แบงก์กรุงเทพยันบริหารหนี้เน่าเอง ไม่โละขายทิ้ง แม้แนวโน้มจะเพิ่มขึ้นก็ตาม ฟุ้งสิ้นปีหากปรับโครงสร้างหนี้ธุรกิจน้ำตาลได้ตามเป้า 2 หมื่นล้าน จะทำให้เอ็นพีแอลของแบงก์เหลือ 4% กว่า
นายสุวรรณ แทนสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ธนาคารยังยืนยันว่าจะทำการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ (เอ็นพีแอล)ที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่มีนโยบายการขายออกแต่อย่างใด เนื่องจากมั่นใจในศักยภาพของทีมงานที่มีอยู่ในปัจจุบันประมาณ 300-400 คน แม้ว่าแนวโน้มปัญหาเอ็นพีแอลในระบบมีสัญญาณแย่มานานนับปีแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการรายเล็กๆ ซึ่งถึงแม้จะไม่น่ากลัวเท่ากับวิกฤตปี 2540 แต่ก็ถือว่าไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเอ็นพีแอลมากขึ้น เพราะได้รับแรงกดดันจากทั้งปัญหาภายนอกและภายในประเทศ
ทั้งนี้ ในส่วนของธนาคารกรุงเทพปัจจุบันมีเอ็นพีแอลทั้งระบบอยู่ประมาณ 5.6% ซึ่งหากธนาคารสามารถบริหารพอร์ตเอ็นพีแอลของธุรกิจน้ำตาลที่เป็นปัญหาอยู่ขณะนี้ได้ตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ที่ 20,000 ล้านบาทได้ เชื่อว่าจะส่งผลให้เอ็นพีแอลของธนาคารจะลดลงเหลือประมาณ 4% กว่าภายในสิ้นปีนี้ แต่ถ้าหากไม่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จ เอ็นพีแอลของธนาคารอยู่ที่ประมาณกว่า 5% หรือลดลงจากเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันธนาคารสามารถปรับโครงสร้างเอ็นพีแอลของธุรกิจน้ำตาลได้ประมาณกว่า 10,000 ล้านบาท แล้ว
"มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่มีแนวโน้มเป็นเอ็นพีแอลของธนาคาร ก็จะมีการพิจารณาลูกค้าเหล่านี้เป็นรายกรณีไปว่าสาเหตุของปัญหาคืออะไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ซึ่งขั้นแรกจะใช้นโยบายผ่อนปรน ยืดระยะเวลาการผ่อนชำระ หรือแม้กระทั่งการลดหย่อนด้านอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงบ้าง เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมพวกเขา โดยทีมงานบริหารหนี้ของธนาคารก็ยังเป็นทีมเดิมซึ่งในภาวะการณ์แบบนี้ธนาคารก็ไม่กล้าที่จะปรับลดทีมงานลงเหมือนในอดีต แม้จะมองว่าจำนวนทีมงานที่เหมาะสมน่าจะอยู่ที่ประมาณ 300 คนก็พอ"
นายสุวรรณ กล่าว
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเอ็นพีแอลต่อจากนี้ไปมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นกว่านี้ โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อยผู้ขอสินเชื่อบ้าน ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบหนักจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งหากมีการตกงานอย่างที่คาดการณ์ไว้เชื่อว่าทำให้เอ็นพีแอลในระบบเพิ่มขึ้นอีก เพราะกำลังในการชำระหนี้ลดลง
นายสุวรรณ แทนสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ธนาคารยังยืนยันว่าจะทำการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ (เอ็นพีแอล)ที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่มีนโยบายการขายออกแต่อย่างใด เนื่องจากมั่นใจในศักยภาพของทีมงานที่มีอยู่ในปัจจุบันประมาณ 300-400 คน แม้ว่าแนวโน้มปัญหาเอ็นพีแอลในระบบมีสัญญาณแย่มานานนับปีแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการรายเล็กๆ ซึ่งถึงแม้จะไม่น่ากลัวเท่ากับวิกฤตปี 2540 แต่ก็ถือว่าไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเอ็นพีแอลมากขึ้น เพราะได้รับแรงกดดันจากทั้งปัญหาภายนอกและภายในประเทศ
ทั้งนี้ ในส่วนของธนาคารกรุงเทพปัจจุบันมีเอ็นพีแอลทั้งระบบอยู่ประมาณ 5.6% ซึ่งหากธนาคารสามารถบริหารพอร์ตเอ็นพีแอลของธุรกิจน้ำตาลที่เป็นปัญหาอยู่ขณะนี้ได้ตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ที่ 20,000 ล้านบาทได้ เชื่อว่าจะส่งผลให้เอ็นพีแอลของธนาคารจะลดลงเหลือประมาณ 4% กว่าภายในสิ้นปีนี้ แต่ถ้าหากไม่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จ เอ็นพีแอลของธนาคารอยู่ที่ประมาณกว่า 5% หรือลดลงจากเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันธนาคารสามารถปรับโครงสร้างเอ็นพีแอลของธุรกิจน้ำตาลได้ประมาณกว่า 10,000 ล้านบาท แล้ว
"มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่มีแนวโน้มเป็นเอ็นพีแอลของธนาคาร ก็จะมีการพิจารณาลูกค้าเหล่านี้เป็นรายกรณีไปว่าสาเหตุของปัญหาคืออะไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ซึ่งขั้นแรกจะใช้นโยบายผ่อนปรน ยืดระยะเวลาการผ่อนชำระ หรือแม้กระทั่งการลดหย่อนด้านอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงบ้าง เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมพวกเขา โดยทีมงานบริหารหนี้ของธนาคารก็ยังเป็นทีมเดิมซึ่งในภาวะการณ์แบบนี้ธนาคารก็ไม่กล้าที่จะปรับลดทีมงานลงเหมือนในอดีต แม้จะมองว่าจำนวนทีมงานที่เหมาะสมน่าจะอยู่ที่ประมาณ 300 คนก็พอ"
นายสุวรรณ กล่าว
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเอ็นพีแอลต่อจากนี้ไปมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นกว่านี้ โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อยผู้ขอสินเชื่อบ้าน ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบหนักจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งหากมีการตกงานอย่างที่คาดการณ์ไว้เชื่อว่าทำให้เอ็นพีแอลในระบบเพิ่มขึ้นอีก เพราะกำลังในการชำระหนี้ลดลง