กรุ๊ปเอ็ม แนะนักการตลาดอัดสื่อโฆษณาดิจิตอลรับเทรนด์อเมริกา ยุโรปบูม ชงโมเดลสื่อโฆษณาต่างประเทศ โทร.ฟรีเมื่อดูโฆษณามาแรงในอังกฤษ ระบุ ไทยอัตราการครอบครองโทรศัพท์มือถือสูง แต่โฆษณาสวนกระแสสัดส่วน 5% จากตลาดสื่อโฆษณาดิจิตอล 1,800 ล้านบาทในสิ้นปีนี้
นางสเตฟานี่ เบล ประธานกรรมการบริหารมายด์แชร์ และกรุ๊ปเอ็ม เปิดเผยว่า ในต่างประเทศโดยเฉพาะอเมริกา ยุโรป นักการตลาดหันมาใช้สื่อโฆษณาทางดิจิตอลผ่านทางออนไลน์ และผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อการทำตลาดมากขึ้นทุกปี สำหรับในภูมิภาคเอเชีย อัตราผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือกลายเป็นกลุ่มที่ใหญ่สุดในแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศที่มีการใช้สื่อโฆษณาทางออนไลน์และทางโทรศัพท์มือถือมากที่สุดในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น มีการใช้สื่อดิจิตอลกว่า 10%
สำหรับประเทศไทยการใช้สื่อโฆษณาทางดิจิตอลยังน้อยมาก มูลค่าจากปีที่ผ่านมาราว 1,000 ล้านบาท และสิ้นปีนี้คาดว่าจะเพิ่มเป็น 1,800 ล้านบาท ทั้งนี้ พบว่า พฤติกรรมของคนไทยคล้ายกับอินเดีย คือ การบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงน้อยมาก แต่การใช้โทรศัพท์มือถือมีจำนวนมาก โดยคนไทยมีอัตราการครอบครองโทรศัพท์มือถือคิดเป็น 70% ของประชากร หรือราว 47 ล้านคน แต่พบว่า การโฆษณาผ่านทางโทรศัพท์มือถือคิดเป็นสัดส่วน 3% ของตลาดสื่อโฆษณาทางดิจิตอล และคาดว่า สิ้นปีจะเพิ่มเป็น 5% เมื่อเทียบกับอินเดียมีสัดส่วนถึง 12%
อุปสรรคที่ทำให้การใช้สื่อโฆษณาทางโทรศัพท์สวนทางกับอัตราการใช้งาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรูปแบบโฆษณาไม่เป็นที่ชื่นชอบสำหรับผู้บริโภค และยังเป็นรูปแบบเดิมๆ คือ เอสเอ็มเอส และจากข้อมูลพบว่าเป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้ผล ทำให้นักการตลาดไม่นิยมใช้ และ 50% ของผู้มีโทรศัพท์มือถือยังไม่มีเทคโนโลยีรองรับ ตลอดจนการใช้บริการของเครือข่าย ที่ยังมีการพัฒนาโครงสร้างของระบบใหม่ๆ ขณะที่การใช้สื่อโฆษณาทางออนไลน์สัดส่วน 7-10%ของตลาด แม้ว่าจะมีผู้ท่องโลกออนไลน์ 13 ล้านคน เนื่องจากมีปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
ชง ตปท.มีโมเดลสื่อโฆษณาดิจิตอล
นายศิวัตร เชาวรียวงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มอินเตอร์แอคชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ในต่างประเทศกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาการใช้สื่อโฆษณาดิจิตอลให้ลงตัว อาทิ การโฆษณาในรูปแบบเมื่อเปิดดูแล้วให้บริการโทร.ฟรี ในประเทศอังกฤษใช้อย่างแพร่หลาย รูปแบบขนาดเล็ก 2.0 ซึ่งประเทศความสำเร็จในอินเดีย หรือกระทั่งเต็มหน้าจอโทรศัพท์มือถือที่แพร่หลายในญี่ปุ่นและจีนกำลังมาแรง เมื่อเทียบกับไทยส่วนใหญ่โฆษณาทางโทรศัพท์มือถือ เป็นบริการเสริมต่างๆ ของเครือข่ายที่ใช้บริการ หรือการใช้บริการจากธนาคาร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นักการตลาดไทยเริ่มปรับตัว ใช้สื่อโฆษณาทางโทรศัพท์เฉพาะพื้นที่มากขึ้น เช่น ส่งเอสเอ็มเอสภายในให้กับผู้ร่วมงาน แต่ผู้ใช้สื่อโฆษณาก็ยังมีบางเฉพาะกลุ่มเท่านั้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีสินค้าเชื่อมโยงเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ สำหรับกลุ่มเป้าหมายสำหรับนักการตลาดที่ใช้สื่อโฆษณาดิจิตอล อาทิ กลุ่มชื่นชอบเทคโนโลยี ส่วนกลุ่มทางเว็บไซต์ ต้องเป็นผู้ที่ค่อนข้างมีความรู้ ขณะที่กลุ่มวัยรุ่นคาดว่าจะชื่นชอบการโฆษณาทางโทรศัพท์มือถือในรูปแบบเปิดดู และได้โทร.ฟรี เป็นต้น
นายศิวัตร กล่าวว่า ในปีนี้คาดว่าสื่อโฆษณาทางดิจิตอลจะมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก และปีหน้าคาดว่า มีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลังเช่นกัน หรือมีมูลค่าพุ่งจาก 1,800 ล้านบาท เป็น 2,500 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้สื่อโฆษณาดิจิตอลของนักการตลาดด้วย ซึ่งโดยมากยังเป็นกลุ่มต้องการทดลอง และต้องการความแปลกใหม่ หรือกระทั่งเพื่อภาพลักษณ์สินค้าเท่านั้น
