ซีพีเอฟ ปรับโครงสร้าง 13 กลุ่มสินค้าในเครือใหม่ ชูระบบผู้บริหารเชี่ยวชาญรอบด้านรับมือวิกฤตเศรษฐกิจ ล่าสุดโยกไพศาล จงบัญญัติเจริญ ขึ้นแท่นรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ สานต่อเป้าหมายครัวไทยสู่ครัวโลก อัดฉีดกว่า 100 ล้านบาท ยกเครื่องลุยตลาดไส้กรอก ปั้นแบรนด์ซีพี พรีเมียม เจาะตลาดกำลังซื้อสูงกินชิ้นเค้ก 1,000 ล้านบาท พร้อมสลัดคราบสู่สินค้าพรีเมียมเต็มตัว เตรียมเปลี่ยนชื่อไส้กรอกระดับซีใหม่ และลดบทบาทลง หลังตลาดแข่งขันราคาสูง กำไรน้อย สิ้นปีโต 10% กวาดรายได้ 5,000 ล้านบาท ส่วนรายได้รวมซีพีเอฟ 1.4 แสนล้านบาท
นายไพศาล จงบัญญัติเจริญ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด มหาชน (ซีพีเอฟ) เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจ 13 ยูนิตใหม่ทั้งหมด ประกอบด้วยธุรกิจไส้กรอก ,เนื้อหมู เนื้อไก่, กุ้ง, ปลา และไก่ย่าง 5 ดาว เป็นต้น โดยได้โยกผู้บริหารดูแลด้านการตลาดแต่ละด้านใหม่ เพื่อให้บุคลากรมีความชำนาญงานด้านการตลาดอย่างครอบคลุม ในกลุ่มธุรกิจของบริษัทซึ่งมีสินค้าหลากหลาย โดยเริ่มมีผลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ล่าสุดตนเองได้ย้ายจากกรรมการผู้จัดการบริษัทซีพี-เมจิ จำกัด หรือผู้บริหารกลุ่มผลิตภัณฑ์นมซีพี-เมจิ มาดำรงตำแหน่งเป็น รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทซีพีเอฟ เพื่อสานต่อเป้าหมายการเป็นครัวไทยสู่ครัวโลก ขณะที่นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทซีพี-เมจิ จากเดิมเคยดำรงตำแหน่งประจำสำนักวิเคราะห์ของประธานอดิเรก
ล่าสุดบริษัทได้ทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาท ดำเนินการตลาดเชิงรุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ไส้กรอก นำร่องด้วยการขยายตลาดเซกเมนต์พรีเมียม โดยเดือนเมษายนเปิดตัวไส้กรอกภายใต้แบรนด์ซีพี พรีเมียม 10 รายการ การรุกเซกเมนต์ดังกล่าวเนื่องจากมีศักยภาพ แม้ว่ามูลค่าตลาดมีเพียง 1,000 ล้านบาท แต่เป็นเซกเมนต์ที่มีอัตราการเติบโต มีคู่แข่ง 2-3 รายและยังไม่มีแบรนด์ใดเป็นผู้นำตลาดอย่างจริงจัง อีกทั้งยังเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง จากการจำหน่ายสูงกว่าสินค้าปกติ 20% เมื่อเทียบกับไส้กรอกระดับซี มูลค่า 7,000 ล้านบาท ตลาดไม่มีการเติบโต และแข่งขันด้านราคารุนแรง กลุ่มลูกค้าไม่มีรอยัลตี้ ส่วนระดับเอและบี มีคู่แข่งทางการตลาดเป็นจำนวนมาก อีกทั้งซีพี มีความแข็งแกร่งในตลาดระดับเออยู่แล้ว
พร้อมกันนี้ยังได้ปรับการทำตลาดไส้กรอกระดับซีใหม่ โดยเตรียมเปลี่ยนชื่อแบรนด์ใหม่จากเดิมใช้ซีพี เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ไส้กรอกซีพีให้เป็นพรีเมียมมากขึ้น และวางแผนเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ขณะเดียวกันยังเตรียมเปิดตัวขนาดบรรจุภัณฑ์เล็กลง เพื่อรองรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความระมัดระวังการจับจ่าย ในท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ พบว่า ลูกค้ามีความถี่ในการซื้อสินค้าขนาดบรรจุภัณฑ์เล็กลงมากขึ้น ส่วนด้านช่องทางจำหน่ายมุ่งเน้นช่องทางจำหน่ายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ 50% จากการมีร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น 4,700 สาขา อีกทั้งร้านค้าสะดวกซื้อยังเป็นช่องทางที่เติบโตสูงถึง 15% และสอดรับกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนมาซื้อสินค้าใกล้บ้านมากขึ้น แทนการเดินทางไปซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้า จากการมี ส่วนโมเดิร์นเทรด 50%
"ที่ผ่านมารายได้หลักไส้กรอกซีพี มาจากระดับเอ-บี สูงถึง 90% ส่วนพรีเมียมสัดส่วน 6% ซึ่งหลังจากการดำเนินการตลาดในเชิงรุกคาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนรายได้ 20-25% หรือ 300 ล้านบาท ส่วนตลาดไส้กรอกระดับซี สัดส่วน 4% จะเริ่มลดสัดส่วนรายได้ลง เพราะเป็นตลาดที่ไม่มีความแน่นอนของวัตถุดิบ อีกทั้งยังมีกำไรน้อย"
สำหรับตลาดไส้กรอกมูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท ยังเป็นตลาดที่ขยายตัวได้อีกมาก เนื่องจากพฤติกรรมการกินไส้กรอกของคนไทย ยังจำกัดเฉพาะการรับประทานเป็นอาหารมื้อเช้าและการทานเล่นเท่านั้น โดยยังไม่ค่อยมีการนำมาปรุงเพื่อรับประทานเป็นอาหารจานหลัก จากพฤติกรรมดังกล่าว ทำให้ในปีหน้านี้บริษัทจะเปิดสินค้าใหม่ไส้กรอกอิตาเลียน"เซเลอมี่" โดยวางแผนจับมือร่วมกับซีพี เฟรชมาร์ท เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจากการดำเนินการตลาดเชิงรุกในปีนี้ บริษัทตั้งเป้ากลุ่มไส้กรอกซีพี มีอัตราการเติบโต 8-10% หรือมีรายได้เพิ่มจาก 4,500 ล้านบาท เป็น 5,000 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาโต 10% ส่วนรายได้รวมของซีพีเอฟ ตั้งเป้า 1.4 แสนล้านบาท
นายไพศาล จงบัญญัติเจริญ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด มหาชน (ซีพีเอฟ) เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจ 13 ยูนิตใหม่ทั้งหมด ประกอบด้วยธุรกิจไส้กรอก ,เนื้อหมู เนื้อไก่, กุ้ง, ปลา และไก่ย่าง 5 ดาว เป็นต้น โดยได้โยกผู้บริหารดูแลด้านการตลาดแต่ละด้านใหม่ เพื่อให้บุคลากรมีความชำนาญงานด้านการตลาดอย่างครอบคลุม ในกลุ่มธุรกิจของบริษัทซึ่งมีสินค้าหลากหลาย โดยเริ่มมีผลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ล่าสุดตนเองได้ย้ายจากกรรมการผู้จัดการบริษัทซีพี-เมจิ จำกัด หรือผู้บริหารกลุ่มผลิตภัณฑ์นมซีพี-เมจิ มาดำรงตำแหน่งเป็น รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทซีพีเอฟ เพื่อสานต่อเป้าหมายการเป็นครัวไทยสู่ครัวโลก ขณะที่นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทซีพี-เมจิ จากเดิมเคยดำรงตำแหน่งประจำสำนักวิเคราะห์ของประธานอดิเรก
