในปี 2558 พร้อมลงนามเอฟทีเออาเซียนกับจีน เกาหลี ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ยกเว้นอินเดีย หารือท่าทีเจรจาเอฟทีเอกับอียู ก่อนชงข้อสรุปให้ผู้นำพิจารณา 1 มี.ค. “พรทิวา”นัดถก 9 ชาติอาเซียน แก้ไขปัญหาการค้า จับตาดึงเวียดนามฮั้วค้าข้าว
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (Informal AEM) ครั้งที่ 14 และมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 26-27 ก.พ.นี้ ณ โรงแรมดุสิตธานี จ.เพชรบุรี
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 14 จะเริ่มประชุมกันในวันที่ 27 ก.พ. ต่อด้วยการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยจะมีการพิจารณาแผนการทำงานของ AEC Council เพื่อผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจในปี 2558 ตามเป้าหมายที่อาเซียนได้กำหนดไว้
ขณะเดียวกัน จะมีการพิจารณาความคืบหน้าในการผลักดันอาเซียนให้เป็นประชาคมเศรษฐกิจตามพิมพ์เขียว AEC Blueprint ที่กำหนดไว้ เพราะขณะนี้อาเซียนสามารถดำเนินการได้เพียง 36.81% ของแผนงาน ซึ่งอาจจะมีการใช้มาตรการที่เข้มงวดต่อประเทศสมาชิกที่ทำไม่ได้ตามเป้าหมาย
ส่วนประเด็นด้านการค้า จะมีการพิจารณาประเด็นปัญหาการเปิดตลาดสินค้าภายใต้ข้อตกลง CEPT โดยขณะนี้กัมพูชายังไม่ยอมถอนสินค้าปิโตรเลียมออกจากบัญชียกเว้นภาษีทั่วไป (GE List) ซึ่งจะต้องมีการโน้มน้าวให้กัมพูชาถอนออกมา โดยไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าวอันดับ 2 ของอาเซียนไปยังกัมพูชารองจากสิงคโปร์
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา จะมีพิจารณาความคืบหน้าของการเจรจาแต่ละกรอบข้อตกลง รวมทั้งพิจารณาความคืบหน้าในการลงนามในข้อตกลงต่างๆ ได้แก่ อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อาเซียน-จีน และอาเซียน-เกาหลี ซึ่งเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าจะมีการลงนามในวันที่ 27 ก.พ.นี้ ส่วนอาเซียน-อินเดีย ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการลงนามได้หรือไม่ เพราะทางอินเดียยังไม่ได้ยืนยันผู้ลงนามเข้ามา
ส่วนข้อตกลงการค้าอื่นๆ ที่จะมีการลงนาม ได้แก่ ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน (ACIA) พิธีสารอนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 7 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน ข้อตกลงยอมรับร่วมด้านวิชาชีพ สาขาแพทย์ ข้อตกลงยอมรับร่วมด้านวิชาชีพ สาขาทันตแพทย์ กรอบข้อตกลงยอมรับร่วมด้านวิชาชีพ สาขาบัญชี บันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับอินโดนีเซียเรื่องน้ำตาล ความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจผลิตภัณฑ์ยาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ ไทยจะแจ้งความคืบหน้าของไทยในส่วนของเอฟทีเออาเซียน-ญี่ปุ่น ที่อาเซียนได้ลงนามไปแล้วเมื่อเดือนพ.ค.2551 และมีผลบังคับใช้แล้วกับอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ พม่า เวียดนาม ลาว บรูไน มาเลเซีย ที่ได้ยื่นสัตยาบันสารไปแล้ว ยังขาดไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และกัมพูชา โดยไทยอยู่ระหว่างดำเนินขั้นตอนภายในก่อนยื่นสัตยาบันสาร คาดว่าจะมีผลบังคับใช้กลางปี 2552 นี้
