“พาณิชย์”ปลุกผีกฎหมายค้าปลีก เตรียมกำหนดให้ชัดอะไรคือค้าปลีกค้าส่ง ปิดทางพวกค้าปลีกดอดขายส่ง พร้อมกำหนดประเภทสินค้าให้ชัดเจน หลังพบห้างค้าปลีกขายสินค้าไม่จำกัด หวังสร้างความเป็นธรรมในการทำธุรกิจ คาดยกร่างเสร็จใน 60 วันตามบัญชา “ไชยา” พร้อมขอความร่วมมือกรมโยธา-สำนักงานสิ่งแวดล้อม แก้ไขกฎหมายในมือปิดทางขยายสาขา
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการยกร่างกฎหมายการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง โดยจะนำร่างกฎหมายเดิมที่ยกร่างโดยกระทรวงพาณิชย์ สมัยนายเกริกไกร จีระแพทย์ เป็นรมว.พาณิชย์ และผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระ 1 ไปแล้วมาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้เกิดความชัดเจน และรัดกุมมากขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อทำให้รายเล็ก และรายใหญ่ทำธุรกิจร่วมกันได้ มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และไม่เกิดการเอารัดเอาเปรียบกันในการดำเนินธุรกิจ
ทั้งนี้ แนวทางดำเนินการจะแยกประเภทธุรกิจค้าปลีกค้าส่งให้ชัดเจนขึ้น และกำหนดลงไปในกฎหมาย จากเดิมที่จะออกเป็นประกาศกระทรวงแยกประเภทในภายหลัง เพื่อให้การแข่งขันเกิดขึ้นในระดับเดียวกัน ไม่ใช่ให้ห้างค้าปลีกมาทำธุรกิจแข่งกับห้างค้าส่ง ซึ่งปัจจุบัน มีทั้งห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต, ซูเปอร์สโตร์, ดิสเคาน์สโตร์, ดีพาร์ทเมนต์สโตร์, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านสะดวกซื้อ, ห้างขายของเฉพาะอย่าง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงร้านขายปลีกที่บรรทุกรถกะบะ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังจะกำหนดประเภทของสินค้าที่จะขายในห้างค้าปลีกค้าส่งว่าจะมีสินค้าใดบ้าง จะมีเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค หรือรวมสินค้าเฉพาะอย่างเข้าไปด้วย เพราะขณะนี้ ห้างค้าปลีกขายสินค้าหลากหลายมากขึ้น
“ต้องทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น อย่างห้างค้าปลีก คือ การขายสินค้าโดยตรงให้ผู้บริโภค แต่หากขายสินค้าจำนวนมากให้ผู้บริโภคโดยตรงยังจะเรียกว่าห้างค้าส่งได้หรือไม่ และไม่ใช่ห้างค้าปลีกอีกต่อไป หากไม่กำหนดให้ชัดเจนห้างค้าปลีกก็จะมีทั้งขายปลีก และขายส่งให้ห้างเดียวกัน ทำให้การแข่งขันไม่เป็นธรรม และโชห่วยก็จะได้รับผลกระทบด้วย โดยต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันตามนโยบายของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.พาณิชย์” นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า การแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากรณีที่ห้างค้าปลีกขยายสาขาจำนวนมาก จนกระทบกับโชห่วยนั้น จะขอความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ แก้ไขกฎหมายให้สามารถยับยั้ง หรือชะลอการขยายสาขา เช่น ขอความร่วมมือกรมโยธาธิการและผังเมือง ให้เพิ่มเติมกฎหมายผังเมืองสามารถควบคุมการปรับปรุงอาคารเก่าเพื่อทำเป็นห้างค้าปลีก จากที่ควบคุมเฉพาะการก่อสร้างอาคารใหม่เท่านั้น เพราะขณะนี้ ห้างค้างปลีกมักซื้ออาคารเก่ามาปรับปรุงใหม่เพื่อทำเป็นสาขา รวมถึงขอความร่วมมือสำนักงานสิ่งแวดล้อม ให้พิจารณาถึงสิ่งแวดล้อมทางการค้าด้วย นอกจากสิ่งแวดล้อมด้านการจราจร เป็นต้น
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการยกร่างกฎหมายการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง โดยจะนำร่างกฎหมายเดิมที่ยกร่างโดยกระทรวงพาณิชย์ สมัยนายเกริกไกร จีระแพทย์ เป็นรมว.พาณิชย์ และผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระ 1 ไปแล้วมาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้เกิดความชัดเจน และรัดกุมมากขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อทำให้รายเล็ก และรายใหญ่ทำธุรกิจร่วมกันได้ มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และไม่เกิดการเอารัดเอาเปรียบกันในการดำเนินธุรกิจ
ทั้งนี้ แนวทางดำเนินการจะแยกประเภทธุรกิจค้าปลีกค้าส่งให้ชัดเจนขึ้น และกำหนดลงไปในกฎหมาย จากเดิมที่จะออกเป็นประกาศกระทรวงแยกประเภทในภายหลัง เพื่อให้การแข่งขันเกิดขึ้นในระดับเดียวกัน ไม่ใช่ให้ห้างค้าปลีกมาทำธุรกิจแข่งกับห้างค้าส่ง ซึ่งปัจจุบัน มีทั้งห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต, ซูเปอร์สโตร์, ดิสเคาน์สโตร์, ดีพาร์ทเมนต์สโตร์, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านสะดวกซื้อ, ห้างขายของเฉพาะอย่าง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงร้านขายปลีกที่บรรทุกรถกะบะ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังจะกำหนดประเภทของสินค้าที่จะขายในห้างค้าปลีกค้าส่งว่าจะมีสินค้าใดบ้าง จะมีเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค หรือรวมสินค้าเฉพาะอย่างเข้าไปด้วย เพราะขณะนี้ ห้างค้าปลีกขายสินค้าหลากหลายมากขึ้น
“ต้องทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น อย่างห้างค้าปลีก คือ การขายสินค้าโดยตรงให้ผู้บริโภค แต่หากขายสินค้าจำนวนมากให้ผู้บริโภคโดยตรงยังจะเรียกว่าห้างค้าส่งได้หรือไม่ และไม่ใช่ห้างค้าปลีกอีกต่อไป หากไม่กำหนดให้ชัดเจนห้างค้าปลีกก็จะมีทั้งขายปลีก และขายส่งให้ห้างเดียวกัน ทำให้การแข่งขันไม่เป็นธรรม และโชห่วยก็จะได้รับผลกระทบด้วย โดยต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันตามนโยบายของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.พาณิชย์” นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า การแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากรณีที่ห้างค้าปลีกขยายสาขาจำนวนมาก จนกระทบกับโชห่วยนั้น จะขอความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ แก้ไขกฎหมายให้สามารถยับยั้ง หรือชะลอการขยายสาขา เช่น ขอความร่วมมือกรมโยธาธิการและผังเมือง ให้เพิ่มเติมกฎหมายผังเมืองสามารถควบคุมการปรับปรุงอาคารเก่าเพื่อทำเป็นห้างค้าปลีก จากที่ควบคุมเฉพาะการก่อสร้างอาคารใหม่เท่านั้น เพราะขณะนี้ ห้างค้างปลีกมักซื้ออาคารเก่ามาปรับปรุงใหม่เพื่อทำเป็นสาขา รวมถึงขอความร่วมมือสำนักงานสิ่งแวดล้อม ให้พิจารณาถึงสิ่งแวดล้อมทางการค้าด้วย นอกจากสิ่งแวดล้อมด้านการจราจร เป็นต้น