“ชุมพล” เตรียมชี้ขาดทางเลือกอีลิทการ์ดด้วยตัวเอง ก่อนเสนอที่ประชุมครม.เป็นวาระเพื่อทราบเท่านั้น คาดสิ้นเดือนนี้รู้ผล ชี้เงื่อนไขตัดสินดูที่ผลงาน หนี้สินและตัวเลขขาดทุนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นหลัก ส่วนอนาคตไม่สำคัญ ระบุถ้าเป็นมะเร็งร้าย พร้อมสั่งปิดกิจการทันที โดยรัฐแอ่นอบรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด ด้าน “สุรพงษ์” ทิ้งไพ่ยื่นลาออกจากตำแห่งรักษาการผู้จัดการใหญ่มีผลทันที อ้างมีความจำเป็นต้องกลับไปทำธุรกิจส่วนตัว
นายชุมพล ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงบริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด(ทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิทว่า เมื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เสนอเรื่องของอีลิทการ์ด ใน 3 แนวทางที่ผ่านความเห็นชอบของบอร์ดททท.มาถึงที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ตนจะเป็นผู้ดูรายละเอียดและตัดสินใจเลือกเพียง 1 แนวทาง เพื่อยื่นเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทราบเป็นการจบการตัดสินใจทั้งหมด ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะตัดสินใจเสร็จและนำเสนอ ครม.ในต้นเดือนหน้าทันที
ทั้งนี้ 3 แนวทางที่ทีพีซีนำเสนอเป็นทางเลือกให้แก่รัฐบาล ได้แก่ 1.การปิดกิจการบริษัท พร้อมจ่ายเงินชดเชยความเสียหาย ให้แก่สมาชิก ค่าเลิกจ้างพนักงาน ซึ่งคาดว่าจะใช้เงิน 2,240 ล้านบาท ทั้งนี้ไม่นับรวมค่าใช้จ่าย ที่อาจจะเกิดจากการฟ้องร้องของสมาชิกและตัวแทนจำหน่าย 2.ดำเนินธุรกิจต่อไปภายใต้การปรับแผนการบริหารงานและโครงสร้างองค์กรใหม่ทั้งหมด และ 3.การเปิดทางให้เอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมทุน และมีส่วนร่วมในการบริหาร
สำหรับหลักการที่จะใช้พิจารณาเลือกแนวทาง จะดูจากผลประกอบการ ผลการทำงาน และตัวเลขขาดทุน ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าบริษัทนี้สมควรที่จะอยู่ต่อไปหรือไม่
“ถ้าผมดูแล้วพบว่า บริษัทมีหนี้สินเยอะ ตัวเลขขาดทุนมาก ก็มองว่าไม่น่าจะอยู่ต่อไปได้ ก็ต้องตัดสินใจปิดกิจการ เพราะขืนอยู่ต่อไป ก็เป็นมะเร็งร้ายทำให้ประเทศชาติเกิดความเสียหาย เราต้องเห็นผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก”
นายชุมพล กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของบริษัทอีลิท อยู่ที่สัญญาที่ทำไว้กับสมาชิก แต่หากมีความจำเป็นจะต้องปิดกิจการจริงๆ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น และเราต้องตัดสินใจปิดบริษัท ก็ต้องชี้แจงให้สมาชิกเข้าใจ โดยรัฐบาลพร้อมที่จะดูแลสมาชิกทั้งหมดอย่างดีที่สุดไม่ให้ประเทศชาติเสียหาย โดยเฉพาะการจ่ายเงินคืนให้แก่สมาชิกผู้ถือบัตร รวมถึงการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเราก็ต้องยอม โดยการฟ้องร้องจะอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย
สำหรับรายงานผลการดำเนินงานของ ทีพีซี ที่รายงานต่อบอร์ด ททท. ได้ระบุว่า ปี 2551 บริษัทมีรายได้จากการขายบัตร และ การให้บริการเสริม รวม 103.25 ล้านบาท มียอดสมาชิกใหม่เฉพาะปี 2551 ที่ 71 ราย และมียอดสมาชิกรวมทั้งหมด ณ สิ้นปี 2551ที่ 2,568 ราย มียอดขาดทุนสะสมทั้งแต่ปี 2546-2551 วงเงินรวม 1,385 ล้านบาท มีเงินสดหมุนเวียนที่ 531 ล้านบาท และจากแผนธุรกิจที่ปรับปรุงใหม่ คาดว่าจะทำให้ ทีพีซี มีกำไรจากผลการดำเนินงานได้ในปี 2553
สุรพงษ์โดดหนียื่นลาออกมีผลทันที
นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย กล่าวว่า ได้ยื่นหนังสือลาออกจริง และผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มมีผลตั้งแต่ วันที่ 19 ก.พ. 52 เป็นต้นไป แต่ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการ และประธานกรรมการบริหารของทีพีซีอยู่ โดยสาเหตุที่ลาออก เพราะเมื่อนายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้สั่งให้ทีพีซีชะลอการทำธุรกรรมทุกชนิดที่จะมีผลผูกพันต่อเนื่อง รวมถึงให้หยุดการสรรหาผู้จัดการใหญ่ ก็ไม่มีความจำเป็นจะอยู่ ประกอบกับต้องการไปนั่งบริหารงานในบริษัท ซีวีดี ซึ่งเป็นหนังสือแมกกาซีน ที่ซื้อคืนมา หากอยู่ในตำแหน่งรักษาการผู้จัดการใหญ่ จะไม่สามารถไปรับตำแหน่งผู้บริหารให้แก่องค์กรใดได้