นอกจากนี้ อาเซียนจะต้องมีการหารือว่า ในการเจรจาเปิดเสรีการลงทุนกับเกาหลี ภายใต้เอฟทีเออาเซียน-เกาหลี ควรจะมีการผลักดันให้มีการเจรจาต่อหรือไม่ เพราะขณะนี้การเจรจาได้หยุดชะงักลง เนื่องจากเกาหลีเห็นว่าสิ่งที่จะตกลงกันไม่ได้มีประโยชน์มากไปกว่าข้อตกลงทวิภาคีที่มีกันอยู่กับอาเซียน จึงต้องการที่จะหยุดการเจรจาก่อน
ส่วนเอฟทีเออาเซียน-สหภาพยุโรป (อียู) ขณะนี้อียูได้แสดงท่าทีว่าต้องการปรับรูปแบบการเจรจาจากระดับภูมิภาคต่อภูมิภาคมาเป็นระดับทวิภาคีภายใต้กรอบภูมิภาคกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่พร้อม โดยมุ่งมาไทย เวียดนามและสิงคโปร์ ซึ่งไทยยังคงยืนยันที่จะให้มีการเจรจาในระดับภูมิภาคต่อภูมิภาคในการขยายการค้า บริการ และการลงทุนต่อไป แต่หากจะเปลี่ยนมาเป็นระดับทวิภาคีกับสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ ไทยก็ต้องมีการพิจารณาในระดับนโยบายก่อน
ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีอาเซียนจะมีการหารือถึงการเตรียมการประชุม AEM Retreat ในวันที่ 22-22 พ.ค. ที่เมืองเสียมราฐ กัมพูชา พร้อมกับจะมีการพิจารณาว่าจะมีการเชิญประเทศคู่เจรจาใดบ้างมาหารือกับอาเซียน ซึ่งคงจะอยู่ในกรอบอาเซียน+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) โดยอาจจะเชิญสหรัฐฯ และอียูมาร่วมด้วย หากสมาชิกอาเซียนเห็นว่าเหมาะสม
ทั้งนี้ ประเด็นที่ได้มีการหารือทั้งหมดนี้ จะถูกนำเสนอให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนพิจารณาในวันที่ 1 มี.ค. โดยประเด็นที่จะเสนอให้ผู้นำพิจารณาจะเน้นการรายงานความคืบหน้าของการผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจในปี 2558 และการสร้างความตื่นตัวในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หลังจากปี 2551 ที่ผ่านมา การดำเนินการส่วนใหญ่ยังเป็นรายประเทศ ซึ่งจะมีการเสนอให้ผู้นำสั่งการให้มีการดำเนินการในระดับภูมิภาค เช่น การจัดงาน ASEAN Trade Fair ที่ไทยมีกำหนดจัดงานในช่วงเดือนส.ค.นี้ โดยให้พื้นที่เปล่าแก่ประเทศอาเซียนประเทศละ 500 ตร.ม. และการจัดโครงการยุวทูต AEC ซึ่งจะนำเยาวชนอาเซียนประเทศละ 10 คน เดินทางไปประเทศสมาชิกเพื่อดูงานซึ่งเน้นด้านเศรษฐกิจการค้า
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมครั้งนี้ นางพรทิวาจะมีการหารือทวิภาคีกับประเทศอาเซียนต่างๆ ทั้ง 9 ประเทศ โดยในส่วนของสปป.ลาว ไทยจะชี้แจงว่าไทยไม่เคยห้ามการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากสปป.ลาว เพียงแต่ว่าประกาศกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตาม ACMECS เสียภาษี 0% ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษ ใช้ Form AISP ได้หมดอายุลงเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ด่านศุลกากรไม่ยอมปล่อยให้นำเข้า ซึ่งกระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการออกประกาศ แต่สปป.ลาว ยังสามารถใช้สิทธิพิเศษภายใต้ CEPT เสียภาษี 5% ไม่เสียค่าธรรมเนียม
กับอินโดนีเซีย จะมีการหารือถึงความคืบหน้าการจัดทำความตกลงทางการค้า การขอให้อินโดนีเซียทบทวนระเบียบการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า ของเด็กเล่น รองเท้า อาหารและเครื่องดื่ม รวม 529 รายการ ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.พ.2552-31 ธ.ค.2553 การหารือถึงรายละเอียดในการลงนามใน MOU เรื่องการค้าน้ำตาล รวมไปถึงการขอให้อินโดนีเซียโอนสินค้าสุราออกจากบัญชียกเว้นทั่วไป
