ไอเอ็มเอฟบุกคลังขอข้อมูลเศรษฐกิจประเมินสถานการณ์ ระบุกฏหมายไทยหลายฉบับกีดกันโครงสร้างเม็กกะโปรเจกต์เกิดยาก ขณะที่หน่วยงานภาครัฐต่างสร้างหนี้โดยไม่มีการพิจารณาภาพรวมทั้งระบบ
ร.ท.นพดล พันธุ์กระวี รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า นายสุชาติ ธาดาดำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือกับผู้แทนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) โดยคลังได้รายงานข้อมูลภาวะเศรษฐกิจไทยให้ไอเอ็มเอฟทราบ เพื่อนำไปรายงานให้ต่างประเทศประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทยได้ ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟยอมรับว่าการให้ข้อมูลทางเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมา มีความชัดเจนโปร่งใสและเป็นประโยชน์กับต่างชาติมาก
อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟได้เสนอแนะให้ไทยเร่งดูในส่วนข้อกฏหมายที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการๆของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ หรือเม็กกะโปรเจกต์ที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ทำให้โครงการล่าช้า ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ช้ามากหากเทียบกับหลายประเทศที่มีขั้นตอนน้อยกว่า รวมถึงการกำหนดกรอบวินัยทางการคลัง แม้ว่าจะสร้างความเข้มแข็งทางการคลัง แต่ก็กดดันให้ดำเนินนโยบายการคลังๆได้ไม่คล่องตัว
นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟได้พิจารณาถึงปัณหาหนี้สาธารณะ ที่พบว่าส่วนใหญ่มีปัญหาการใช้เงินจำนวนมากในโครงการต่างๆของรัฐบาลที่แต่ละหน่วยงานต่างคนต่างของบประมาณ โดยขาดการพิจารณาใช้งบประมาณในภาพรวม จึงเสนอให้มีการตั้งตัวแทนจากกระทรวงการคลังเข้าเป็นคณะกรรมการในทุกรายการ เพื่อกำกับดูแลการใช้เงินให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
"พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่ แต่มีอุปสรรคในเรื่องกระบวนการราชการ กฏหมาย และการแยกส่วนกันทำงาน ทำให้เกิดการล่าช้าและมีหนี้สินเกินความจำเป็น ซึ่งไอเอ็มเอฟก็ติดตามอย่างต่อเนื่อง และจะมาหารืออีกครั้งเพื่อนำผลการหารือไปประเมินเศรษฐกิจไทยต่อไป"ร.ท.นพดล กล่าว
ร.ท.นพดล พันธุ์กระวี รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า นายสุชาติ ธาดาดำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือกับผู้แทนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) โดยคลังได้รายงานข้อมูลภาวะเศรษฐกิจไทยให้ไอเอ็มเอฟทราบ เพื่อนำไปรายงานให้ต่างประเทศประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทยได้ ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟยอมรับว่าการให้ข้อมูลทางเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมา มีความชัดเจนโปร่งใสและเป็นประโยชน์กับต่างชาติมาก
อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟได้เสนอแนะให้ไทยเร่งดูในส่วนข้อกฏหมายที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการๆของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ หรือเม็กกะโปรเจกต์ที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ทำให้โครงการล่าช้า ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ช้ามากหากเทียบกับหลายประเทศที่มีขั้นตอนน้อยกว่า รวมถึงการกำหนดกรอบวินัยทางการคลัง แม้ว่าจะสร้างความเข้มแข็งทางการคลัง แต่ก็กดดันให้ดำเนินนโยบายการคลังๆได้ไม่คล่องตัว
นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟได้พิจารณาถึงปัณหาหนี้สาธารณะ ที่พบว่าส่วนใหญ่มีปัญหาการใช้เงินจำนวนมากในโครงการต่างๆของรัฐบาลที่แต่ละหน่วยงานต่างคนต่างของบประมาณ โดยขาดการพิจารณาใช้งบประมาณในภาพรวม จึงเสนอให้มีการตั้งตัวแทนจากกระทรวงการคลังเข้าเป็นคณะกรรมการในทุกรายการ เพื่อกำกับดูแลการใช้เงินให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
"พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่ แต่มีอุปสรรคในเรื่องกระบวนการราชการ กฏหมาย และการแยกส่วนกันทำงาน ทำให้เกิดการล่าช้าและมีหนี้สินเกินความจำเป็น ซึ่งไอเอ็มเอฟก็ติดตามอย่างต่อเนื่อง และจะมาหารืออีกครั้งเพื่อนำผลการหารือไปประเมินเศรษฐกิจไทยต่อไป"ร.ท.นพดล กล่าว