ผู้จัดการรายวัน – มายด์แชร์ ระบุสื่อโฆษณาดิจิตอล ออนไลน์ มาแรง พบผู้ใช้ออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่า 15% เป็นกลุ่มอายุ 212-25 ปีนิยมใช้กว่า 20% ระบุตลาดโฆษณารวมย้อนหลัง 10 ปี เพิ่มขึ้นตลอด แต่ปีที่แล้วโตต่ำสุด 3%
นางสเตฟานี่ เบลล์ ผู้บริหาร บริษัท มายด์แชร์ กล่าวว่า สื่อโฆษณาที่มาแรงในขณะนี้โดยเฉพาะในปี 2551 นี้คือ สื่อประเภทดิจิตอลหรือสื่อออนไลน์ ซึ่งพบว่าเป็นสื่อที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น และมีอัตราเพิ่มขึ้นกว่า 15% ในช่วงที่ผ่านมา โดยพบว่ามีผู้ใช้สื่อออนไลน์แล้วกว่า 10 ล้านคนในประเทศไทย ซึ่งจำนวนกว่า 20% ของผู้ที่ใช้นี้จะอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 21-25 ปีกว่า 20%
ขณะที่ปริมาณผู้ใช้มือถือในขณะนี้มีมากกว่า 70% จากประชากรทั้งหมดหรือใช้ประมาณ 47 ล้านคน โดยมีปริมาณการส่งเอสเอ็มเอสมากกว่า 7 ล้านครั้งในแต่ละวัน
โดยอุตสาหกรรมโฆษณาในภาพรวมมีการประเมินกันว่าจะมีรายรับมากกว่า 1,300 ล้านบาท ในปี 2550 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตกว่า 40% ในปี 2551 นี้
สำหรับธุรกิจดิจิตอลของมายด์แชร์เองนั้น มีการเติบโต 370% เมื่อเทียบระหว่างปี 2550 กับปี 2549
ทั้งนี้อุตสาหกรรมโฆษณาในภาพรวมของประเทศไทยนั้น มีอัตราการเติบโตมาโดยตลอด 10 ปีที่ผ่านมานี้ ตั้งแต่ปี 2540 ถึงปี 2550 โดยเมื่อปี 2541 มีมูลค่ามากกว่า 35,917 ล้านบาท เพิ่มมาเป็น 38,435 ล้านบาท หรือเติบโต 7% ในปี 2542 โดยในปี 2543 มีอัตราการเติบโตมากที่สุดที่ 25% ด้วยตลาดรวมกว่า 48,199 ล้านบาท แต่มาตกลงในปี 2544 ที่ตลาดรวมอยู่ที่ 50,092 ล้านบาท เติบโตน้อยมากเพียง 4% เท่านั้นเอง
ส่วนในช่วงปี 2545 มีมูลค่า 58,543 ล้านบาท และปี 2546 มีมูลค่า 68,705 ล้านบาท และปี 2547 มีมูลค่า 81,753 ล้านบาท ทั้ง 3 ปีนี้เติบโตใกล้เคียงกันที่ 17-19% ต่อมาปี 2548 มีมูลค่า 83,927 ล้านบาทและปี 2549 มีมูลค่า 88,860 ล้านบาท เติบโตเท่ากันคือ 6%
ล่าสุดคือในปีที่แล้ว 2550 ตลาดรวมโฆษณาอยู่ที่ 91,717 ล้านบาท มีการเติบโตเพียง 3% เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีหลังมานี้
โดยที่ปี 2550 สื่อทีวีมีมูลค่ามากที่สุด 51,822 ล้านบาท สัดส่วน 56.5% สื่อวิทยุมีมูลค่า 8,130 ล้านบาท สัดส่วน 8.9% สื่อสิ่งพิมพ์ มีมูลค่า 15,532 ล้านบาท มีสัดส่วน 16.9% และสื่อนิตยสารมีมูลค่า 5,859.2 ล้านบาท สัดส่วน 6.4%