ล่าสุดบริษัทได้ทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาท ดำเนินการตลาดเชิงรุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ไส้กรอก นำร่องด้วยการขยายตลาดเซกเมนต์พรีเมียม โดยเดือนเมษายนเปิดตัวไส้กรอกภายใต้แบรนด์ซีพี พรีเมียม 10 รายการ การรุกเซกเมนต์ดังกล่าวเนื่องจากมีศักยภาพ แม้ว่ามูลค่าตลาดมีเพียง 1,000 ล้านบาท แต่เป็นเซกเมนต์ที่มีอัตราการเติบโต มีคู่แข่ง 2-3 รายและยังไม่มีแบรนด์ใดเป็นผู้นำตลาดอย่างจริงจัง อีกทั้งยังเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง จากการจำหน่ายสูงกว่าสินค้าปกติ 20% เมื่อเทียบกับไส้กรอกระดับซี มูลค่า 7,000 ล้านบาท ตลาดไม่มีการเติบโต และแข่งขันด้านราคารุนแรง กลุ่มลูกค้าไม่มีรอยัลตี้ ส่วนระดับเอและบี มีคู่แข่งทางการตลาดเป็นจำนวนมาก อีกทั้งซีพี มีความแข็งแกร่งในตลาดระดับเออยู่แล้ว
พร้อมกันนี้ยังได้ปรับการทำตลาดไส้กรอกระดับซีใหม่ โดยเตรียมเปลี่ยนชื่อแบรนด์ใหม่จากเดิมใช้ซีพี เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ไส้กรอกซีพีให้เป็นพรีเมียมมากขึ้น และวางแผนเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ขณะเดียวกันยังเตรียมเปิดตัวขนาดบรรจุภัณฑ์เล็กลง เพื่อรองรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความระมัดระวังการจับจ่าย ในท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ พบว่า ลูกค้ามีความถี่ในการซื้อสินค้าขนาดบรรจุภัณฑ์เล็กลงมากขึ้น ส่วนด้านช่องทางจำหน่ายมุ่งเน้นช่องทางจำหน่ายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ 50% จากการมีร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น 4,700 สาขา อีกทั้งร้านค้าสะดวกซื้อยังเป็นช่องทางที่เติบโตสูงถึง 15% และสอดรับกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนมาซื้อสินค้าใกล้บ้านมากขึ้น แทนการเดินทางไปซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้า จากการมี ส่วนโมเดิร์นเทรด 50%
"ที่ผ่านมารายได้หลักไส้กรอกซีพี มาจากระดับเอ-บี สูงถึง 90% ส่วนพรีเมียมสัดส่วน 6% ซึ่งหลังจากการดำเนินการตลาดในเชิงรุกคาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนรายได้ 20-25% หรือ 300 ล้านบาท ส่วนตลาดไส้กรอกระดับซี สัดส่วน 4% จะเริ่มลดสัดส่วนรายได้ลง เพราะเป็นตลาดที่ไม่มีความแน่นอนของวัตถุดิบ อีกทั้งยังมีกำไรน้อย"
สำหรับตลาดไส้กรอกมูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท ยังเป็นตลาดที่ขยายตัวได้อีกมาก เนื่องจากพฤติกรรมการกินไส้กรอกของคนไทย ยังจำกัดเฉพาะการรับประทานเป็นอาหารมื้อเช้าและการทานเล่นเท่านั้น โดยยังไม่ค่อยมีการนำมาปรุงเพื่อรับประทานเป็นอาหารจานหลัก จากพฤติกรรมดังกล่าว ทำให้ในปีหน้านี้บริษัทจะเปิดสินค้าใหม่ไส้กรอกอิตาเลียน"เซเลอมี่" โดยวางแผนจับมือร่วมกับซีพี เฟรชมาร์ท เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจากการดำเนินการตลาดเชิงรุกในปีนี้ บริษัทตั้งเป้ากลุ่มไส้กรอกซีพี มีอัตราการเติบโต 8-10% หรือมีรายได้เพิ่มจาก 4,500 ล้านบาท เป็น 5,000 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาโต 10% ส่วนรายได้รวมของซีพีเอฟ ตั้งเป้า 1.4 แสนล้านบาท