กับมาเลเซีย จะขอให้ดึงสินค้าสุราออกจากบัญชียกเว้นการลดภาษีเช่นเดียวกับอินโดนีเซีย เพราะทั้ง 2 ประเทศนี้ ได้ย้ำว่ามีความจำเป็นต้องคงภาษีนำเข้าไว้สูง เพราะเหตุผลทางศาสนา แต่ไทยเห็นว่าสามารถใช้มาตรการอื่นๆ เช่น ภาษีสรรพสามิต แทนการคงอัตราภาษีนำเข้าได้
กับสิงคโปร์ จะหารือถึงความคืบหน้าในการที่สิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship (STEER) ครั้งที่ 3 ในเดือนมิ.ย.2552
กับฟิลิปปินส์ จะเร่งรัดให้ฟิลิปปินส์จัดทำแผนการลดภาษีสินค้าข้าวให้กับไทยโดยเร็ว หลังจากไม่สามารถลดภาษีข้าวตามกำหนดในปี 2553 ซึ่งภาษีควรจะลงมาอยู่ที่ 20% แต่ยังคงภาษีไว้ที่ 40% จนถึงปี 2555 ขอให้ลดภาษีน้ำตาลตามกำหนดในปี 2553 ซึ่งอัตราภาษีจะต้องลงมาอยู่ที่ 0% แต่ฟิลิปปินส์ต้องการชะลอออกไปจนถึงปี 2558 และกำหนดอัตราภาษีไว้ที่ 38% และลดลงในปี 2558 และจะขอให้มีการลดภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกเหลือ 5% ตามเดิม หลังจากที่ได้มีการปรับเพิ่มเป็น 10%
กับเวียดนาม จะมีการหารือถึงการสร้างความร่วมมือในเรื่องข้าว โดยจะเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วม มีรมช.พาณิชย์ 2 ฝ่ายเป็นประธาน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาความร่วมมือใน 3 ระดับ คือ ชาวนาไทย-ชาวนาเวียดนาม ผู้ส่งออกข้าวไทย-ผู้ส่งออกอาหารเวียดนาม และรัฐมนตรี-รัฐมนตรี และจะขยายความร่วมมือไปยังสินค้าอื่นๆ ด้วย เช่น ผลไม้ และสินค้าอุปโภคบริโภค พร้อมกับจะขอให้เวียดนามถอนสินค้าปิโตรเลียและบุหรี่ออกจากบัญชียกเว้นทั่วไปด้วย
ส่วนกับกับพูชา พม่า และบรูไน ไม่มีประเด็นด้านการค้าหารือ แต่จะมีการพบปะเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (Informal AEM) ครั้งที่ 14 และมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 26-27 ก.พ.นี้ ณ โรงแรมดุสิตธานี จ.เพชรบุรี
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 14 จะเริ่มประชุมกันในวันที่ 27 ก.พ. ต่อด้วยการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยจะมีการพิจารณาแผนการทำงานของ AEC Council เพื่อผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจในปี 2558 ตามเป้าหมายที่อาเซียนได้กำหนดไว้
ขณะเดียวกัน จะมีการพิจารณาความคืบหน้าในการผลักดันอาเซียนให้เป็นประชาคมเศรษฐกิจตามพิมพ์เขียว AEC Blueprint ที่กำหนดไว้ เพราะขณะนี้อาเซียนสามารถดำเนินการได้เพียง 36.81% ของแผนงาน ซึ่งอาจจะมีการใช้มาตรการที่เข้มงวดต่อประเทศสมาชิกที่ทำไม่ได้ตามเป้าหมาย
ส่วนประเด็นด้านการค้า จะมีการพิจารณาประเด็นปัญหาการเปิดตลาดสินค้าภายใต้ข้อตกลง CEPT โดยขณะนี้กัมพูชายังไม่ยอมถอนสินค้าปิโตรเลียมออกจากบัญชียกเว้นภาษีทั่วไป (GE List) ซึ่งจะต้องมีการโน้มน้าวให้กัมพูชาถอนออกมา โดยไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าวอันดับ 2 ของอาเซียนไปยังกัมพูชารองจากสิงคโปร์
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา จะมีพิจารณาความคืบหน้าของการเจรจาแต่ละกรอบข้อตกลง รวมทั้งพิจารณาความคืบหน้าในการลงนามในข้อตกลงต่างๆ ได้แก่ อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อาเซียน-จีน และอาเซียน-เกาหลี ซึ่งเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าจะมีการลงนามในวันที่ 27 ก.พ.นี้ ส่วนอาเซียน-อินเดีย ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการลงนามได้หรือไม่ เพราะทางอินเดียยังไม่ได้ยืนยันผู้ลงนามเข้ามา