นายชุมพล ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงบริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด(ทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิทว่า เมื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เสนอเรื่องของอีลิทการ์ด ใน 3 แนวทางที่ผ่านความเห็นชอบของบอร์ดททท.มาถึงที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ตนจะเป็นผู้ดูรายละเอียดและตัดสินใจเลือกเพียง 1 แนวทาง เพื่อยื่นเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทราบเป็นการจบการตัดสินใจทั้งหมด ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะตัดสินใจเสร็จและนำเสนอ ครม.ในต้นเดือนหน้าทันที
ทั้งนี้ 3 แนวทางที่ทีพีซีนำเสนอเป็นทางเลือกให้แก่รัฐบาล ได้แก่ 1.การปิดกิจการบริษัท พร้อมจ่ายเงินชดเชยความเสียหาย ให้แก่สมาชิก ค่าเลิกจ้างพนักงาน ซึ่งคาดว่าจะใช้เงิน 2,240 ล้านบาท ทั้งนี้ไม่นับรวมค่าใช้จ่าย ที่อาจจะเกิดจากการฟ้องร้องของสมาชิกและตัวแทนจำหน่าย 2.ดำเนินธุรกิจต่อไปภายใต้การปรับแผนการบริหารงานและโครงสร้างองค์กรใหม่ทั้งหมด และ 3.การเปิดทางให้เอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมทุน และมีส่วนร่วมในการบริหาร
สำหรับหลักการที่จะใช้พิจารณาเลือกแนวทาง จะดูจากผลประกอบการ ผลการทำงาน และตัวเลขขาดทุน ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าบริษัทนี้สมควรที่จะอยู่ต่อไปหรือไม่
“ถ้าผมดูแล้วพบว่า บริษัทมีหนี้สินเยอะ ตัวเลขขาดทุนมาก ก็มองว่าไม่น่าจะอยู่ต่อไปได้ ก็ต้องตัดสินใจปิดกิจการ เพราะขืนอยู่ต่อไป ก็เป็นมะเร็งร้ายทำให้ประเทศชาติเกิดความเสียหาย เราต้องเห็นผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก”
นายชุมพล กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของบริษัทอีลิท อยู่ที่สัญญาที่ทำไว้กับสมาชิก แต่หากมีความจำเป็นจะต้องปิดกิจการจริงๆ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น และเราต้องตัดสินใจปิดบริษัท ก็ต้องชี้แจงให้สมาชิกเข้าใจ โดยรัฐบาลพร้อมที่จะดูแลสมาชิกทั้งหมดอย่างดีที่สุดไม่ให้ประเทศชาติเสียหาย โดยเฉพาะการจ่ายเงินคืนให้แก่สมาชิกผู้ถือบัตร รวมถึงการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเราก็ต้องยอม โดยการฟ้องร้องจะอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย
สำหรับรายงานผลการดำเนินงานของ ทีพีซี ที่รายงานต่อบอร์ด ททท. ได้ระบุว่า ปี 2551 บริษัทมีรายได้จากการขายบัตร และ การให้บริการเสริม รวม 103.25 ล้านบาท มียอดสมาชิกใหม่เฉพาะปี 2551 ที่ 71 ราย และมียอดสมาชิกรวมทั้งหมด ณ สิ้นปี 2551ที่ 2,568 ราย มียอดขาดทุนสะสมทั้งแต่ปี 2546-2551 วงเงินรวม 1,385 ล้านบาท มีเงินสดหมุนเวียนที่ 531 ล้านบาท และจากแผนธุรกิจที่ปรับปรุงใหม่ คาดว่าจะทำให้ ทีพีซี มีกำไรจากผลการดำเนินงานได้ในปี 2553
สุรพงษ์โดดหนียื่นลาออกมีผลทันที
นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย กล่าวว่า ได้ยื่นหนังสือลาออกจริง และผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มมีผลตั้งแต่ วันที่ 19 ก.พ. 52 เป็นต้นไป แต่ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการ และประธานกรรมการบริหารของทีพีซีอยู่ โดยสาเหตุที่ลาออก เพราะเมื่อนายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้สั่งให้ทีพีซีชะลอการทำธุรกรรมทุกชนิดที่จะมีผลผูกพันต่อเนื่อง รวมถึงให้หยุดการสรรหาผู้จัดการใหญ่ ก็ไม่มีความจำเป็นจะอยู่ ประกอบกับต้องการไปนั่งบริหารงานในบริษัท ซีวีดี ซึ่งเป็นหนังสือแมกกาซีน ที่ซื้อคืนมา หากอยู่ในตำแหน่งรักษาการผู้จัดการใหญ่ จะไม่สามารถไปรับตำแหน่งผู้บริหารให้แก่องค์กรใดได้