ธ.สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด คาด เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยถึงกลางปีหน้า ชี้มาตรการ 7 แสนล้านดอลลาร์ ทำได้เพียงพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ทรุดหนัก แนะธนาคารในเอเชียปรับนโยบายการเงินเป็นแบบผ่อนคลาย ชี้ ผลกระทบต่อ GDP ของไทยปี 51 โตได้แค่ 4.7% ส่วนปีหน้าโต 3.9%
วันนี้ (2 ต.ค.) น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ประจำประเทศไทย เปิดเผยสรุปรายงานเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ว่า เศรษฐกิจไทยคงหนีไม่พ้นที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีผลไม่มากนักต่อภาคการเงินของไทยแต่คงมองข้ามความเสี่ยงไปไม่ได้ จึงคาดว่า ครึ่งหลังปีนี้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยจะอยู่ที่ 3.8% ชะลอลงจากระดับ 5.7% ในปีครึ่งแรกปี และเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 4.7% ส่วนในปี 2552 คาดว่า GDP จะขยายตัวเพียง 3.9%
สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนี้ คือ การชะลอตัวของการส่งออกที่ได้รับผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยคาดว่า การส่งออกไทยจะเติบโตเพียง 10% จาก 20% ในครึ่งปีแรก และจะชะลอตัวต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งแรกของปี 2552 โดยเฉลี่ยทั้งปีน่าจะเติบโตที่ 8-9% แม้ผู้ส่งออกไทยจะมีการกระจายตลาดส่งออกไปยังหลายภูมิภาคนอกเหนือจากสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 ของมูลค่าส่งออกของไทยก็ตาม แต่ ตลาดจีน ฮ่องกง และภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีสัดส่วน 2 ใน 3 ต่างก็มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจะขยายตัวในอัตราชะลอลงเช่นกัน
“ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตัวจักรสำคัญที่ดันจีดีพีของไทยหลักๆ มาจากการส่งออก ดังนั้น หากการลงทุนในประเทศช่วงต่อไปโตต่ำเตี้ยเรื่อยๆ ในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้าเช่นเดียวกับ 2 ปีก่อนจากปัญหาความไม่สงบการเมืองในประเทศ ก็จะเห็นการฟื้นตัวการลงทุน และบริโภคมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ยาก ขณะที่การท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบอยู่แล้ว” น.ส.อุสรา ระบุ
นายไท ฮุย หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กล่าวถึงเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยคาดว่า จะถดถ้อยจนถึงกลางปีหน้า แม้แผนกอบกู้เศรษฐกิจสหรัฐฯมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะช่วยควบคุมสถานการณ์ทางการเงินไม่ให้บานปลาย และพยุงราคาสินทรัพย์ไม่ให้ตกต่ำ แต่ยังมีเรื่องที่จะต้องเร่งแก้ไขตามมาอีก ทั้งการสะสางหนี้เสียการเทิดทูลสถาบันการเงิน ซึ่งผลพวงจากวิกฤตคราวนี้ จะทำให้ภาคการบริโภคสหรัฐฯตกต่ำการนำเข้าลดลง ส่งผลให้ก่ารส่งออกของโลกและไทยไปสหรัฐน้อยลง ทำให้ในปีหน้าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียจะต่ำกว่าปีนี้
อย่างไรก็ตาม นายไท ฮุย ยังกล่าวอีกว่า ผลพวงจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง ซึ่งธนาคารกลางของประเทศในเอเชีย ควรปรับนโยบายการเงินแบบตึงตัวให้เป็นแบบผ่อนคลาย เพื่อช่วยเร่งอัตราการเจริฐเติบโตทางเศรษฐกิจ
วันนี้ (2 ต.ค.) น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ประจำประเทศไทย เปิดเผยสรุปรายงานเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ว่า เศรษฐกิจไทยคงหนีไม่พ้นที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีผลไม่มากนักต่อภาคการเงินของไทยแต่คงมองข้ามความเสี่ยงไปไม่ได้ จึงคาดว่า ครึ่งหลังปีนี้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยจะอยู่ที่ 3.8% ชะลอลงจากระดับ 5.7% ในปีครึ่งแรกปี และเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 4.7% ส่วนในปี 2552 คาดว่า GDP จะขยายตัวเพียง 3.9%
สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนี้ คือ การชะลอตัวของการส่งออกที่ได้รับผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยคาดว่า การส่งออกไทยจะเติบโตเพียง 10% จาก 20% ในครึ่งปีแรก และจะชะลอตัวต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งแรกของปี 2552 โดยเฉลี่ยทั้งปีน่าจะเติบโตที่ 8-9% แม้ผู้ส่งออกไทยจะมีการกระจายตลาดส่งออกไปยังหลายภูมิภาคนอกเหนือจากสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 ของมูลค่าส่งออกของไทยก็ตาม แต่ ตลาดจีน ฮ่องกง และภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีสัดส่วน 2 ใน 3 ต่างก็มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจะขยายตัวในอัตราชะลอลงเช่นกัน
“ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตัวจักรสำคัญที่ดันจีดีพีของไทยหลักๆ มาจากการส่งออก ดังนั้น หากการลงทุนในประเทศช่วงต่อไปโตต่ำเตี้ยเรื่อยๆ ในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้าเช่นเดียวกับ 2 ปีก่อนจากปัญหาความไม่สงบการเมืองในประเทศ ก็จะเห็นการฟื้นตัวการลงทุน และบริโภคมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ยาก ขณะที่การท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบอยู่แล้ว” น.ส.อุสรา ระบุ
นายไท ฮุย หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กล่าวถึงเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยคาดว่า จะถดถ้อยจนถึงกลางปีหน้า แม้แผนกอบกู้เศรษฐกิจสหรัฐฯมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะช่วยควบคุมสถานการณ์ทางการเงินไม่ให้บานปลาย และพยุงราคาสินทรัพย์ไม่ให้ตกต่ำ แต่ยังมีเรื่องที่จะต้องเร่งแก้ไขตามมาอีก ทั้งการสะสางหนี้เสียการเทิดทูลสถาบันการเงิน ซึ่งผลพวงจากวิกฤตคราวนี้ จะทำให้ภาคการบริโภคสหรัฐฯตกต่ำการนำเข้าลดลง ส่งผลให้ก่ารส่งออกของโลกและไทยไปสหรัฐน้อยลง ทำให้ในปีหน้าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียจะต่ำกว่าปีนี้
อย่างไรก็ตาม นายไท ฮุย ยังกล่าวอีกว่า ผลพวงจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง ซึ่งธนาคารกลางของประเทศในเอเชีย ควรปรับนโยบายการเงินแบบตึงตัวให้เป็นแบบผ่อนคลาย เพื่อช่วยเร่งอัตราการเจริฐเติบโตทางเศรษฐกิจ