ส่วนข้อตกลงการค้าอื่นๆ ที่จะมีการลงนาม ได้แก่ ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน (ACIA) พิธีสารอนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 7 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน ข้อตกลงยอมรับร่วมด้านวิชาชีพ สาขาแพทย์ ข้อตกลงยอมรับร่วมด้านวิชาชีพ สาขาทันตแพทย์ กรอบข้อตกลงยอมรับร่วมด้านวิชาชีพ สาขาบัญชี บันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับอินโดนีเซียเรื่องน้ำตาล ความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขาของอาเซียนสำหรับการตรวจผลิตภัณฑ์ยาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ ไทยจะแจ้งความคืบหน้าของไทยในส่วนของเอฟทีเออาเซียน-ญี่ปุ่น ที่อาเซียนได้ลงนามไปแล้วเมื่อเดือนพ.ค.2551 และมีผลบังคับใช้แล้วกับอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ พม่า เวียดนาม ลาว บรูไน มาเลเซีย ที่ได้ยื่นสัตยาบันสารไปแล้ว ยังขาดไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และกัมพูชา โดยไทยอยู่ระหว่างดำเนินขั้นตอนภายในก่อนยื่นสัตยาบันสาร คาดว่าจะมีผลบังคับใช้กลางปี 2552 นี้
นอกจากนี้ อาเซียนจะต้องมีการหารือว่า ในการเจรจาเปิดเสรีการลงทุนกับเกาหลี ภายใต้เอฟทีเออาเซียน-เกาหลี ควรจะมีการผลักดันให้มีการเจรจาต่อหรือไม่ เพราะขณะนี้การเจรจาได้หยุดชะงักลง เนื่องจากเกาหลีเห็นว่าสิ่งที่จะตกลงกันไม่ได้มีประโยชน์มากไปกว่าข้อตกลงทวิภาคีที่มีกันอยู่กับอาเซียน จึงต้องการที่จะหยุดการเจรจาก่อน
ส่วนเอฟทีเออาเซียน-สหภาพยุโรป (อียู) ขณะนี้อียูได้แสดงท่าทีว่าต้องการปรับรูปแบบการเจรจาจากระดับภูมิภาคต่อภูมิภาคมาเป็นระดับทวิภาคีภายใต้กรอบภูมิภาคกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่พร้อม โดยมุ่งมาไทย เวียดนามและสิงคโปร์ ซึ่งไทยยังคงยืนยันที่จะให้มีการเจรจาในระดับภูมิภาคต่อภูมิภาคในการขยายการค้า บริการ และการลงทุนต่อไป แต่หากจะเปลี่ยนมาเป็นระดับทวิภาคีกับสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ ไทยก็ต้องมีการพิจารณาในระดับนโยบายก่อน
ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีอาเซียนจะมีการหารือถึงการเตรียมการประชุม AEM Retreat ในวันที่ 22-22 พ.ค. ที่เมืองเสียมราฐ กัมพูชา พร้อมกับจะมีการพิจารณาว่าจะมีการเชิญประเทศคู่เจรจาใดบ้างมาหารือกับอาเซียน ซึ่งคงจะอยู่ในกรอบอาเซียน+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) โดยอาจจะเชิญสหรัฐฯ และอียูมาร่วมด้วย หากสมาชิกอาเซียนเห็นว่าเหมาะสม
ทั้งนี้ ประเด็นที่ได้มีการหารือทั้งหมดนี้ จะถูกนำเสนอให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนพิจารณาในวันที่ 1 มี.ค. โดยประเด็นที่จะเสนอให้ผู้นำพิจารณาจะเน้นการรายงานความคืบหน้าของการผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจในปี 2558 และการสร้างความตื่นตัวในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หลังจากปี 2551 ที่ผ่านมา การดำเนินการส่วนใหญ่ยังเป็นรายประเทศ ซึ่งจะมีการเสนอให้ผู้นำสั่งการให้มีการดำเนินการในระดับภูมิภาค เช่น การจัดงาน ASEAN Trade Fair ที่ไทยมีกำหนดจัดงานในช่วงเดือนส.ค.นี้ โดยให้พื้นที่เปล่าแก่ประเทศอาเซียนประเทศละ 500 ตร.ม. และการจัดโครงการยุวทูต AEC ซึ่งจะนำเยาวชนอาเซียนประเทศละ 10 คน เดินทางไปประเทศสมาชิกเพื่อดูงานซึ่งเน้นด้านเศรษฐกิจการค้า