ส่วนสื่อโรงหนังมีมูลค่า 4,390.3 ล้านบาท สัดส่วน 4.8% สื่อกลางแจ้งมีมูลค่า 4,475 ล้านบาท สัดส่วน 4.9% สื่อเคลื่อนที่มีมูลค่า 938 ล้านบาท สัดส่วน 1% และสื่ออินสโตร์มีมูลค่า 569.4 ล้านบาท สัดส่วน 0.6%
ทั้งนี้ธุรกิจที่มีการใช้งบโฆษณามากที่สุดในปีที่แล้ว 5 อันดับแรก คือ 1.อสังหาริมทรัพย์ มูลค่ากว่า 3.1 พันล้นบาท 2.รถกระบะ ใช้งบรวม 1.8 พันล้านบาท 3.ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว ใช้งบรวม 1.5 พันล้านบาท 4.ธุรกิจสื่อสาร ใช้งบรวม 1.3 พันล้านบาท 5.ผลิตภัณฑ์ซักล้าง ใช้งบรวม 1.1 พันล้านบาท
ขณะที่แบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุด 5 อันดับแรกในปีที่แล้วคือ 1.พอนด์ส ใช้งบรวม 1 พันล้านบาท 2.ซันซิล ใช้งบรวม 637 ล้านบาท 3.เอไอเอส ใช้งบรวม 632 ล้านบาท 4.ออยล์ออฟโอเลย์ ใช้งบรวม 619 ล้านบาท 5.โตโยต้าปิคอัพ ใช้งบรวม 618 ล้านบาท
ส่วน 5 บริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุดปีที่แล้วคือ 1.ยูนิลีเวอร์ ใช้งบรวม 5.2 พันล้านบาท 2.พีแอนด์จี ใช้งบรวม 1.7 พันล้านบาท 3.เอไอเอสใช้งบรวม 1.5 พันล้านบาท 4.โตโยต้ามอเตอร์ไทยแลนด์ ใช้งบรวม 1.3 พันล้านบาท 5.เนสท์เล่ไทย ใช้งบรวม 1.1 พันล้านบาท
นางสเตฟานี่ เบลล์ ผู้บริหาร บริษัท มายด์แชร์ กล่าวว่า สื่อโฆษณาที่มาแรงในขณะนี้โดยเฉพาะในปี 2551 นี้คือ สื่อประเภทดิจิตอลหรือสื่อออนไลน์ ซึ่งพบว่าเป็นสื่อที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น และมีอัตราเพิ่มขึ้นกว่า 15% ในช่วงที่ผ่านมา โดยพบว่ามีผู้ใช้สื่อออนไลน์แล้วกว่า 10 ล้านคนในประเทศไทย ซึ่งจำนวนกว่า 20% ของผู้ที่ใช้นี้จะอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 21-25 ปีกว่า 20%
ขณะที่ปริมาณผู้ใช้มือถือในขณะนี้มีมากกว่า 70% จากประชากรทั้งหมดหรือใช้ประมาณ 47 ล้านคน โดยมีปริมาณการส่งเอสเอ็มเอสมากกว่า 7 ล้านครั้งในแต่ละวัน
โดยอุตสาหกรรมโฆษณาในภาพรวมมีการประเมินกันว่าจะมีรายรับมากกว่า 1,300 ล้านบาท ในปี 2550 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตกว่า 40% ในปี 2551 นี้
สำหรับธุรกิจดิจิตอลของมายด์แชร์เองนั้น มีการเติบโต 370% เมื่อเทียบระหว่างปี 2550 กับปี 2549
