นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ชี้ภาคเอกชนอย่างหวังพึ่งรัฐบาล ลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐวิสาหกิจ เหตุรัฐบาลอายุสั้นทำให้นโยบายเปลี่ยนแปลงบ่อย แนะรัฐบาลหนุนรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ฐานะแข็งแกร่งเป็นหัวหอกลงทุนขนาดใหญ่ ด้านธปท.ชี้สภาพคล่องปีหน้าตึงตัวจากแรงกดดันบริษัทใหญ่หันกู้ในประเทศมากขึ้น พร้อมส่งสัญญาณอาจปรับลดดอกเบี้ย หลังอัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP และในฐานะนายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวในงานเสวนาเรื่อง “ยุทธศาสตร์ธุรกิจภายใต้วิกฤตไทย วิกฤตโลก” ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ วานนี้ (11 พ.ย.) ว่า สหรัฐฯ และยุโรปน่าจะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม ซึ่งล่าสุดประเทศจีนได้มีการอัดฉีดเม็ดเงิน 20 ล้านล้านบาท ในการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งคิดเป็น 16% ของจีดีพีในปีที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้จีดีพีจีนปี 52 โตได้ 8-9%
ทั้งนี้ มาตรการอัดฉีดเม็ดเงินของจีนจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลก จากประเทศจีนมีผลทำให้เศรษฐกิจโลกมีการเติบโตได้ถึง 27% ขณะที่ไตรมาส 4/51 จีนมีการเติบโตเพียง 5.8% ซึ่งถือว่ามีการเติบโตที่ต่ำสุดในรอบ 14 ปี ซึ่งคาดว่าปีนี้จีนจะมีจีดีพีที่ 8.3% หากไม่มีการอัดฉีดเม็ดเงินจะทำให้ปีหน้าจีดีพีจะโตเพียง 5-6% เท่านั้น
สำหรับมาตรการเสริมสภาพคล่อง 1 แสนล้านบาทของไทย หรือคิดเป็น 1.1% ของจีดีพีปีที่ผ่านมา นับเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก และจากที่รัฐบาลไม่สามารถที่จะมีการผลักดันให้มีการลงทุนขนาดใหญ่ โครงการเมกะโปรเจ็กต์ได้นั้น เพื่อที่จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้มีการเติบโตได้ จากที่มีอายุการบริหารประเทศที่สั้น เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ทำให้โครงการไม่ต่อเนื่อง
“ตอนนี้ภาคเอกชนไม่ควรรอพึ่งพารัฐบาลในการเข้ามาช่วยเหลือธุรกิจ หรือกระตุ้นเศรษฐกิจไทย เพราะ รัฐบาลไม่สามารถที่จะมีการเดินหน้าการลงทุนขนาดใหญ่ได้ จากที่มีอายุที่สั้นและทำให้นโยบายการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไปไม่เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งควรที่จะให้รัฐวิสาหกิจมาเป็นหัวหอกแทนรัฐบาลในการเข้ามาลงทุนขนาดใหญ่แทน แต่จะต้องเป็นรัฐวิสาหกิจที่แข็งแรง ที่สามารถแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติได้” นายก้องเกียรติ กล่าว
ทั้งนี้ แม้สภาพคล่องทางการเงินของประเทศไทยยังมีอยู่มากนั้น แต่เริ่มเห็นบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ของไทยมีการออกหุ้นกู้อายุ 5-6 ปี เพื่อเตรียมระดมทุนใช้ในระยะยาวเพื่อป้องกันการขาดสภาพคล่องในอนาคตในการชำระหนี้ที่จะครบกำหนด (รีไฟแนนซ์) จากที่ไม่สามารถไประดมทุนต่างประเทศได้ จากสถาบันการเงินระมัดระวัง
จากประเด็นดังกล่าว ทำให้เอกชนต้องหันมาระดมทุนกับธนาคารพาณิชย์ในไทยแทน แต่ธนาคารพาณิชย์ต้องระวังในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้ปีหน้าสภาพคล่องทางการเงินปีหน้าตรึงตัวและลูกค้าของบริษัทได้มีการปรึกษาในเรื่องดังกล่าว โดยบริษัทแนะนำให้มีการออกเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน ในการเสนอขายหุ้นในลักษณะแบบเฉพาะเจาะจง (PP) หรือออกตราสารต่างๆ แทน
นายก้องเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ราคาหุ้นในตลาดหุ้นไทยราคาต่ำมาก หากเข้ามาลงทุนถือว่าลงทุนในราคาที่ต่ำกว่าผู้ก่อตั้งบริษัท โดยบริษัทมีแผนที่จะเข้าไปลงทุนในหุ้นเพิ่ม แต่การที่ตลาดหุ้นไทยจะฟื้นได้ก็จะต้องมีข่าวดีเข้ามากระตุ้นในเรื่องนโยบายของประเทศที่จะทำให้นักลงทุนหันมามองการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งหากมีการลงทุนระยาว 2 ปีขึ้นไปจะได้รับผลตอบแทนที่สูง ซึ่งดีกว่าการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์
“อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยขณะนี้ถือว่าอยู่ในช่วงปรับตัว ซึ่งจะค่อยๆ ดีขึ้น หากดาวโจนส์มีการปรับตัวที่ดี อยู่ที่ระดับ 8,000 -10,000 จุด ซึ่งจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นทั่วโลก”
***ธปท.ชี้อนาคตสภาพคล่องตึงตัว
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า สภาพคล่องทางการเงินในปัจจุบันยังไม่มีปัญหา แต่จากตัวเลขสินเชื่อล่าสุดในเดือนก.ย.ที่เติบโตสูงถึง 10.8% ในขณะที่เงินฝากเติบโตเพียง 1.4% ทำให้เป็นแรงกดดันให้สภาพคล่องในอนาคตตึงตัวได้ รวมถึงการที่บริษัทต่างๆหันมากู้เงินในประเทศมากขึ้น หลังจากที่การกู้เงินในต่างประเทศทำได้ยากขึ้นเพราะอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมจากต่างประเทศสูงขึ้น และธนาคารต่างประเทศมีการระมัดระวังในการปล่อยกู้มากขึ้น
“ทางแก้ไขคือจะต้องเพิ่มสภาพคล่องให้มากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ มีการเตรียมตัวและมีการแข่งขันในการระดมเงินฝากเพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งทางแบงก์ชาติต้องเข้ามาดูและสภาพคล่องไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งถือว่าปีหน้าเป็นปีที่ยากในการดูแล”
ทั้งนี้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากนั้น มองว่าโอกาสที่ดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลงในทิศทางก้าวกระโดดมีไม่มากแล้ว แม้ว่าในปีหน้าความต้องการระดมเงินฝากจะยังมีอยู่ แต่ในปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ก็ได้มีการปรับตัวเรื่องการแข่งขันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไปแล้ว ซึ่งถ้าธนาคารใดยังไม่มีการปรับตัวก็ต้องมีการปรับตัวต่อไป
นายบัณฑิต กล่าวว่า ตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 3 ธ.ค.นี้ มีโอกาสที่ธปท.จะนำดอกเบี้ยนโยบายมาใช้ในการดูแลเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าการประชุมครั้งก่อนเมื่อต้นเดือนต.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากพบว่าเงินเฟ้อเริ่มมีนแนวโน้มลดลง ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับการประชุมกนง.ครั้งก่อนธปท.เห็นว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่มีปัญหาโดยตรงจากภาวะเศรษฐกิจ
นายเอกนิต นิติธัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการกลุ่มเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า วิกฤตทางการเงินของสหรัฐฯ ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจไทย และทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลาง โดยผลกระทบทางตรง คือ สถาบันทางการเงินของไทยที่ลงทุนในตราสารประเภท CDO ซึ่งจากการสำรวจพบว่าสถาบันทางการเงินของไทยมีความเสี่ยงจากการลงทุนดังกล่าวน้อยมาก คิดเป็น 1.3% ของสินทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งถือว่าสถาบันทางการเงินของไทยมีความเข้มแข็งมาก ดังนั้นบทบาทของภาครัฐคือ การประเมินความเสี่ยง
สำหรับปัญหาระยะสั้นที่เกิดขึ้น คือ ความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุน ซึ่งปัญหาที่เกิดกับตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ การที่ดัชนีปรับลดลง และราคาหุ้นต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน ดังนั้น การที่ตลาดปรับลดลงควรปล่อยเป็นไปตามกลไกของตลาด เพราะจะฝืนตลาดไม่ได้ แต่สิ่งที่พยายามทำ คือ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสร้างแรงจูงใจในการลงทุน ซึ่งถือเป็นโอกาสที่จะเข้าลงทุน เช่น การจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน (แมทชิ่งฟันด์) หรือ การให้บริษัทจดทะเบียนซื้อหุ้นคืน เป็นต้น
ด้านความผันผวนของค่าเงินที่เกิดขึ้น ถือว่าธปท. ดูแลดีอยู่แล้ว ทุนสำรองระหว่างประเทศแข็งแกร่งอยู่ที่ประมาณ 1.1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่าหนี้ระยะสั้นกว่า 4 เท่า ส่วนสภาพคล่องในระบบก็มีอยู่อย่างเพียงพอ แต่ก็ไม่ได้ปลอดภัย ซึ่งหากมีความจำเป็นอาจจะต้องประสานกับธปท. ในการพิจารณาออกหุ้นกู้หรือพันธบัตรรัฐบาล
นอกจากนี้ ในส่วนของผลกระทบที่มีต่อระยะปานกลาง คือ การกระทบต่อภาคธุรกิจที่แท้จริง เพราะไทยพึ่งพาการส่งออกมาก การบริโภคภายในประเทศอยู่ที่ 1.5% การลงทุน 0.5% ซึ่งที่ผ่านมาการส่งออกยังคงเติบโตอยู่ที่ 18% และการส่งออกดันเศรษฐกิจ เมื่อประเทศพึ่งพาการส่งออกมากเกินไป ในปีหน้าก็จะลำบาก เมื่อส่งออกไม่ได้ การผลิตก็ผลิตไม่ได้ การบริโภคก็ลดลง ดังนั้นการแก้ปัญหาด้านส่งออก คือ การกระตุ้นการลงทุนและการบริโภค
นายอุตตม สาวนายน อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ส่วนตัวเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดตั้งกองทุนเป็นกองที่2 ซึ่งกำลังพิจารณาที่จะเข้าไปลงทุนเพิ่ม ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากกับบริษัทที่จะเข้าไปลงทุน โดยบริษัทมีนโยบายการลงทุนระยะยาว 3- 8 ปี มีการถือหุ้นในสัดส่วน 10-15% ซึ่งถือว่าช่วงนี้เป็นจังหวะที่ดีในการเข้าไปลงทุน ซึ่งไม่ใช่เพราะ ราคาหุ้นปรับตัวลงมามาก แต่เป็นเพราะ บริษัทต่างๆจะมีการปรับตัวให้บริษัทมีความแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจมีการเติบโตที่ดีในอนาคต แต่ถือว่าราคาหุ้นที่ลดลงก็เป็นปัจจัยบวกหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้เชื่อว่าการลงทุนนั้นมีโอกาสที่ได้รับผลตอบแทนที่ดีในปีหนี้จนถึงปีหน้า
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP และในฐานะนายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวในงานเสวนาเรื่อง “ยุทธศาสตร์ธุรกิจภายใต้วิกฤตไทย วิกฤตโลก” ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ วานนี้ (11 พ.ย.) ว่า สหรัฐฯ และยุโรปน่าจะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม ซึ่งล่าสุดประเทศจีนได้มีการอัดฉีดเม็ดเงิน 20 ล้านล้านบาท ในการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งคิดเป็น 16% ของจีดีพีในปีที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้จีดีพีจีนปี 52 โตได้ 8-9%
ทั้งนี้ มาตรการอัดฉีดเม็ดเงินของจีนจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลก จากประเทศจีนมีผลทำให้เศรษฐกิจโลกมีการเติบโตได้ถึง 27% ขณะที่ไตรมาส 4/51 จีนมีการเติบโตเพียง 5.8% ซึ่งถือว่ามีการเติบโตที่ต่ำสุดในรอบ 14 ปี ซึ่งคาดว่าปีนี้จีนจะมีจีดีพีที่ 8.3% หากไม่มีการอัดฉีดเม็ดเงินจะทำให้ปีหน้าจีดีพีจะโตเพียง 5-6% เท่านั้น
สำหรับมาตรการเสริมสภาพคล่อง 1 แสนล้านบาทของไทย หรือคิดเป็น 1.1% ของจีดีพีปีที่ผ่านมา นับเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก และจากที่รัฐบาลไม่สามารถที่จะมีการผลักดันให้มีการลงทุนขนาดใหญ่ โครงการเมกะโปรเจ็กต์ได้นั้น เพื่อที่จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้มีการเติบโตได้ จากที่มีอายุการบริหารประเทศที่สั้น เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ทำให้โครงการไม่ต่อเนื่อง