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมครั้งนี้ นางพรทิวาจะมีการหารือทวิภาคีกับประเทศอาเซียนต่างๆ ทั้ง 9 ประเทศ โดยในส่วนของสปป.ลาว ไทยจะชี้แจงว่าไทยไม่เคยห้ามการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากสปป.ลาว เพียงแต่ว่าประกาศกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตาม ACMECS เสียภาษี 0% ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษ ใช้ Form AISP ได้หมดอายุลงเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ด่านศุลกากรไม่ยอมปล่อยให้นำเข้า ซึ่งกระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการออกประกาศ แต่สปป.ลาว ยังสามารถใช้สิทธิพิเศษภายใต้ CEPT เสียภาษี 5% ไม่เสียค่าธรรมเนียม
กับอินโดนีเซีย จะมีการหารือถึงความคืบหน้าการจัดทำความตกลงทางการค้า การขอให้อินโดนีเซียทบทวนระเบียบการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า ของเด็กเล่น รองเท้า อาหารและเครื่องดื่ม รวม 529 รายการ ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.พ.2552-31 ธ.ค.2553 การหารือถึงรายละเอียดในการลงนามใน MOU เรื่องการค้าน้ำตาล รวมไปถึงการขอให้อินโดนีเซียโอนสินค้าสุราออกจากบัญชียกเว้นทั่วไป
กับมาเลเซีย จะขอให้ดึงสินค้าสุราออกจากบัญชียกเว้นการลดภาษีเช่นเดียวกับอินโดนีเซีย เพราะทั้ง 2 ประเทศนี้ ได้ย้ำว่ามีความจำเป็นต้องคงภาษีนำเข้าไว้สูง เพราะเหตุผลทางศาสนา แต่ไทยเห็นว่าสามารถใช้มาตรการอื่นๆ เช่น ภาษีสรรพสามิต แทนการคงอัตราภาษีนำเข้าได้
กับสิงคโปร์ จะหารือถึงความคืบหน้าในการที่สิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship (STEER) ครั้งที่ 3 ในเดือนมิ.ย.2552
กับฟิลิปปินส์ จะเร่งรัดให้ฟิลิปปินส์จัดทำแผนการลดภาษีสินค้าข้าวให้กับไทยโดยเร็ว หลังจากไม่สามารถลดภาษีข้าวตามกำหนดในปี 2553 ซึ่งภาษีควรจะลงมาอยู่ที่ 20% แต่ยังคงภาษีไว้ที่ 40% จนถึงปี 2555 ขอให้ลดภาษีน้ำตาลตามกำหนดในปี 2553 ซึ่งอัตราภาษีจะต้องลงมาอยู่ที่ 0% แต่ฟิลิปปินส์ต้องการชะลอออกไปจนถึงปี 2558 และกำหนดอัตราภาษีไว้ที่ 38% และลดลงในปี 2558 และจะขอให้มีการลดภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกเหลือ 5% ตามเดิม หลังจากที่ได้มีการปรับเพิ่มเป็น 10%
กับเวียดนาม จะมีการหารือถึงการสร้างความร่วมมือในเรื่องข้าว โดยจะเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วม มีรมช.พาณิชย์ 2 ฝ่ายเป็นประธาน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาความร่วมมือใน 3 ระดับ คือ ชาวนาไทย-ชาวนาเวียดนาม ผู้ส่งออกข้าวไทย-ผู้ส่งออกอาหารเวียดนาม และรัฐมนตรี-รัฐมนตรี และจะขยายความร่วมมือไปยังสินค้าอื่นๆ ด้วย เช่น ผลไม้ และสินค้าอุปโภคบริโภค พร้อมกับจะขอให้เวียดนามถอนสินค้าปิโตรเลียและบุหรี่ออกจากบัญชียกเว้นทั่วไปด้วย
ส่วนกับกับพูชา พม่า และบรูไน ไม่มีประเด็นด้านการค้าหารือ แต่จะมีการพบปะเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน