“วีระศักดิ์” สุดทน เอกชน และหน่วยงานต่างๆ แห่ขอสปอนเซอร์ หลังพิษเศรษฐกิจพ่น บริษัทใหญ่ อย่าง ปตท.การบินไทย ปิดประตู ลดงบสนับสนุน สั่ง ททท.ปรับเกณฑ์เข้ม พร้อมแต่งตั้ง “กัญจนา ศิลปอาชา” นั่งที่ปรึกษาบอร์ด ททท.เชื่อคุม ททท.แบบเบ็ดเสร็จ อ้าง เป็นผู้มีความรู้ช่วย ททท.ทำงานได้ง่าย เผย 30 ม.ค.นี้ ระดมความคิดเอกชนท่องเที่ยว ทำแผนการตลาดและปรับเพิ่มเป้าจำนวนนักท่องเที่ยวอีกครั้ง หลัง กรอ.ไฟเขียว ให้เงินอีก 1,000 ล้านบาท
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (บอร์ด ททท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการพิจารณาปรับหลักเกณฑ์การพิจารณาให้เงินสนับสนุน(สปอนเซอร์) แก่ภาคเอกชน หรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรม ซึ่งกรอบเบื้องต้น ต้อง มีความรัดกุม เหมาะสม อีกทั้งต้องเป็นกิจกรรม ที่มีผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้จริง อีกทั้งต้อง มีการเสนอเรื่องที่จะขอเงินสนับสนุนนี้ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อ คณะกรรมการ และ บอร์ด จะได้มีการศึกษาในรายละเอียด ก่อน พิจารณาอนุมัติ เพราะขณะนี้บางรายส่งเรื่องเสนอขอเงินสนับสนุนเพียง 2 สัปดาห์ ก่อนประชุมบอร์ด
ทั้งนี้ เพราะผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้หลายองค์กรใหญ่ เช่น การบินไทย และ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ได้ปรับลดงบที่จะใช้เพื่อให้การสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ในการจัดกิจกรรม ขณะที่ รัฐวิสาหกิจ รวมถึง ททท.ไม่สามารถประกาศเช่นนั้นได้ เราจำเป็นต้องเปิดกว้าง กับการให้เงินสนับสนุนการจัดงาน เป็นผลให้ขณะนี้ มี ภาคเอกชน และ หน่วยงานต่างๆ ทำหนังสือ หรือโทรศัพท์ มาเสนอโปรเจกต์ เพื่อขอเงินสนับสนุนจำนวนมาก โดย ระบุเหตุผลว่า เป็นงานที่มีส่วนช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ ขณะที่ ททท.เองก็มีภารกิจ ที่จะใช้งบประมาณ ทำกิจกรรม และงานต่างๆ ด้านการตลาด เพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว ทั้งตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศ จึงมีงบประมาณไม่มากพอที่จะช่วยสนับสนุน
“เราต้องประกาศดังๆ เรื่องเกณฑ์ ให้เงินสนุบสนุน โดยจะพิจารณาตามควาเหมาะสม ภายใต้งบประมาณที่มีจำกัด เช่น กลุ่มผู้จัดรายเดิม ที่ของบสนับสนุนอยู่ทุกปี โดยกลุ่มนี้ ไม่จำเป็นต้องให้เท่าเดิม แต่ จะดูที่ผลของงาน ความความสร้างสรรค์ เพื่อนำเงินที่เหลือไปสนับสนุนในส่วนอื่นๆ เพื่อให้เกิดงานใหม่ที่หลากหลาย และแตกต่าง ทั้งกิจกรรมขนาดใหญ่ เช่น สงกรานต์ งานประเพณีต่างๆ และงานขนาดเล็ก ดังนั้น จึงต้องมีการปรับหลักเกณฑ์ เพราะเรามีนักท่องเที่ยวตลาดเป้าหมาย ที่น่าให้การสนับสนุน เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และหลายประเทศในอาเซียน”
ฉะ ททท.จ้างเบิร์ดไม่คุ้มเงิน
นอกจากนั้น ยังให้มีการปรับเกณฑ์การว่าจ้าง พรีเซ็นเตอร์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ททท. ที่จะต้องเสียเงินให้คุ้มค่ากับผลงานที่ได้รับ เช่นการจ้าง “เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์” วงเงิน 64 ล้านบาท เป็นพรีเซ็นเตอร์ ต้องสร้างประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ อย่ามองกันแค่สัญญาว่าจ้าง เพราะ ในภาวะท่องเที่ยววิกฤต ทุกคนต้องเสียสละ เพื่อประเทศชาติ อย่าอ้างกันแค่ข้อตกลงในสัญญา
“ศิลปอาชา” ครอบท่องเที่ยวสนิท
นายวีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมบอร์ด ททท.ยังเห็นชอบตามที่ตนเสนอให้แต่งตั้ง นางสาว กัญจนา ศิลปอาชา อดีตประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นที่ปรึกษาบอร์ด ททท.และ แต่งตั้ง นางสุพัตรา จิราธิวัฒน์ กรรมการบอร์ด ททท.ในฐานะผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ให้เป็น โฆษกบอร์ด ททท.โดยทั้ง 2 ตำแหน่งดังกล่าว จะไม่มีค่าตอบแทนใดๆ และก็เป็นตำแหน่งใหม่ ที่ไม่เคยมีมาในอดีต
สาเหตุที่เลือก นาวสาวกัญจนา เป็นที่ปรึกษาบอร์ด ททท.เพราะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านท่องเที่ยว จากที่เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการท่องเที่ยวฯ ซึ่งจะสามารถช่วยประสานงานกับสภาผู้แทนราษฎรได้ ทำให้ ททท.ทำงานได้ง่ายขึ้น ช่วยผลักดันและอธิบายงานด้านการท่องเที่ยว ให้สภาผู้แทนฯได้เห็นถึงความสำคัญ โดยการทำงาน จะเข้าร่วมประชุมบอร์ด เพื่อให้คำเสนอแนะ แต่จะไม่มีสิทธิ์ในการโหวตใดๆ ทั้งสิ้น
ระดมเอกชนทำแผนตลาดปรับเป้านักท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้แจ้งว่า ที่ประชุม คณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชน (กรอ.) ได้ เห็นชอบ เพิ่มงบประมาณเพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวอีก 1,000 ล้านบาท ดังนั้น ในวันที่ 30 ม.ค.2552 จะเชิญภาคเอกชนท่องเที่ยทุกภาคส่วน มาร่วมหารือกับ ททท. ใน 3 ประเด็น ได้แก่ งานทำงานส่งเสริมการตลาด ที่ดำเนินการไปแล้ว, ประเมินสถานการณ์นักท่องเที่ยวนับจากนี้ไป และจัดปรับแผนการตลาด ที่จะใช้ในปีนี้ เพื่อสรุปและนำเสนอต่อนายชุมพล ศิลปอาชา ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน พร้อมขอคำแนะนำ
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการปรับเพิ่มเป้านักท่องเที่ยวและรายได้ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ แต่จะเป็นเท่าใด ยังตอบไม่ได้ จากที่ ททท.ประกาศไว้เมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมา ว่า นักท่องเที่ยวต่างประเทศ 14.8 ล้านคน รายได้ 5.31 แสนล้านบาท ส่วนตลาดในประเทศ ตั้งไว้ที่ 87 ล้านคนครั้ง รายได้ 4.07 แสนล้านบาท
ทั้งนี้เพราะ สถานการณ์ขณะนี้เริ่มเปลี่ยนแปลไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากผลการทำงานกระตุ้นตลาด และ การฟื้นฟูเศรษฐกิจทั้งของประเทศไทย และ ในต่างประเทศ ประกอบกับเงินงบกลางปี 52 ที่รัฐบาลได้อัดฉีดเข้ามาให้ภาคท่องเที่ยวอีก 1,000 ล้านบาท ดังกล่าว รวมกับ ของเดิมที่อนุมัติไว้แล้ว 450 ล้านบาท น่าจะทำให้ เราสามารถสร้างกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในมากขึ้น
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (บอร์ด ททท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการพิจารณาปรับหลักเกณฑ์การพิจารณาให้เงินสนับสนุน(สปอนเซอร์) แก่ภาคเอกชน หรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรม ซึ่งกรอบเบื้องต้น ต้อง มีความรัดกุม เหมาะสม อีกทั้งต้องเป็นกิจกรรม ที่มีผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้จริง อีกทั้งต้อง มีการเสนอเรื่องที่จะขอเงินสนับสนุนนี้ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อ คณะกรรมการ และ บอร์ด จะได้มีการศึกษาในรายละเอียด ก่อน พิจารณาอนุมัติ เพราะขณะนี้บางรายส่งเรื่องเสนอขอเงินสนับสนุนเพียง 2 สัปดาห์ ก่อนประชุมบอร์ด
ทั้งนี้ เพราะผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้หลายองค์กรใหญ่ เช่น การบินไทย และ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ได้ปรับลดงบที่จะใช้เพื่อให้การสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ในการจัดกิจกรรม ขณะที่ รัฐวิสาหกิจ รวมถึง ททท.ไม่สามารถประกาศเช่นนั้นได้ เราจำเป็นต้องเปิดกว้าง กับการให้เงินสนับสนุนการจัดงาน เป็นผลให้ขณะนี้ มี ภาคเอกชน และ หน่วยงานต่างๆ ทำหนังสือ หรือโทรศัพท์ มาเสนอโปรเจกต์ เพื่อขอเงินสนับสนุนจำนวนมาก โดย ระบุเหตุผลว่า เป็นงานที่มีส่วนช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ ขณะที่ ททท.เองก็มีภารกิจ ที่จะใช้งบประมาณ ทำกิจกรรม และงานต่างๆ ด้านการตลาด เพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว ทั้งตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศ จึงมีงบประมาณไม่มากพอที่จะช่วยสนับสนุน
“เราต้องประกาศดังๆ เรื่องเกณฑ์ ให้เงินสนุบสนุน โดยจะพิจารณาตามควาเหมาะสม ภายใต้งบประมาณที่มีจำกัด เช่น กลุ่มผู้จัดรายเดิม ที่ของบสนับสนุนอยู่ทุกปี โดยกลุ่มนี้ ไม่จำเป็นต้องให้เท่าเดิม แต่ จะดูที่ผลของงาน ความความสร้างสรรค์ เพื่อนำเงินที่เหลือไปสนับสนุนในส่วนอื่นๆ เพื่อให้เกิดงานใหม่ที่หลากหลาย และแตกต่าง ทั้งกิจกรรมขนาดใหญ่ เช่น สงกรานต์ งานประเพณีต่างๆ และงานขนาดเล็ก ดังนั้น จึงต้องมีการปรับหลักเกณฑ์ เพราะเรามีนักท่องเที่ยวตลาดเป้าหมาย ที่น่าให้การสนับสนุน เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และหลายประเทศในอาเซียน”
ฉะ ททท.จ้างเบิร์ดไม่คุ้มเงิน
นอกจากนั้น ยังให้มีการปรับเกณฑ์การว่าจ้าง พรีเซ็นเตอร์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ททท. ที่จะต้องเสียเงินให้คุ้มค่ากับผลงานที่ได้รับ เช่นการจ้าง “เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์” วงเงิน 64 ล้านบาท เป็นพรีเซ็นเตอร์ ต้องสร้างประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ อย่ามองกันแค่สัญญาว่าจ้าง เพราะ ในภาวะท่องเที่ยววิกฤต ทุกคนต้องเสียสละ เพื่อประเทศชาติ อย่าอ้างกันแค่ข้อตกลงในสัญญา
“ศิลปอาชา” ครอบท่องเที่ยวสนิท
นายวีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมบอร์ด ททท.ยังเห็นชอบตามที่ตนเสนอให้แต่งตั้ง นางสาว กัญจนา ศิลปอาชา อดีตประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นที่ปรึกษาบอร์ด ททท.และ แต่งตั้ง นางสุพัตรา จิราธิวัฒน์ กรรมการบอร์ด ททท.ในฐานะผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ให้เป็น โฆษกบอร์ด ททท.โดยทั้ง 2 ตำแหน่งดังกล่าว จะไม่มีค่าตอบแทนใดๆ และก็เป็นตำแหน่งใหม่ ที่ไม่เคยมีมาในอดีต
สาเหตุที่เลือก นาวสาวกัญจนา เป็นที่ปรึกษาบอร์ด ททท.เพราะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านท่องเที่ยว จากที่เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการท่องเที่ยวฯ ซึ่งจะสามารถช่วยประสานงานกับสภาผู้แทนราษฎรได้ ทำให้ ททท.ทำงานได้ง่ายขึ้น ช่วยผลักดันและอธิบายงานด้านการท่องเที่ยว ให้สภาผู้แทนฯได้เห็นถึงความสำคัญ โดยการทำงาน จะเข้าร่วมประชุมบอร์ด เพื่อให้คำเสนอแนะ แต่จะไม่มีสิทธิ์ในการโหวตใดๆ ทั้งสิ้น
ระดมเอกชนทำแผนตลาดปรับเป้านักท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้แจ้งว่า ที่ประชุม คณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชน (กรอ.) ได้ เห็นชอบ เพิ่มงบประมาณเพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวอีก 1,000 ล้านบาท ดังนั้น ในวันที่ 30 ม.ค.2552 จะเชิญภาคเอกชนท่องเที่ยทุกภาคส่วน มาร่วมหารือกับ ททท. ใน 3 ประเด็น ได้แก่ งานทำงานส่งเสริมการตลาด ที่ดำเนินการไปแล้ว, ประเมินสถานการณ์นักท่องเที่ยวนับจากนี้ไป และจัดปรับแผนการตลาด ที่จะใช้ในปีนี้ เพื่อสรุปและนำเสนอต่อนายชุมพล ศิลปอาชา ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน พร้อมขอคำแนะนำ
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการปรับเพิ่มเป้านักท่องเที่ยวและรายได้ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ แต่จะเป็นเท่าใด ยังตอบไม่ได้ จากที่ ททท.ประกาศไว้เมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมา ว่า นักท่องเที่ยวต่างประเทศ 14.8 ล้านคน รายได้ 5.31 แสนล้านบาท ส่วนตลาดในประเทศ ตั้งไว้ที่ 87 ล้านคนครั้ง รายได้ 4.07 แสนล้านบาท
ทั้งนี้เพราะ สถานการณ์ขณะนี้เริ่มเปลี่ยนแปลไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากผลการทำงานกระตุ้นตลาด และ การฟื้นฟูเศรษฐกิจทั้งของประเทศไทย และ ในต่างประเทศ ประกอบกับเงินงบกลางปี 52 ที่รัฐบาลได้อัดฉีดเข้ามาให้ภาคท่องเที่ยวอีก 1,000 ล้านบาท ดังกล่าว รวมกับ ของเดิมที่อนุมัติไว้แล้ว 450 ล้านบาท น่าจะทำให้ เราสามารถสร้างกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในมากขึ้น