“ตอนนี้ภาคเอกชนไม่ควรรอพึ่งพารัฐบาลในการเข้ามาช่วยเหลือธุรกิจ หรือกระตุ้นเศรษฐกิจไทย เพราะ รัฐบาลไม่สามารถที่จะมีการเดินหน้าการลงทุนขนาดใหญ่ได้ จากที่มีอายุที่สั้นและทำให้นโยบายการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไปไม่เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งควรที่จะให้รัฐวิสาหกิจมาเป็นหัวหอกแทนรัฐบาลในการเข้ามาลงทุนขนาดใหญ่แทน แต่จะต้องเป็นรัฐวิสาหกิจที่แข็งแรง ที่สามารถแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติได้” นายก้องเกียรติ กล่าว
ทั้งนี้ แม้สภาพคล่องทางการเงินของประเทศไทยยังมีอยู่มากนั้น แต่เริ่มเห็นบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ของไทยมีการออกหุ้นกู้อายุ 5-6 ปี เพื่อเตรียมระดมทุนใช้ในระยะยาวเพื่อป้องกันการขาดสภาพคล่องในอนาคตในการชำระหนี้ที่จะครบกำหนด (รีไฟแนนซ์) จากที่ไม่สามารถไประดมทุนต่างประเทศได้ จากสถาบันการเงินระมัดระวัง
จากประเด็นดังกล่าว ทำให้เอกชนต้องหันมาระดมทุนกับธนาคารพาณิชย์ในไทยแทน แต่ธนาคารพาณิชย์ต้องระวังในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้ปีหน้าสภาพคล่องทางการเงินปีหน้าตรึงตัวและลูกค้าของบริษัทได้มีการปรึกษาในเรื่องดังกล่าว โดยบริษัทแนะนำให้มีการออกเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน ในการเสนอขายหุ้นในลักษณะแบบเฉพาะเจาะจง (PP) หรือออกตราสารต่างๆ แทน
นายก้องเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ราคาหุ้นในตลาดหุ้นไทยราคาต่ำมาก หากเข้ามาลงทุนถือว่าลงทุนในราคาที่ต่ำกว่าผู้ก่อตั้งบริษัท โดยบริษัทมีแผนที่จะเข้าไปลงทุนในหุ้นเพิ่ม แต่การที่ตลาดหุ้นไทยจะฟื้นได้ก็จะต้องมีข่าวดีเข้ามากระตุ้นในเรื่องนโยบายของประเทศที่จะทำให้นักลงทุนหันมามองการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งหากมีการลงทุนระยาว 2 ปีขึ้นไปจะได้รับผลตอบแทนที่สูง ซึ่งดีกว่าการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์
“อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยขณะนี้ถือว่าอยู่ในช่วงปรับตัว ซึ่งจะค่อยๆ ดีขึ้น หากดาวโจนส์มีการปรับตัวที่ดี อยู่ที่ระดับ 8,000 -10,000 จุด ซึ่งจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นทั่วโลก”
***ธปท.ชี้อนาคตสภาพคล่องตึงตัว
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า สภาพคล่องทางการเงินในปัจจุบันยังไม่มีปัญหา แต่จากตัวเลขสินเชื่อล่าสุดในเดือนก.ย.ที่เติบโตสูงถึง 10.8% ในขณะที่เงินฝากเติบโตเพียง 1.4% ทำให้เป็นแรงกดดันให้สภาพคล่องในอนาคตตึงตัวได้ รวมถึงการที่บริษัทต่างๆหันมากู้เงินในประเทศมากขึ้น หลังจากที่การกู้เงินในต่างประเทศทำได้ยากขึ้นเพราะอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมจากต่างประเทศสูงขึ้น และธนาคารต่างประเทศมีการระมัดระวังในการปล่อยกู้มากขึ้น
“ทางแก้ไขคือจะต้องเพิ่มสภาพคล่องให้มากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ มีการเตรียมตัวและมีการแข่งขันในการระดมเงินฝากเพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งทางแบงก์ชาติต้องเข้ามาดูและสภาพคล่องไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งถือว่าปีหน้าเป็นปีที่ยากในการดูแล”
ทั้งนี้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากนั้น มองว่าโอกาสที่ดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลงในทิศทางก้าวกระโดดมีไม่มากแล้ว แม้ว่าในปีหน้าความต้องการระดมเงินฝากจะยังมีอยู่ แต่ในปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ก็ได้มีการปรับตัวเรื่องการแข่งขันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไปแล้ว ซึ่งถ้าธนาคารใดยังไม่มีการปรับตัวก็ต้องมีการปรับตัวต่อไป
นายบัณฑิต กล่าวว่า ตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 3 ธ.ค.นี้ มีโอกาสที่ธปท.จะนำดอกเบี้ยนโยบายมาใช้ในการดูแลเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าการประชุมครั้งก่อนเมื่อต้นเดือนต.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากพบว่าเงินเฟ้อเริ่มมีนแนวโน้มลดลง ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับการประชุมกนง.ครั้งก่อนธปท.เห็นว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่มีปัญหาโดยตรงจากภาวะเศรษฐกิจ
นายเอกนิต นิติธัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการกลุ่มเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า วิกฤตทางการเงินของสหรัฐฯ ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจไทย และทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลาง โดยผลกระทบทางตรง คือ สถาบันทางการเงินของไทยที่ลงทุนในตราสารประเภท CDO ซึ่งจากการสำรวจพบว่าสถาบันทางการเงินของไทยมีความเสี่ยงจากการลงทุนดังกล่าวน้อยมาก คิดเป็น 1.3% ของสินทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งถือว่าสถาบันทางการเงินของไทยมีความเข้มแข็งมาก ดังนั้นบทบาทของภาครัฐคือ การประเมินความเสี่ยง
สำหรับปัญหาระยะสั้นที่เกิดขึ้น คือ ความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุน ซึ่งปัญหาที่เกิดกับตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ การที่ดัชนีปรับลดลง และราคาหุ้นต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน ดังนั้น การที่ตลาดปรับลดลงควรปล่อยเป็นไปตามกลไกของตลาด เพราะจะฝืนตลาดไม่ได้ แต่สิ่งที่พยายามทำ คือ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสร้างแรงจูงใจในการลงทุน ซึ่งถือเป็นโอกาสที่จะเข้าลงทุน เช่น การจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน (แมทชิ่งฟันด์) หรือ การให้บริษัทจดทะเบียนซื้อหุ้นคืน เป็นต้น
ด้านความผันผวนของค่าเงินที่เกิดขึ้น ถือว่าธปท. ดูแลดีอยู่แล้ว ทุนสำรองระหว่างประเทศแข็งแกร่งอยู่ที่ประมาณ 1.1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่าหนี้ระยะสั้นกว่า 4 เท่า ส่วนสภาพคล่องในระบบก็มีอยู่อย่างเพียงพอ แต่ก็ไม่ได้ปลอดภัย ซึ่งหากมีความจำเป็นอาจจะต้องประสานกับธปท. ในการพิจารณาออกหุ้นกู้หรือพันธบัตรรัฐบาล
นอกจากนี้ ในส่วนของผลกระทบที่มีต่อระยะปานกลาง คือ การกระทบต่อภาคธุรกิจที่แท้จริง เพราะไทยพึ่งพาการส่งออกมาก การบริโภคภายในประเทศอยู่ที่ 1.5% การลงทุน 0.5% ซึ่งที่ผ่านมาการส่งออกยังคงเติบโตอยู่ที่ 18% และการส่งออกดันเศรษฐกิจ เมื่อประเทศพึ่งพาการส่งออกมากเกินไป ในปีหน้าก็จะลำบาก เมื่อส่งออกไม่ได้ การผลิตก็ผลิตไม่ได้ การบริโภคก็ลดลง ดังนั้นการแก้ปัญหาด้านส่งออก คือ การกระตุ้นการลงทุนและการบริโภค
นายอุตตม สาวนายน อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ส่วนตัวเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดตั้งกองทุนเป็นกองที่2 ซึ่งกำลังพิจารณาที่จะเข้าไปลงทุนเพิ่ม ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากกับบริษัทที่จะเข้าไปลงทุน โดยบริษัทมีนโยบายการลงทุนระยะยาว 3- 8 ปี มีการถือหุ้นในสัดส่วน 10-15% ซึ่งถือว่าช่วงนี้เป็นจังหวะที่ดีในการเข้าไปลงทุน ซึ่งไม่ใช่เพราะ ราคาหุ้นปรับตัวลงมามาก แต่เป็นเพราะ บริษัทต่างๆจะมีการปรับตัวให้บริษัทมีความแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจมีการเติบโตที่ดีในอนาคต แต่ถือว่าราคาหุ้นที่ลดลงก็เป็นปัจจัยบวกหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้เชื่อว่าการลงทุนนั้นมีโอกาสที่ได้รับผลตอบแทนที่ดีในปีหนี้จนถึงปีหน้า