นางสเตฟานี่ เบล ประธานกรรมการบริหารมายด์แชร์ และกรุ๊ปเอ็ม เปิดเผยว่า ในต่างประเทศโดยเฉพาะอเมริกา ยุโรป นักการตลาดหันมาใช้สื่อโฆษณาทางดิจิตอลผ่านทางออนไลน์ และผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อการทำตลาดมากขึ้นทุกปี สำหรับในภูมิภาคเอเชีย อัตราผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือกลายเป็นกลุ่มที่ใหญ่สุดในแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศที่มีการใช้สื่อโฆษณาทางออนไลน์และทางโทรศัพท์มือถือมากที่สุดในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น มีการใช้สื่อดิจิตอลกว่า 10%
สำหรับประเทศไทยการใช้สื่อโฆษณาทางดิจิตอลยังน้อยมาก มูลค่าจากปีที่ผ่านมาราว 1,000 ล้านบาท และสิ้นปีนี้คาดว่าจะเพิ่มเป็น 1,800 ล้านบาท ทั้งนี้ พบว่า พฤติกรรมของคนไทยคล้ายกับอินเดีย คือ การบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงน้อยมาก แต่การใช้โทรศัพท์มือถือมีจำนวนมาก โดยคนไทยมีอัตราการครอบครองโทรศัพท์มือถือคิดเป็น 70% ของประชากร หรือราว 47 ล้านคน แต่พบว่า การโฆษณาผ่านทางโทรศัพท์มือถือคิดเป็นสัดส่วน 3% ของตลาดสื่อโฆษณาทางดิจิตอล และคาดว่า สิ้นปีจะเพิ่มเป็น 5% เมื่อเทียบกับอินเดียมีสัดส่วนถึง 12%
อุปสรรคที่ทำให้การใช้สื่อโฆษณาทางโทรศัพท์สวนทางกับอัตราการใช้งาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรูปแบบโฆษณาไม่เป็นที่ชื่นชอบสำหรับผู้บริโภค และยังเป็นรูปแบบเดิมๆ คือ เอสเอ็มเอส และจากข้อมูลพบว่าเป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้ผล ทำให้นักการตลาดไม่นิยมใช้ และ 50% ของผู้มีโทรศัพท์มือถือยังไม่มีเทคโนโลยีรองรับ ตลอดจนการใช้บริการของเครือข่าย ที่ยังมีการพัฒนาโครงสร้างของระบบใหม่ๆ ขณะที่การใช้สื่อโฆษณาทางออนไลน์สัดส่วน 7-10%ของตลาด แม้ว่าจะมีผู้ท่องโลกออนไลน์ 13 ล้านคน เนื่องจากมีปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
ชง ตปท.มีโมเดลสื่อโฆษณาดิจิตอล
นายศิวัตร เชาวรียวงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มอินเตอร์แอคชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ในต่างประเทศกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาการใช้สื่อโฆษณาดิจิตอลให้ลงตัว อาทิ การโฆษณาในรูปแบบเมื่อเปิดดูแล้วให้บริการโทร.ฟรี ในประเทศอังกฤษใช้อย่างแพร่หลาย รูปแบบขนาดเล็ก 2.0 ซึ่งประเทศความสำเร็จในอินเดีย หรือกระทั่งเต็มหน้าจอโทรศัพท์มือถือที่แพร่หลายในญี่ปุ่นและจีนกำลังมาแรง เมื่อเทียบกับไทยส่วนใหญ่โฆษณาทางโทรศัพท์มือถือ เป็นบริการเสริมต่างๆ ของเครือข่ายที่ใช้บริการ หรือการใช้บริการจากธนาคาร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นักการตลาดไทยเริ่มปรับตัว ใช้สื่อโฆษณาทางโทรศัพท์เฉพาะพื้นที่มากขึ้น เช่น ส่งเอสเอ็มเอสภายในให้กับผู้ร่วมงาน แต่ผู้ใช้สื่อโฆษณาก็ยังมีบางเฉพาะกลุ่มเท่านั้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีสินค้าเชื่อมโยงเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ สำหรับกลุ่มเป้าหมายสำหรับนักการตลาดที่ใช้สื่อโฆษณาดิจิตอล อาทิ กลุ่มชื่นชอบเทคโนโลยี ส่วนกลุ่มทางเว็บไซต์ ต้องเป็นผู้ที่ค่อนข้างมีความรู้ ขณะที่กลุ่มวัยรุ่นคาดว่าจะชื่นชอบการโฆษณาทางโทรศัพท์มือถือในรูปแบบเปิดดู และได้โทร.ฟรี เป็นต้น
นายศิวัตร กล่าวว่า ในปีนี้คาดว่าสื่อโฆษณาทางดิจิตอลจะมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก และปีหน้าคาดว่า มีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลังเช่นกัน หรือมีมูลค่าพุ่งจาก 1,800 ล้านบาท เป็น 2,500 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้สื่อโฆษณาดิจิตอลของนักการตลาดด้วย ซึ่งโดยมากยังเป็นกลุ่มต้องการทดลอง และต้องการความแปลกใหม่ หรือกระทั่งเพื่อภาพลักษณ์สินค้าเท่านั้น