ทั้งนี้อุตสาหกรรมโฆษณาในภาพรวมของประเทศไทยนั้น มีอัตราการเติบโตมาโดยตลอด 10 ปีที่ผ่านมานี้ ตั้งแต่ปี 2540 ถึงปี 2550 โดยเมื่อปี 2541 มีมูลค่ามากกว่า 35,917 ล้านบาท เพิ่มมาเป็น 38,435 ล้านบาท หรือเติบโต 7% ในปี 2542 โดยในปี 2543 มีอัตราการเติบโตมากที่สุดที่ 25% ด้วยตลาดรวมกว่า 48,199 ล้านบาท แต่มาตกลงในปี 2544 ที่ตลาดรวมอยู่ที่ 50,092 ล้านบาท เติบโตน้อยมากเพียง 4% เท่านั้นเอง
ส่วนในช่วงปี 2545 มีมูลค่า 58,543 ล้านบาท และปี 2546 มีมูลค่า 68,705 ล้านบาท และปี 2547 มีมูลค่า 81,753 ล้านบาท ทั้ง 3 ปีนี้เติบโตใกล้เคียงกันที่ 17-19% ต่อมาปี 2548 มีมูลค่า 83,927 ล้านบาทและปี 2549 มีมูลค่า 88,860 ล้านบาท เติบโตเท่ากันคือ 6%
ล่าสุดคือในปีที่แล้ว 2550 ตลาดรวมโฆษณาอยู่ที่ 91,717 ล้านบาท มีการเติบโตเพียง 3% เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีหลังมานี้
โดยที่ปี 2550 สื่อทีวีมีมูลค่ามากที่สุด 51,822 ล้านบาท สัดส่วน 56.5% สื่อวิทยุมีมูลค่า 8,130 ล้านบาท สัดส่วน 8.9% สื่อสิ่งพิมพ์ มีมูลค่า 15,532 ล้านบาท มีสัดส่วน 16.9% และสื่อนิตยสารมีมูลค่า 5,859.2 ล้านบาท สัดส่วน 6.4%
ส่วนสื่อโรงหนังมีมูลค่า 4,390.3 ล้านบาท สัดส่วน 4.8% สื่อกลางแจ้งมีมูลค่า 4,475 ล้านบาท สัดส่วน 4.9% สื่อเคลื่อนที่มีมูลค่า 938 ล้านบาท สัดส่วน 1% และสื่ออินสโตร์มีมูลค่า 569.4 ล้านบาท สัดส่วน 0.6%
ทั้งนี้ธุรกิจที่มีการใช้งบโฆษณามากที่สุดในปีที่แล้ว 5 อันดับแรก คือ 1.อสังหาริมทรัพย์ มูลค่ากว่า 3.1 พันล้นบาท 2.รถกระบะ ใช้งบรวม 1.8 พันล้านบาท 3.ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว ใช้งบรวม 1.5 พันล้านบาท 4.ธุรกิจสื่อสาร ใช้งบรวม 1.3 พันล้านบาท 5.ผลิตภัณฑ์ซักล้าง ใช้งบรวม 1.1 พันล้านบาท
ขณะที่แบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุด 5 อันดับแรกในปีที่แล้วคือ 1.พอนด์ส ใช้งบรวม 1 พันล้านบาท 2.ซันซิล ใช้งบรวม 637 ล้านบาท 3.เอไอเอส ใช้งบรวม 632 ล้านบาท 4.ออยล์ออฟโอเลย์ ใช้งบรวม 619 ล้านบาท 5.โตโยต้าปิคอัพ ใช้งบรวม 618 ล้านบาท
ส่วน 5 บริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุดปีที่แล้วคือ 1.ยูนิลีเวอร์ ใช้งบรวม 5.2 พันล้านบาท 2.พีแอนด์จี ใช้งบรวม 1.7 พันล้านบาท 3.เอไอเอสใช้งบรวม 1.5 พันล้านบาท 4.โตโยต้ามอเตอร์ไทยแลนด์ ใช้งบรวม 1.3 พันล้านบาท 5.เนสท์เล่ไทย ใช้งบรวม 1.1 พันล้านบาท